backup og meta

ยาฆ่าแมลง อันตรายที่ แม่ท้อง ไม่ควรมองข้าม

ยาฆ่าแมลง อันตรายที่ แม่ท้อง ไม่ควรมองข้าม

ยาฆ่าแมลง นอกจากจะเป็นอันตรายต่อแมลง ศัตรูพืช และสัตว์ต่าง ๆ แล้ว ยังเป็นอันตรายต่อคน โดยเฉพาะ แม่ท้อง ที่อาจได้รับสารพิษจากยาฆ่าแมลงที่พบได้ในชีวิตประจำวัน เช่น น้ำ สเปรย์กำจัดแมลง ยากันยุง ส่งผลให้เกิดอันตรายทั้งต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ อาจเพิ่มความเสี่ยงของการแท้งบุตร การคลอดก่อนกำหนด หรือการพิการแต่กำเนิดได้ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรระมัดระวังสารพิษและยาฆ่าแมลง หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดศัตรูพืช และควรเข้าพบคุณหมอในทันทีหากได้รับสารพิษหรือยาฆ่าแมลงเข้าไป เพื่อทำการรักษาอย่างเหมาะสมทันท่วงที

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

ยาฆ่าแมลง คืออะไร

ยาฆ่าแมลง คือ สารเคมีที่ใช้สำหรับกำจัดแมลง จัดอยู่ในสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ (Pesticide) ชนิดหนึ่ง โดยสารเคมีกลุ่มนี้ นอกจากสารฆ่าแมลง ยังมี สารกำจัดวัชพืช สารฆ่าเชื้อรา และสารฆ่าสัตว์ฟันแทะ เช่น ยาฆ่าหนู ซึ่งแท้จริงแล้วเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์รอบตัวมากมายหลายชนิด บางชนิดใช้ในการเกษตร เช่น ยาฆ่าหญ้า บางชนิดใช้กันทั่วไปในครัวเรือน เช่น น้ำยาฟอกขาว สเปรย์กำจัดแมลงสาบ

สารเคมีเหล่านี้อาจช่วยกำจัดศัตรูพืช และทำให้บ้านปลอดจากแมลง แต่ก็สามารถทำลายสุขภาพได้เช่นกัน โดยเฉพาะหากกำลังตั้งครรภ์ กำลังให้นมบุตร หรือวางแผนจะมีลูก

แหล่งของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในชีวิตประจำวัน

หากเอ่ยถึง ยาฆ่าแมลง หรือสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ คนส่วนใหญ่อาจคิดว่า ใช้กันแค่ในกลุ่มของเกษตรกร ตามสวน ไร่ นา หากอยู่ในเมืองคงไม่ได้รับผลกระทบอะไร แต่ความจริงแล้ว สารเคมีกลุ่มนี้อยู่รอบตัวมากกว่าที่คิด แต่ละวันร่างกายอาจได้รับยาฆ่าแมลง และสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้จาก

  • น้ำและอากาศ
  • สเปรย์กำจัดแมลง
  • ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น น้ำยาฟอกขาว
  • อาหาร และผลิตผลทางการเกษตร
  • ผลิตภัณฑ์ทำสวน เช่น ยาฆ่าหญ้า
  • ผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง เช่น แชมพูกำจัดเห็บหมัด
  • ยากำจัดสัตว์ฟันแทะ เช่น ยาฆ่าหนู

ยาฆ่าแมลง …ศัตรูตัวร้ายของ แม่ท้อง

ยาฆ่าแมลง ถือเป็นสารเคมีอันตราย หากหญิงตั้งครรภ์ได้รับสารเคมีกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก อาจส่งผลกระทบกับการตั้งครรภ์ เช่น ทำให้แท้ง หรือเกิดการคลอดก่อนกำหนด อีกทั้งยังส่งผลเสียตรงต่อเด็กในครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ เพราะเป็นช่วงที่สมอง พัฒนาการ และอวัยวะของเด็ก กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว หากได้รับสารเคมีเหล่านี้จะส่งผลให้เด็กมีปัญหา ดังต่อไปนี้

  • มีน้ำหนักแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์
  • พิการแต่กำเนิด
  • พัฒนาการล่าช้า และเกิดความบกพร่องของสมรรถนะทางสมอง (Cognitive Impairment)
  • เป็นโรคมะเร็งสมองในเด็ก
  • เป็นโรคออทิสติก
  • เป็นโรคสมาธิสั้น
  • ระบบต่อมไร้ท่อมีปัญหา

ไม่ใช่แค่เฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ แต่ทั้งหญิงและชาย ที่วางแผนจะมีลูก ก็ควรจะระมัดระวัง ไม่ให้ร่างกายรับสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในปริมาณมากเกินไปเช่นกัน เพราะสารเคมีเหล่านี้สามารถสะสมอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานาน และอาจส่งผลให้มีภาวะมีบุตรยากได้

วิธีลดความเสี่ยงในการรับยาฆ่าแมลงสำหรับแม่ท้อง

  • การกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ด้วยวิธีธรรมชาติแทนการใช้ ยาฆ่าแมลง เช่น วางพริกไทยดำหรือกระเทียมไว้ตามจุดที่ยุงชุมเพื่อไล่ยุง ใช้เกลือฆ่าวัชพืชในสวนหน้าบ้าน
  • หากโดนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ ให้รีบอาบน้ำและซักเสื้อผ้าชุดที่เปื้อนทันทีที่ทำได้ โดยต้องแยกซักเพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีเปื้อนเสื้อผ้าตัวอื่น
  • หากจำเป็นต้องใช้ ยาฆ่าแมลง ในบ้าน ควรเก็บอาหาร จาน ชาม หรือเครื่องใช้ในบ้านให้ดีก่อนฉีดพ่นยาฆ่าแมลง และอย่าลืมเปิดหน้าต่าง ประตู ให้อากาศถ่ายเท เมื่อทำความสะอาดบ้านหลังจากการใช้ยาฆ่าแมลงทุกๆครั้ง
  • หากบริเวณใกล้บ้านมีการฉีดพ่นยาสารเคมี ก็ควรปิดหน้าต่างและเครื่องปรับอากาศ เพื่อไม่ให้สารเคมีเข้ามาในบ้านและกระจายตัว
  • เลือกกินอาหารออร์แกนิก หรืออาหารปลอดสารเคมีจากแหล่งที่เชื่อถือได้ เพื่อลดโอกาสได้รับสารเคมีตกค้างในอาหาร และควรล้างผัก และผลไม้ก่อนรับประทานให้สะอาด เพื่อป้องกันสารพิษที่อาจจะตกค้างได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

PESTICIDES & PREGNANCY: WHAT YOU NEED TO KNOW. https://www.amenclinics.com/blog/pesticides-pregnancy-what-to-know/. Accessed November 29, 2018

Pregnancy and pesticides. https://healthywa.wa.gov.au/Articles/N_R/Pregnancy-and-pesticides. Accessed November 29, 2018

Pesticides and Pregnancy. http://npic.orst.edu/health/preg.html. Accessed November 29, 2018

REPRODUCTIVE HEALTH AND THE WORKPLACE. https://www.cdc.gov/niosh/topics/repro/pesticides.html#:~:text=Exposure%20to%20pesticides%20could%20increase,exposure%20for%20a%20healthier%20pregnancy.. Accessed May 28, 2021.

PESTICIDE EXPOSURE & PREGNANCY. https://afop.org/health-safety/wps/pregnancy-pesticide/. Accessed May 28, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/02/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

แอลกอฮอล์ ส่งผลต่อการเตรียมตัวตั้งครรภ์อย่างไร

ผู้หญิงท้อง กินยาพาราเซตามอล ทำให้ลูกเสี่ยงเป็นออทิสติกจริงหรือ?


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 19/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา