backup og meta

ยาบํารุงครรภ์ คืออะไร และมียาอะไรบ้างที่รับประทานได้

ยาบํารุงครรภ์ คืออะไร และมียาอะไรบ้างที่รับประทานได้

ยาบํารุงครรภ์ เป็นยาที่มีส่วนประกอบของวิตามินและแร่ธาตุที่คุณแม่ควรได้รับเพิ่มขึ้นในขณะตั้งครรภ์ โดยคุณแม่ควรรับประทานยาบำรุงครรภ์ตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เดือน เพื่อช่วยบำรุงสุขภาพร่างกายและช่วยป้องกันภาวะความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่และทารกในครรภ์ เช่น ภาวะพิการแต่กำเนิด แท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด อย่างไรก็ตาม ก่อนรับประทานยาบำรุงครรภ์ควรปรึกษาคุณหมอก่อนเสมอ เพื่อตรวจสุขภาพร่างกายและรับคำแนะนำในการรับประทานยาที่เหมาะสม

[embed-health-tool-due-date]

ยาบํารุงครรภ์ คืออะไร

ยาบํารุงครรภ์ คือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนประกอบของวิตามินและแร่ธาตุที่สำคัญต่อการตั้งครรภ์ เพื่อช่วยบำรุงสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ และอาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนหรือความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่และทารกในครรภ์ได้

ยาบํารุงครรภ์มีอะไรบ้าง

คุณแม่ควรเลือกยาบำรุงครรภ์ที่ประกอบไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุสำคัญ ดังนี้

  • กรดโฟลิก (Folic Acid) หรือ โฟเลต (Folate) เป็นวิตามินที่มีความสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากเป็นตัวที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาระบบประสาทส่วนกลางของทารกในครรภ์ อาจช่วยป้องกันการเกิดความบกพร่องของท่อประสาทและไขสันหลังของทารกตั้งแต่เริ่มมีพัฒนาการ
  • วิตามินดี ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน เนื่องจากวิตามินดีอาจมีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่สำคัญต่อโครงสร้างและความแข็งแรงของกระดูกและฟัน
  • วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีส่วนช่วยในการปกป้องเนื้อเยื่อจากการอักเสบ ช่วยสร้างและส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย รวมถึงยังมีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กอีกด้วย
  • วิตามินบี เช่น วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 ช่วยในการเพิ่มและรักษาพลังงาน ช่วยในการย่อยอาหาร ควบคุมระบบประสาท บำรุงสุขภาพผิวและสายตา ช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยลดอาการแพ้ท้อง รวมถึงอาจมีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์ดีเอ็นเอ และอาจช่วยป้องกันความบกพร่องของท่อประสาทได้
  • วิตามินเอ ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน การเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ รวมถึงยังช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตาของทารก และอาจช่วยป้องกันภาวะตาบอดตอนกลางคืนของทารกอีกด้วย
  • แคลเซียม มีความสำคัญสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ เนื่องจากทารกในครรภ์จะดึงเอาแคลเซียมจากกระดูกของคุณแม่ไปใช้ในการพัฒนาโครงสร้างและความแข็งแรงในกระดูกของตัวเอง จึงอาจทำให้กระดูกของคุณแม่อ่อนแอลง ซึ่งการรับประทานแคลเซียมเสริมอาจช่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกและช่วยป้องกันปัญหากระดูกเปราะแตกได้ง่าย
  • ธาตุเหล็ก ช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและน้ำเลือด ที่มีหน้าที่ในการช่วยลำเลียงสารอาหารและออกซิเจนไปเลี้ยงทั่วร่างกาย
  • สังกะสี มีส่วนช่วยส่งเสริมการพัฒนาระบบภูมิคุ้มกันของทารกในครรภ์และภูมิคุ้มกันของคุณแม่ นอกจากนี้ ยังช่วยพัฒนาเซลล์สมองและส่งเสริมการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อีกด้วย
  • ไอโอดีน มีความสำคัญต่อการทำงานของต่อมไทรอยด์ของคุณแม่ในระหว่างตั้งครรภ์ ซึ่งอาจช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อน เช่น แท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ทารกแคระแกรน ทารกหูหนวก ทารกมีความพิการทางจิตอย่างรุนแรง มีความจำเป็นต้องได้รับเพิ่มเติมในกรณีที่คุณแม่มีภาวะขาดไอโอดีนเป็นหลัก

อย่างไรก็ตาม ยาบำรุงครรภ์บางชนิดอาจทำให้มีอาการคลื่นไส้อาเจียนได้ หากมีอาการดังกล่าวเกิดขึ้น ควรปรึกษาคุณหมอเพื่อเปลี่ยนชนิดของยาบำรุงครรภ์ หรือหาแนวทางแก้ไขอื่น ๆ นอกจากนี้ อาหารเสริมธาตุเหล็กอาจทำให้มีอาการท้องผูกเกิดขึ้นได้ ดังนั้น หลังประทานอาการเสริมธาตุเหล็กควรดื่มน้ำตามมาก ๆ และรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เพื่อช่วยป้องกันอาการท้องผูก ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Prenatal Vitamins. https://www.webmd.com/guide/prenatal-vitamins. Accessed November 21, 2022

Pregnancy Vitamins and Nutrients. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/pregnancy-health-wellness/pregnancy-vitamins-nutrients/. Accessed November 21, 2022

Vitamins and supplements during pregnancy. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/vitamins-and-supplements-during-pregnancy. Accessed November 21, 2022

Nutrition During Pregnancy. https://www.acog.org/womens-health/faqs/nutrition-during-pregnancy. Accessed November 21, 2022

Vitamins, supplements and nutrition in pregnancy. https://www.nhs.uk/pregnancy/keeping-well/vitamins-supplements-and-nutrition/. Accessed November 21, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/01/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

คนท้องกินยาแก้แพ้ได้ไหม เมื่อเกิดอาการแพ้ควรดูแลตัวเองอย่างไร

อาหารบำรุงครรภ์ ที่คนท้องควรรับประทานมีอะไรบ้าง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 02/01/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา