backup og meta

ยาบํารุงเลือดคนท้อง คืออะไร คนท้องควรกินหรือไม่

ยาบํารุงเลือดคนท้อง คืออะไร คนท้องควรกินหรือไม่

ยาบํารุงเลือดคนท้อง เป็นยาเสริมธาตุเหล็กที่คุณหมออาจแนะนำให้รับประทานในระหว่างตั้งท้อง โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะโลหิตจางตั้งแต่ก่อนตั้งท้อง นอกจากนี้ การรับประทานยาบำรุงเลือดคนท้องยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในท้อง เพราะอาจช่วยเพิ่มการสร้างเม็ดเลือด ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน การเจริญเติบโตของทารก และอาจช่วยป้องกันไม่ให้ทารกพิการแต่กำเนิดได้ด้วย

[embed-health-tool-due-date]

ยาบํารุงเลือดคนท้อง คืออะไร

ยาบํารุงเลือดคนท้อง คือ ยาเสริมธาตุเหล็กที่สำคัญต่อการสร้างฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ซึ่งเป็นองค์ประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดงที่สำคัญต่อการตั้งท้อง สุขภาพของคุณแม่และทารกในท้อง โดยยาบำรุงเลือดคนท้องอาจช่วยส่งเสริมการทำงานของเซลล์ในร่างกาย ใช้ในกระบวนการสร้างอวัยวะของทารกในท้อง ป้องกันการพิการแต่กำเนิด ช่วยเพิ่มการสร้างเม็ดเลือดแดงและเพิ่มปริมาณเลือดในขณะตั้งท้อง ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะโลหิตจางขณะตั้งท้อง และลดความเสี่ยงในการเสียเลือดในขณะตั้งท้อง

การขาดธาตุเหล็กในระหว่างตั้งท้องมีผลอย่างไร

การขาดธาตุเหล็กในระหว่างตั้งท้องอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง มีอาการเหนื่อยล้า หมดแรง และอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งท้อง เช่น ระบบภูมิคุ้มกันของคุณแม่อ่อนแอลง เพิ่มโอกาสในการติดเชื้อระหว่างตั้งท้อง ทารกอาจมีความเสี่ยงที่จะมีน้ำหนักแรกเกิดน้อยเกินไป อย่างไรก็ตาม หากคนท้องได้รับธาตุเหล็กมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น ท้องผูก คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ดังนั้น จึงควรรับประทานธาตุเหล็กในปริมาณที่พอเหมาะ คือ ประมาณ 15-30 มิลลิกรัม/วัน เพื่อป้องกันผลเสียต่อสุขภาพ

ยาบํารุงเลือดคนท้อง ควรกินอย่างไร

โดยปกติร่างกายควรได้รับธาตุเหล็กประมาณ 10-15 มิลลิกรัม/วัน โดยสามารถเสริมธาตุเหล็กให้กับร่างกายได้ด้วยการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ตับ เลือดหมู เครื่องในสัตว์ ไข่แดง เนื้อสัตว์ แต่ในขณะตั้งท้องควรได้รับธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นเป็น 15-30 มิลลิกรัม/วัน เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ดังนั้น คุณหมอจึงอาจแนะนำให้รับประทานยาบำรุงเลือดคนท้องเพิ่มเติม โดยเฉพาะในคนท้องที่มีภาวะโลหิตจางตั้งแต่ก่อนตั้งท้อง ทั้งนี้ ไม่ควรหายามารับประทานเอง เพราะอาจเป็นอันตรายต่อตนเองและทารก

สำหรับวิธีการรับประทานยาบำรุงเลือดคนท้อง ควรรับประทานก่อนอาหารประมาณ 30 นาที เนื่องจากธาตุเหล็กสามารถดูดซึมได้ดีในขณะท้องว่าง จากนั้นดื่มน้ำตามมาก ๆ และอาจรับประทานผลไม้หรือเครื่องดื่มที่มีวิตามินซีตามไปด้วย เพราะวิตามินซีอาจช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น

คนท้องบางคนที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรง การกินยาบำรุงเลือดคนท้องที่มีส่วนประกอบของธาตุเหล็กอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ดังนั้น เพื่อลดอาการข้างเคียงเหล่านี้จึงควรรับประทานยาบำรุงเลือดคนท้องในระหว่างมื้ออาหาร

การเสริมธาตุเหล็กด้วยการรับประทานอาหารตามธรรมชาติ

นอกจากการรับประทานยาบำรุงเลือดคนท้อง ยังสามารถรับประทานอาหารตามธรรมชาติเพื่อเสริมธาตุเหล็กในระหว่างตั้งท้องได้ ดังนี้

  • เนื้อแดง ปลาทะเล เครื่องในสัตว์ ตับ เลือดหมู และไข่แดง
  • ผักใบเขียว เช่น บร็อคโคลี่ ผักโขม คะน้า
  • ถั่ว เช่น ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วอบ ถั่วลูกไก่
  • ธัญพืช เช่น ขนมปังโฮลวีต ซีเรียล ข้าวโอ๊ต จมูกข้าวสาลี

นอกจากนี้ เพื่อให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีขึ้น ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีร่วมด้วย เช่น ส้ม น้ำส้ม กีวี่ สตรอว์เบอร์รี่ ลิ้นจี่ ฝรั่ง มะขามป้อม กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ พริกหวาน ผักปวยเล้ง ใบมะรุม

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Pregnancy and birth: Do all pregnant women need to take iron supplements?. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK279574/. Accessed September 20, 2022

Information for pregnant women or women who have given birth who are receiving low molecular weight heparin. https://www.nbt.nhs.uk/maternity-services/pregnancy/heparin-use-during-pregnancy. Accessed September 20, 2022

Are You Getting Enough Iron?. https://www.webmd.com/baby/are-you-getting-enough-iron#:~:text=You%20need%20at%20least%2027,vomiting%2C%20constipation%2C%20or%20diarrhea. Accessed September 20, 2022

The Benefits and Risks of Iron Supplementation in Pregnancy and Childhood. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7173188/. Accessed September 20, 2022

Iron in pregnancy. https://www.tommys.org/pregnancy-information/im-pregnant/nutrition-in-pregnancy/iron-pregnancy. Accessed September 20, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

04/08/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการคนท้องอ่อน ๆ และการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี

คนท้องกินเบียร์ได้ไหม อันตรายหรือไม่


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอรกนิษฐา อรุณาทิตย์

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 04/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา