backup og meta

พลัดตก หกล้ม ปฐมพยาบาลขั้นต้นอย่างไรให้สบายใจหายห่วง

พลัดตก หกล้ม ปฐมพยาบาลขั้นต้นอย่างไรให้สบายใจหายห่วง

อุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดอย่างการ พลัดตก หกล้ม สามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่และทุกเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีการเดินที่ไม่ระมัดระวัง ก็จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการลื่น สะดุด หรือชนเข้ากับสิ่งของ ทำให้หกล้มได้ อย่างไรก็ตาม เมื่อหกล้มแล้วก็จำเป็นที่จะต้องมีการปฐมพยาบาลในขั้นต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหรือความเสี่ยงต่อสุขภาพอื่น ๆ แต่การปฐมพยาบาลเมื่อหกล้มทำได้อย่างไรบ้างนั้น มาหาคำตอบได้ที่บทความนี้จาก Hello คุณหมอ

เมื่อ หกล้ม ปฐมพยาบาลอย่างไร

หากเด็ก ผู้ใหญ่ หรือผู้สูงอายุ มีการ พลัดตก หกล้มเกิดขึ้น สามารถปฐมพยาบาลได้ดังนี้

  • ทันทีที่พบว่ามีการ พลัดตก หกล้มให้รีบเข้าไปประคอง และดูว่าเป็นการหกล้มอย่างรุนแรง เช่น ศีรษะฟาดลงกับพื้น ได้รับบาดเจ็บที่คอ หลัง สะโพก ต้นขาหรือไม่
  • หากพบว่ามีบาดแผล ให้ทำความสะอาดบาดแผลทันที โดยก่อนทำความสะอาดบาดแผล ผู้ที่ทำแผลควรล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลเกิดการติดเชื้อจากมือที่ไม่สะอาด
  • เพื่อป้องกันไม่ให้มีการฟกช้ำ หรือบวมอย่างรุนแรง ให้ทำการประคบเย็นหรือประคบน้ำแข็งไปที่บาดแผล หรือบริเวณที่มีการฟกช้ำ หรือบวม
  • ในกรณีที่มีอาการปวดรุนแรง ให้รับประทานยาแก้ปวด
  • นำผู้บาดเจ็บไปพักผ่อนและรอดูอาการ และสังเกตอาการใน 24 ชั่วโมงแรก

ข้อควรระวังในการปฐมพยาบาลเมื่อ หกล้ม

ก่อนลงมือทำการปฐมพยาบาล ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

  • ตรวจดูบริเวณที่ได้รับการบาดเจ็บ หากเป็นการ พลัดตก หกล้มที่ไม่รุนแรงก็สามารถทำการปฐมพยาบาล และให้พักผ่อนได้
  • หากเป็นการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น ศีรษะได้รับการกระทบกระเทือน ดวงตาได้รับการกระทบกระเทือน ควรรีบปฐมพยาบาลเบื้องต้นและนำส่งโรงพยาบาลทันที
  • ล้างแผลด้วยน้ำสะอาด แอลกอฮอล์ล้างแผล หรือผลิตภัณฑ์สำหรับทำความสะอาดบาดแผลเท่านั้น
  • การประคบเย็นหรือประคบน้ำแข็ง ควรใช้ผ้าสะอาดห่อน้ำแข็ง ไม่ควรใช้น้ำแข็งประคบโดยตรงที่บาดแผล หรือจุดที่มีการฟกช้ำ
  • หากมีเลือดไหลต่อเนื่อง ให้ทำการห้ามเลือดด้วยผ้าสะอาดเท่านั้น ไม่ควรใช้มือหรืออุปกรณ์อื่นที่ไม่สะอาดทำการห้ามเลือด
  • ในกรณีที่มีการหกล้มจนกระดูกหัก พยายามอย่าให้ผู้บาดเจ็บเคลื่อนไหว เพราะอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บมากยิ่งขึ้น

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

โดยทั่วไปหากเป็นการ พลัดตก หกล้มที่ไม่รุนแรง การปฐมพยาบาลเบื้องต้นก็สามารถช่วยรับมือได้ อย่างไรก็ตาม หากมีอาการแทรกซ้อนหรือมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นตามมาใน 24 ชั่วโมงแรก ควรพาผู้บาดเจ็บไปพบคุณหมอ

  • มีไข้ 
  • มีอาการง่วงหรืออ่อนเพลียมากเป็นพิเศษ 
  • วิงเวียนศีรษะและอาเจียน 
  • ปวดศีรษะ คอ หลัง หรือบริเวณที่เกิดการหกล้มอย่างรุนแรง
  • ไม่สามารถเดินได้เป็นปกติ
  • มีปัญหาด้านการมองเห็น หรือมองไม่ค่อยเห็น
  • มีเลือดออกในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บอย่างรุนแรง
  • มีปัญหาด้านการหายใจ เช่น หายใจไม่ออก หยุดหายใจ
  • หมดสติ
  • มีอาการชัก

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

First Aid for Seniors. https://www.healthline.com/health/first-aid/first-aid-for-seniors. Accessed April 1, 2021.

First Aid for Fall Injuries in Adults. https://www.dovemed.com/healthy-living/first-aid/first-aid-fall-injuries-adults/. Accessed April 1, 2021.

First Aid: Falls. https://kidshealth.org/en/parents/falls-sheet.html. Accessed April 1, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/04/2021

เขียนโดย Khongrit Somchai

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

แผลโดนแทง ของมีคมบาด ควรปฐมพยาบาลอย่างไรก่อนไปพบหมอ

การหกล้มในผู้สูงอายุ ภาวะอันตรายที่ลูกหลานช่วยป้องกันได้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 02/04/2021

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา