ฝึกลูกกินข้าวเอง อาจเริ่มได้ตั้งแต่ช่วงขวบปีแรก ซึ่งจะช่วยให้เด็กสามารถรู้จักฝึกหัดช่วยเหลือตัวเอง เป็นการแบ่งเบาภาระพ่อแม่ ทำให้มีเวลาเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งเป็นการส่งเสริมทักษะและพัฒนาการการใช้นิ้ว มือ และรู้จักควบคุมการเคลื่อนไหวของเด็ก อีกทั้งฝึกฝนให้เด็ก ๆ เริ่มรู้จักควบคุมตัวเองและรับผิดชอบตัวเอง
[embed-health-tool-vaccination-tool]
ควร ฝึกลูกกินข้าวเอง เมื่อไรดี
โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเด็กมีอายุ 7-9 เดือน ถือเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเริ่มต้น ฝึกลูกกินข้าวเอง ในช่วงเวลานี้ ลูกน้อยสามารถนั่งตัวตรงได้ด้วยตัวเอง และเริ่มฝึกการควบคุมการเคลื่อนไหว และใช้นิ้วมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้แล้ว การหยิบจับของเด็กเล็ก จะเริ่มจากการใช้หัวแม่มือร่วมกับนิ้วอื่น ๆ มีสัญญาณต่าง ๆ ที่สามารถบ่งบอกได้ว่า ลูกน้อยพร้อมแล้ว สำหรับฝึกกินอาหารด้วยตนเอง เช่น
- สามารถนั่งได้ด้วยตนเอง
- หยิบจับสิ่งของเข้าปากได้
- เริ่มเคี้ยวอาหารได้
- ถือขวดนมได้เองระหว่างป้อนนม
เริ่มต้น ฝึกลูกกินข้าวเอง ได้อย่างไร
ขั้นตอนแรก ควรให้โอกาสลูกน้อย ในการลองกินอาหารด้วยตัวเองก่อน ลองให้อาหารแห้ง ชิ้นใหญ่ (แต่ไม่ใหญ่จนอาจทำให้สำลัก) หรืออาจแบ่งอาหารออกเป็น 4-5 ชิ้น แล้วค่อย ๆ เพิ่มอย่างช้า ๆ วางลงในจานข้าวขณะที่ลูกกินอาหาร เนื่องจากการเริ่มต้นด้วยอาหารที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งวางไว้ในจุด ๆ เดียว อาจทำให้ลูกนำอาหารทุกชิ้นเข้าปากในคราวเดียว หรือทำตกกระจัดกระจายบนพื้นได้
นอกจากนั้นแล้ว อาจช่วยเสริมสร้างความมั่นใจของลูก ด้วยการชื่นชมเมื่อลูกใช้ช้อนได้ หากลูกยังไม่สามารถใช้ช้อนได้ อย่าเพิ่งบังคับ ลองให้เวลาอีกสัก 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้พร้อมมากยิ่งขึ้น
ฝึกลูกกินข้าวเอง ควรกินอาหารประเภทไหน
เริ่มต้นด้วยอาหารที่ลูกชอบ โดยหั่นมาเป็นลูกเต๋าขนาดเล็กพอดีคำที่ลูกจะหยิบจับเข้าปากตัวเองได้ นอกจากนี้ อาจลองหาอาหารแข็งที่มีเนื้อนุ่มหนึบ หั่นเป็นชิ้นขนาดเท่าเมล็ดถั่ว เช่น ชีส กล้วย มะม่วง แครอทต้ม หรืออาหารที่นุ่มกว่า หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ เช่น ขนมปัง หรือเต้าหู้
ฝึกลูกกินข้าวเอง ควรหลีกเลี่ยงอาหารประเภทใด
การ ฝึกลูกกินข้าวเอง นั้นมากับความเสี่ยง โดยเฉพาะการสำลัก อาหารบางชนิดอาจแข็งเกินกว่าลูกน้อยจะเคี้ยวได้ ตัวอย่างเช่น ถั่วเต็มเมล็ด ป๊อบคอร์นคั่ว ลูกเกด องุ่น ผักสดที่เนื้อแข็งเกินไปอย่างแครอท หรือเนื้อเป็นชิ้น เช่น ฮอทดอก อาหารเหล่านี้ ไม่สามารถละลายได้ในปากได้ และอาจติดตามเหงือก หรืออาจหลุดรอดเข้าในหลอดลม ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ เพื่อป้องกันการสำลัก
เคล็ดลับสำคัญในการ ฝึกลูกกินข้าวเอง คือ การให้เวลากับลูกที่จะเรียนรู้ อย่าไปเร่งรัด หากเห็นว่าลูกฝึกกินข้าวเองแล้วได้รับปริมาณอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย พ่อแม่อาจต้องป้อนอาหารเหลวหรือของว่างเพื่อให้ลูกน้อยได้กินอิ่มอย่างเพียงพอ