backup og meta

ลูก 2 เดือน ฉีดวัคซีน เป็นไข้ ควรดูแลอย่างไรบ้าง

ลูก 2 เดือน ฉีดวัคซีน เป็นไข้ ควรดูแลอย่างไรบ้าง

หลังลูกอายุ 2 เดือนฉีดวัคซีน ระบบภูมิคุ้มกันของลูกจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองต่อวัคซีน จนอาจทำให้ลูกมีไข้ต่ำ ๆ หรืออาจมีอาการวิงเวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ผิวหนังบริเวณที่ฉีดวัคซีนบวมแดงร่วมด้วย อาการเหล่านี้อาจส่งผลให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัวและงอแง แต่ก็มักหายได้เองภายใน 1-3 วัน อย่างไรก็ตาม หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตว่า ลูก 2 เดือน ฉีด วัคซีน เป็น ไข้ สามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นได้ด้วยการเช็ดตัวเพื่อลดอุณหภูมิร่างกาย และให้ลูกกินน้ำนมเยอะ ๆ แต่หากดูแลเบื้องต้นแล้วไข้ยังไม่ลดลงหรือลูกมีอาการแย่ลง ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ลูก 2 เดือน ฉีด วัคซีน เป็น ไข้  เกิดจากอะไร

เมื่อลูกได้รับวัคซีนตามวัยครบตามที่คุณหมอแนะนำ อาจช่วยลดความเสี่ยงโรคร้ายแรงได้หลายชนิด เช่น โรคคอตีบ โรคหัด โรคบาดทะยัก โรคไอกรน คุณพ่อคุณแม่จึงควรพาลูกไปฉีดวัคซีนตามกำหนดทุกครั้งเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากพาลูกไปฉีดวัคซีนแล้วลูกเป็นไข้ ส่วนใหญ่เป็นสัญญาณว่าระบบภูมิคุ้มกันกำลังต่อต้านเชื้อแปลกปลอมที่เข้าไปในระบบร่างกาย ทำให้ร่างกายเกิดปฏิกิริยาตอบสนอง และผลให้เด็กมีอาการไข้ขึ้น เซึ่องซึม ไม่สบายตัว ซึ่งอาการมักหายไปได้เองภายในเวลาไม่กี่วัน หลังฉีดวัคซีน เซลล์ภูมิกันจะคุ้นเคยกับเชื้อก่อโรคนั้น ๆ หากร่างกายได้รับเชื้อชนิดนั้นอีกในอนาคต ระบบภูมิคุ้มกันจะสามารถต่อสู้กับเชื้อได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยป้องกันการติดเชื้อนั้น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วัคซีนสำหรับเด็กอายุ 2 เดือน มีอะไรบ้าง

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็กอายุ 2 เดือน มีดังนี้

  • วัคซีนป้องกันคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน-ตับอักเสบบี-ฮิบ (DTP-HB-Hib) ปกติจะฉีดทั้งหมด 5 ครั้ง เมื่อเด็กมีอายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และ 12 ปี สำหรับ DTP
  • วัคซีนป้องกันโปลิโอชนิดหยอด (OPV) และชนิดฉีด (IPV) ปกติจะรับชนิดหยอดทั้งหมด 5 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือน 4 เดือน 6 เดือน 1 ปี 6 เดือน และในช่วงอายุ 4-6 ปี สำหรับชนิดฉีดกำหนดรับเฉพาะที่อายุ 4 เดือน ควบคู่ไป แต่สามารถเลือกรับทุกครั้งในรูปแบบฉีดได้เช่นกัน โดยรับทั้งหมด 4 ครั้ง งดอายุ 1 ปี 6 เดือน ได้

วัคซีนเสริมสำหรับเด็กอายุ 2 เดือน มีดังนี้

  • วัคซีนโรต้า (Rotavirus) เป็นวัคซีนชนิดหยอดสำหรับเด็กอายุ 1 เดือนครึ่งถึงประมาณ 4 เดือน (6-15 สัปดาห์) มักเริ่มหยอดเมื่อเด็กอายุ 2 เดือน วัคซีนโรต้าชนิดโมโนวาเลนต์ (Monovalent) ใช้หยอด 2 ครั้ง เมื่ออายุ 2 เดือนและ 4 เดือน โดยต้องรับห่างกันอย่างน้อย 1 เดือน (4 สัปดาห์) และโดสสุดท้ายไม่เกินอายุ 8 เดือน
  • วัคซีนนิวโมคอคคัส (Streptococcus pneumoniae) เป็นวัคซีนสำหรับเด็กอายุตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป หากเริ่มฉีดเมื่อเด็กอายุ 2-6 เดือน ให้ฉีดจำนวน 3 ครั้ง โดยแต่ละเข็มควรห่างกัน 1 – 2 เดือน (4-8 สัปดาห์)

ผลข้างเคียงของวัคซีนเด็ก

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังเด็กได้รับฉีดวัคซีน มีดังนี้

  • ผิวหนังบริเวณที่ฉีดวัคซีนบวมแดง อาจเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังรับวัคซีน และอาจหายไปภายใน 3-5 วัน
  • มีไข้ หลังฉีดวัคซีน ลูกอาจมีไข้ต่ำ สัมผัสแล้วตัวรุม ๆ ร้องไห้งอแงเนื่องจากไม่สบายตัว ไม่ยอมนอน อาการอาจเกิดขึ้นภายใน 24 ชั่วโมงหลังรับวัคซีน และอาจหายไปภายใน 1-2 วัน
  • ภาวะแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) เป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่อาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและควรได้รับการรักษาทันที อาจเกิดขึ้นหลังฉีดวัคซีนประมาณ 15-20 นาที อาการที่พบบ่อย เช่น วิงเวียนศีรษะ หายใจลำบาก หัวใจเต้นแรง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นหมดสติได้ แต่เป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก ๆ สามารถเฝ้าระวังได้โดยสังเกตอาการที่สถานพยาบาลที่พาลูกไปรับวัคซีนนานอย่างน้อย 30 นาที
  • คลื่นไส้และอาเจียน ลูกอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไม่อยากอาหาร หลังฉีดวัคซีน แต่เป็นอาการที่พบได้ไม่บ่อย

หลังรับวัคซีน คุณหมอจะให้นั่งพักรอดูอาการประมาณ 30 นาที หากพบอาการผิดปกติใด ๆ จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที แต่หากอาการปกติดีก็สามารถกลับบ้านได้

ลูก 2 เดือน ฉีดวัคซีน เป็นไข้ ควรดูแลอย่างไร

  • ควรให้ลูกกินน้ำนมแม่ให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นในร่างกาย ซึ่งจะช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น และช่วยลดอุณหภูมิร่างกายลูกให้เย็นลง
  • ควรปรึกษาคุณหมอว่าสามารถให้ลูกกินยาลดไข้ได้หรือไม่ หลีกเลี่ยงการให้ลูกกินยาลดไข้โดยพลการ เนื่องจากฤทธิ์ยาอาจเป็นอันตรายกับเด็กที่อายุน้อยกว่า 4 เดือน (12 สัปดาห์)
  • หมั่นใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นบิดหมาดเช็ดตัวให้ลูกเพื่อลดไข้
  • ให้ลูกสวมเสื้อผ้าโปร่งสบายและระบายอากาศได้ดี เช่น เสื้อผ้าที่ทำจากผ้าฝ้าย
  • พยายามอย่าให้ลูกห่มผ้าหนาเกินไป และไม่ควรทาแป้งให้ลูกเพราะอาจทำให้รูขุมขนอุดตันจนระบายความร้อนได้ลำบาก
  • หากผิวหนังบริเวณที่ฉีดวัคซีนบวมแดง มีอาการปวด ให้ประคบด้วยผ้าชุบน้ำเย็นบิดหมาด อาจช่วยบรรเทาอาการได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Immunization Reactions. https://www.seattlechildrens.org/conditions/a-z/immunization-reactions/. Accessed September 2, 2022

What to Expect After Your Child Gets Vaccines. https://www.webmd.com/children/guide/child-gets-vaccines.  Accessed September 2, 2022

Immunisation – side effects. https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/healthyliving/immunisation-side-effects. Accessed September 2, 2022

6-in-1 vaccine: side effects. https://www.nhs.uk/conditions/vaccinations/6-in-1-vaccine-side-effects/#. Accessed September 2, 2022

Childhood vaccines: Tough questions, straight answers. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/vaccines/art-20048334. Accessed September 2, 2022

วัคซีนพื้นฐานสำหรับเด็ก-สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย. https://www.pidst.or.th/A746.html. Accessed September 2, 2022

Optional Vaccine : วัคซีนทางเลือก-สถาบันวัคซีนแห่งชาติ. http://nvi.go.th/index.php/vaccine-knowledge/optional-vaccine. Accessed September 2, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/10/2022

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับตารางการฉีดวัคซีนเด็ก

วัคซีน เด็ก ที่ควรได้รับ และเคล็ดลับไม่ให้ลูกงอแงตอนรับวัคซีน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 29/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา