backup og meta

6 เหตุผลทำไมบางคนไม่เข้ารับการ ฉีดยาวัคซีน

6 เหตุผลทำไมบางคนไม่เข้ารับการ ฉีดยาวัคซีน

ฉีดยาวัคซีน เป็นวิธีป้องกันโรค หรือลดความเสี่ยงอาการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง โดยการฉีดสารก่อภูมิคุ้มกันเข้าสู่ร่างกาย เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภูมิต้านทานต่อโรคต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เกิดอาการป่วยหนักจนถึงขั้นเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันที่มีการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้สำคัญมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน เพราะอาจกังวลต่อฤทธิ์ของตัวยาวัคซีนที่ผ่านการทดลองมาไม่นาน ผลข้างเคียงที่อาจตามมา รวมถึงความเชื่อส่วนบุคคล

เหตุผลของผู้ที่ไม่รับการ ฉีดยาวัคซีน

การฉีดวัคซีน มีความสำคัญเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในปัจจุบันนี้ที่มีการรณรงค์ให้เข้ารับการฉีดวัคซีนโรคโควิด-19 แต่มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกไม่ฉีดยาวัคซีน ส่วนใหญ่เกิดจากเหตุผลต่อไปนี้

  • กังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีน โดยส่วนใหญ่แล้วหลังฉีดวัคซีน มักเกิดผลข้างเคียงต่อร่างกายโดยเฉพาะปวดบริเวณที่ฉีด ซึ่งทำให้บางคนอาจกังวลและกลัวจนไม่กล้าไปฉีดวัคซีนในกรณีของวัคซีนโควิด-19 ผลข้างเคียงที่พบบ่อยประกอบด้วย แขนบวม ปวดกล้ามเนื้อ คลื่นไส้ ไข้ขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงมักเกิดขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น อาจใช้เวลาประมาณ 1-2 วันผลข้างเคียงต่าง ๆ จะหายไป อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่เข้ารับการฉีดวัคซีน อาจกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงระยะยาว ซึ่งยังไม่ได้รับการศึกษาเพียงพอ
  • ไม่เชื่อถือประสิทธิภาพของยาวัคซีน โดยหลักการแล้ว ยาวัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หากติดเชื้อ วัคซีนจะช่วยลดความเสี่ยงอาการป่วยขั้นรุนแรง หรือเสียชีวิตได้ แต่ยังมีผู้ที่เข้าใจผิดเมื่อทราบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้ว ยังคงป่วยด้วยโรคของวัคซีนซึ่งได้รับมา จึงเข้าใจว่าวัคซีนไม่มีประสิทธิภาพ และเลือกไม่เข้ารับการฉีดยาวัคซีน นอกจากนี้ เนื่องจากโรคโควิด-19 เป็นโรคระบาดที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่นาน และการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นเทคโนโลยีใหม่ เช่น mRNA ซึ่งอาจยังไม่ได้รับการศึกษาในระยะยาวมากพอ จึงอาจทำให้ผู้ที่ไม่เข้ารับวัคซีนไม่มั่นใจถึงประสิทธิภาพและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อร่างกายในระยะยาว
  • เชื่อว่าไม่ฉีดวัคซีนก็ไม่เป็นไร สำหรับโรคโควิด-19 คนจำนวนมากติดเชื้อขณะยังไม่ได้รับยาวัคซีน และหายจากโรคได้เมื่อได้รับการรักษา ทำให้เกิดความเข้าใจว่า แม้ไม่ฉีดวัคซีนก็คงไม่เป็นไร อย่างไรก็ตาม โอกาสหายจากโรคนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อาทิ ปริมาณเชื้อที่ได้รับ วัย ความแข็งแรงของร่างกาย ประวัติการเจ็บป่วย ภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการไปฉีดวัคซีน แม้จะทราบถึงความสำคัญของการฉีดยาวัคซีน แต่บางคนอาจไม่สามารถเข้ารับการฉีดยาวัคซีนเนื่องจากข้อจำกัดต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ไม่มีเวลา ไม่สะดวกเดินทางไปยังจุดฉีดวัคซีนหรือสถานพยาบาล ติดงาน ไม่สามารถลางานไปฉีดยาวัคซีนได้
  • ไม่เชื่อใจในภาครัฐ เนื่องจากยาวัคซีนเป็นบริการของภาครัฐหรือหน่วยงานสาธารณสุข ดังนั้น หากรู้สึกต่อต้านหน่วยงานหรือภาครัฐ มีอคติเป็นการส่วนตัว อาจเลือกไม่เข้ารับการฉีดยาวัคซีนเพื่อแสดงออกถึงทัศนคติและความเห็นที่มีต่อการบริหารจัดการของภาครัฐ
  • กลัวเข็ม เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ไม่เข้ารับการฉีดยาวัคซีน โดยเฉพาะเด็กเล็ก ผู้ปกครองควรพูดคุยและปลอบใจเพื่อให้เด็กคลายความกังวล สำหรับผู้ใหญ่ เพื่อน คนรัก สมาชิกในครอบครัว ควรให้กำลังใจผู้ที่กลัวเข็ม หรือบอกพวกเขาว่าการกลัวเข็มไม่ใช่เรื่องน่าอาย รวมทั้งอาจไปฉีดวัคซีนเป็นเพื่อน และอธิบายถึงความสำคัญและประโยชน์ของวัคซีนที่มีทั้งต่อตัวเองและคนรอบข้าง

เหตุผลที่ควร ฉีดยาวัคซีน

การฉีดยาวัคซีน มีข้อดีดังต่อไปนี้

  • ช่วยลดความเสี่ยงเจ็บป่วยรุนแรงหรือเสียชีวิต โดยเฉพาะจากการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ ที่ร้ายแรง เช่น โรคโควิด-19 โรควัณโรค โรคไวรัสตับอักเสบ โรคคางทูม โรคคอตีบ โรคหัด โรคไอกรน
  • ช่วยป้องกันคนใกล้ตัวจากการติดเชื้อ ผู้ที่ไม่ฉีดยาวัคซีน มักเสี่ยงสูงที่จะเกิดอาการเจ็บป่วยและเป็นหนักกว่าผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีน และเมื่อติดเชื้อ ก็อาจแพร่เชื้อไปยังคนใกล้ตัว ทำให้เจ็บป่วยหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ อย่างเช่นในกรณีทารกติดเชื้อโรคไอกรนจากผู้ใหญ่กระทั่งเสียชีวิต
  • ช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค โดยเฉพาะการฉีดวัคซีนโควิด-19 ยังถือเป็นอีกวิธีในการช่วยยับยั้งวงจรของเชื้อโรคไม่ให้แพร่กระจายออกไปในวงกว้าง โอกาสที่สังคมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติจึงมีมากขึ้นด้วย
  • ช่วยให้ชีวิตการทำงานราบรื่น เพราะยาวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงในการเจ็บป่วยขั้นรุนแรงจนต้องเข้าโรงพยาบาลเมื่อได้รับการฉีดยาวัคซีน โอกาสหยุดงานเป็นเวลานานเนื่องจากความเจ็บป่วยที่รุนแรงจึงน้อยลง ทำให้สามารถสร้างผลงานและเกิดประสิทธิภาพการทำงาน ส่งผลต่อการได้รับผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวต่อไป

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Possible Side Effects After Getting a COVID-19 Vaccine. https://www.cdc.gov/coronavirus/2019-ncov/vaccines/expect/after.html. Accessed April 7, 2022

Vaccines and immunization: What is vaccination?. https://www.who.int/news-room/questions-and-answers/item/vaccines-and-immunization-what-is-vaccination. Accessed April 7, 2022

COVID-19 Vaccine Hesitancy: 12 Things You Need to Know. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/coronavirus/covid19-vaccine-hesitancy-12-things-you-need-to-know. Accessed April 7, 2022

10 Reasons To Get Vaccinated. https://www.nfid.org/immunization/10-reasons-to-get-vaccinated/. Accessed April 7, 2022

How vaccines work. https://vaccination-info.eu/en/vaccine-facts/how-vaccines-work. Accessed April 7, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/04/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ฉีดวัคซีนโควิด มีประโยชน์อย่างไร และมีผลข้างเคียงอย่างไร

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ การฉีดวัคซีน โควิด-19 สำหรับเด็ก


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 12/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา