backup og meta

อาหารสำหรับเด็ก ที่อุดมไปด้วยโภชนาการ

อาหารสำหรับเด็ก ที่อุดมไปด้วยโภชนาการ

อาหารสำหรับเด็ก ที่อุดมไปด้วยคุณประโยชน์ อาจช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและสุขภาพร่างกายที่ดีให้กับเด็ก เด็กและวัยรุ่นควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ แต่เด็กในแต่ละช่วงวัยมีความต้องการสารอาหารเหล่านี้ในปริมาณที่แตกต่างกันไป คุณพ่อและคุณแม่จึงควรเลือกสรรอาหารที่เหมาะสมให้กับลูก เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตอย่างสมวัย

[embed-health-tool-bmi]

อาหารสำหรับเด็ก ที่มีประโยชน์ มีอะไรบ้าง

อาหารสำหรับเด็ก ที่มีประโยชน์ มีอะไรบ้าง

1. โปรตีน 

โปรตีนอาจช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อภายในร่างกายให้เด็ก ๆ โดยอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน ได้แก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เนื้อสัตว์ปีก ไข่ ถั่ว ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง และควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน

2. ผัก 

ผักหลากหลายชนิด เช่น กลุ่มผักสีเขียว สีแดง สีส้ม และถั่วลันเตาล้วนอุดมไปด้วยแร่ธาตุ สารต้านอนุมูลอิสระ และวิตามินจากธรรมชาติ ที่อาจช่วยปรับปรุงระบบทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวน โรคสมองเสื่อมในเด็ก

3. ผลไม้ 

ผลไม้สด หรือน้ำผลไม้สด 100% ปราศจากน้ำตาล มีวิตามิน แร่ธาตุ เส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ  ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจ มะเร็ง โรคเบาหวาน โดยผลไม้ที่อาจให้วิตามินสูง ได้แก่ ส้ม สตรอว์เบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แบล็คเบอร์รี่ แอปเปิ้ล สับปะรด กล้วย เพื่อความปลอดภัยแก่สุขภาพของเด็กอาจจำกัดปริมาณการรับประทานน้ำผลไม้เพียง 1 แก้วต่อวัน

4. ธัญพืช

เลือกรับประทานธัญพืชเต็มเมล็ด เช่น ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด ข้าวบาร์เลย์ ข้าวกล้อง คีนัว และอาหารที่ทำจากธัญพืชโฮลเกรน หรือเต็มเมล็ด เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต 100% และธัญพืชไม่ขัดสีชนิดอื่น ๆ อีกทั้งยังอุดมไปด้วยวิตามินบี เส้นใยอาหาร สารต้านอนุมูลอิสระ แร่ธาตุ ที่อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ โรคเบาหวานประเภท 2 โรคอ้วน และช่วยชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้ ควรหลีกเลี่ยงข้าวขาว ขนมปัง แป้งพิซซ่า พาสต้าที่อาจเพิ่มน้ำตาลในเลือดและอินซูลินให้สูงขึ้น

5. ผลิตภัณฑ์จากนม

ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น โยเกิร์ต ชีส นม เป็นแหล่งรวมแคลเซียม และโปรตีนที่อาจช่วยบำรุงกระดูก รักษามวลกระดูก ป้องกันกระดูกแตกหักง่าย  แต่สำหรับเด็กที่มีน้ำหนักเกินควรเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันต่ำ หรือปราศจากไขมัน

ปริมาณอาหารตามโภชนาการสำหรับเด็ก

หากคุณพ่อคุณแม่มีข้อกังวลถึงปริมาณอาหารที่เด็กควรได้รับต่อวัน อาจเข้าขอรับคำปรึกษาจากคุณหมอ หรืออาจปฏิบัติตามแนวทาง ดังต่อไปนี้

ปริมาณอาหารสำหรับเด็กผู้หญิงอายุ 2-4 ปี

  • แคลอรี่ 1,000-1,400 แคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของแต่ละบุคคล
  • โปรตีน 56-113 กรัม
  • ผัก 1-1.5 ถ้วย
  • ผลไม้ 1-1.5 ถ้วย
  • ธัญพืช 85-142 กรัม
  • ผลิตภัณฑ์จากนม 2-2.5 ถ้วย

ปริมาณอาหารสำหรับเด็กผู้หญิงอายุ 5-8 ปี

  • แคลอรี่ 1,200-1,800 แคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของแต่ละบุคคล
  • โปรตีน 85-142 กรัม
  • ผัก 1.5-2.5 ถ้วย
  • ผลไม้ 1-1.5 ถ้วย
  • ธัญพืช 113-170 กรัม
  • ผลิตภัณฑ์จากนม 2.5 ถ้วย

ปริมาณอาหารสำหรับเด็กผู้หญิงอายุ 9-13 ปี

  • แคลอรี่ 1,400-2,000 แคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของแต่ละบุคคล
  • โปรตีน 113-170 กรัม
  • ผัก 1.5-3 ถ้วย
  • ผลไม้ 1.5-2 ถ้วย
  • ธัญพืช 141-198 กรัม
  • ผลิตภัณฑ์จากนม 3 ถ้วย

ปริมาณอาหารสำหรับเด็กผู้หญิงอายุ 14-18 ปี

  • แคลอรี่ 1,800-2,400 แคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของแต่ละบุคคล
  • โปรตีน 141-198 กรัม
  • ผัก 2.5-3 ถ้วย
  • ผลไม้ 1.5-2 ถ้วย
  • ธัญพืช 141-198 กรัม
  • ผลิตภัณฑ์จากนม 3 ถ้วย

ปริมาณอาหารสำหรับเด็กผู้ชายอายุ 2-4 ปี

  • แคลอรี่ 1,000-6,000 แคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของแต่ละบุคคล
  • โปรตีน 56-141 กรัม
  • ผัก 1-2 ถ้วย
  • ผลไม้ 1-1.15 ถ้วย
  • ธัญพืช 85-142 กรัม
  • ผลิตภัณฑ์จากนม 2-2.5 ถ้วย

ปริมาณอาหารสำหรับเด็กผู้ชายอายุ 5-8 ปี

  • แคลอรี่ 1,200-2,000 แคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของแต่ละบุคคล
  • โปรตีน 85-142 กรัม
  • ผัก 1.5-2.5 ถ้วย
  • ผลไม้ 1-2 ถ้วย
  • ธัญพืช 113-170 กรัม
  • ผลิตภัณฑ์จากนม 2.5 ถ้วย

ปริมาณอาหารสำหรับเด็กผู้ชายอายุ 9-13 ปี

  • แคลอรี่ 1,600-2,600 แคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของแต่ละบุคคล
  • โปรตีน 141-198 กรัม
  • ผัก 2.3.5 ถ้วย
  • ผลไม้ 1.5-2 ถ้วย
  • ธัญพืช 141-255 กรัม
  • ผลิตภัณฑ์จากนม 3 ถ้วย

ปริมาณอาหารสำหรับเด็กผู้ชายอายุ 14-18 ปี

  • แคลอรี่ 2,000-3,200 แคลอรี่ ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของแต่ละบุคคล
  • โปรตีน 141-198 กรัม
  • ผัก 2.5-4 ถ้วย
  • ผลไม้ 2-2.5 ถ้วย
  • ธัญพืช 170-283 กรัม
  • ผลิตภัณฑ์จากนม 3 ถ้วย

อาหารสำหรับเด็กที่ควรหลีกเลี่ยง

อาหารสำหรับเด็กที่ควรเลี่ยง หรือจำกัดปริมาณการรับประทานมี ดังนี้

  • อาหารและเครื่องดื่มที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ เพราะอาจเสี่ยงต่อแบคทีเรียที่ส่งผลให้ท้องเสียรุนแรง
  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม โยเกิร์ต โดยตรวจสอบได้จากข้อมูลโภชนาการข้างฉลากผลิตภัณฑ์
  • อาหารที่มีปริมาณโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูป เนื้อสัตว์แช่แข็ง ขนมขบเคี้ยว
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ น้ำอัดลม เครื่องดื่มเกลือแร่

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What to feed young children. https://www.nhs.uk/conditions/baby/weaning-and-feeding/what-to-feed-young-children/. Accessed September 29, 2021

Nutrition: Toddler. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=toddler-nutrition-90-P02291. Accessed September 29, 2021

Kid’s Healthy Eating Plate. https://www.hsph.harvard.edu/nutritionsource/kids-healthy-eating-plate/. Accessed September 29, 2021

Nutrition for kids: Guidelines for a healthy diet. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/childrens-health/in-depth/nutrition-for-kids/art-20049335. Accessed September 29, 2021

Foods and Drinks to Avoid or Limit. https://www.cdc.gov/nutrition/infantandtoddlernutrition/foods-and-drinks/foods-and-drinks-to-limit.html. Accessed September 29, 2021

Top 12 healthful fruits. https://www.medicalnewstoday.com/articles/324431. Accessed September 29, 2021

Protein. https://kidshealth.org/en/kids/protein-def.html. Accessed September 29, 2021

Health Benefits of Vegetables. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-vegetables#1. Accessed September 29, 2021

Tips for Reaping the Benefits of Whole Grains. https://www.webmd.com/food-recipes/features/reap-the-benefits-of-whole-grains. Accessed September 29, 2021

Dairy: Health food or health risk?. https://www.health.harvard.edu/blog/dairy-health-food-or-health-risk-2019012515849. Accessed September 29, 2021

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/04/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงจิตรลดา ชินสุวรรณ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

นมสำหรับเด็กท้องเสีย ควรกินอะไร

ลูกกินไฟเบอร์ ได้มากแค่ไหน และแหล่งไฟเบอร์สำหรับเด็ก


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงจิตรลดา ชินสุวรรณ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 20/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา