backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

การติด เชื้อราในเด็ก วิธีสังเกตและการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 07/08/2023

การติด เชื้อราในเด็ก วิธีสังเกตและการรักษา

เชื้อราในเด็ก โดยเฉพาะเด็กทารก หรือเด็กวัยเตาะแตะ อาจเกิดได้ค่อนข้างบ่อย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่พัฒนาเต็มที่ ทำให้เสี่ยงติดเชื้อราได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นจากการใส่ผ้าอ้อมนานเกินไป เช็ดผิวหลังอาบน้ำไม่แห้งสนิท ทั้งนี้ อาการมักแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริเวณที่ได้รับผลกระทบ เช่น การติดเชื้อราที่ผิวหนัง อาจทำให้มีผื่นแดงลามเป็นวงเล็ก ๆ คันผิวหนัง หากติดเชื้อราในช่องปาก อาจทำให้มีฝ้าขาวที่ลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม อย่างไรก็ตาม การดูแลสุขอนามัยและสุขภาพของเด็กให้ดี อาจช่วยลดความเสี่ยงติดเชื้อราในเด็กได้

เชื้อราในเด็ก ที่พบได้บ่อย

เชื้อราในเด็ก ที่พบบ่อย ได้แก่  เชื้อราแคนดิด้า (Candida) ซึ่งจัดเป็นยีสต์ชนิดหนึ่ง โดยเชื้อราชนิดนี้ส่วนใหญ่แล้วมักพบได้โดยทั่วไปในช่องปาก ผิวหนัง สะดือ ลำไส้ อวัยวะเพศ โดยปกติ ปริมาณเชื้อราที่พบในร่างกายนั้นมักมีอยู่เป็นจำนวนน้อยและมักไม่เป็นอันตราย อย่างไรก็ตาม หากสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปและเอื้อให้เชื้อราเจริญเติบโต เช่น  ใส่ผ้าอ้อมเป็นเวลานาน เช็ดตัวไม่แห้งสนิท ไม่แปรงฟัน อาจทำให้เชื้อราเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วจนก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ เช่น เชื้อราในช่องปาก

เชื้อราในเด็ก สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง

คุณพ่อคุณแม่อาจลองสังเกตตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายลูกว่ามีสัญญาณเตือนของการติดเชื้อราหรือไม่ ดังนี้

ช่องปาก

• มีฝ้าขาวในบริเวณช่องปาก

• มีรอยด่างขาวเหมือนเปื้อนน้ำนมแต่ไม่สามารถเช็ดออกได้

• มีแผลในปากเกิดขึ้นได้ ซึ่งมีทั้งขนาดใหญ่และเล็ก มักทำให้ทารกรู้สึกเจ็บและไม่ยอมดูดนม 

• เกิดรอยแตกที่มุมปาก

ขาหนีบ

• อาการของผื่นผ้าอ้อมรุนแรงขึ้นและเกิดผื่นแดงแพร่กระจายไปยังขาหนีบ

• ลูกเกาเนื่องจากเกิดอาการคันและระคายเคืองบริเวณผิวหนังที่อยู่รอบผื่นผ้าอ้อม

วิธีดูแลรักษาเชื้อราในเด็ก

วิธีการดูแลเชื้อราในเด็กมักเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของทารก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ ดังนี้

• หลังจากการอาบน้ำ ควรที่จะเช็ดตัวตัวให้แห้งสนิท อาจปล่อยให้ทารกนอนเล่นสักครู่ แล้วหลังจากนั้นจึงค่อยใส่ผ้าอ้อมและแต่งตัวให้ลูกน้อย อาจช่วยให้ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อราได้

• เปลี่ยนผ้าอ้อมอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ปัสสาวะหรืออุจจาระ ควรที่จะต้องรีบทำการเปลี่ยนผ้าอ้อมโดยทันที และเช็ดหรือล้างทำความสะอาดทุกครั้งเพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อรา

• ควรดูแลหัวนมของแม่หรือจุกนมให้สะอาด เพราะอาจเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่เกิดการติดเชื้อราในช่องปากได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 07/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา