backup og meta

อีสุกอีใส ใน เด็ก มีวิธีการดูแลอย่างไรบ้าง

อีสุกอีใส ใน เด็ก มีวิธีการดูแลอย่างไรบ้าง

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากไวรัสวาริเซลลาซอสเตอร์ (varicella-zoster virus) ซึ่งเป็นไวรัสงูสวัด (herpes virus) ประเภทหนึ่ง คนทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นอีสุกอีใสได้ แต่โดยปกติมักจะพบ อีสุกอีใส ใน เด็ก โดยเฉพาะสำหรับเด็กอายุไม่เกิน 10 ปี อย่างไรก็ตาม เมื่อติดเชื้ออีสุกอีใส ระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างโปรตีนที่เรียกว่าแอนติบอดี ซึ่งทำหน้าที่ต้านไวรัสขึ้นมา ดังนั้น เมื่อผู้ใหญ่หรือ เด็กเป็นอีสุกอีใส หากมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มักไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาล แค่พักรักษาตัวที่บ้านก็เพียงพอแล้ว

[embed-health-tool-vaccination-tool]

วิธีดูแลและการรักษาอีสุกอีใสในเด็ก

ลดอาการคัน

เมื่อเด็กเป็นอีสุกอีใสจะมีอาการคัน แต่ไม่ควรปล่อยให้ลูกเกา เพราะอาจทำให้ผิวหนังติดเชื้อหรือเกิดแผลเป็นหลังจากตกสะเก็ด ควรบรรเทาอาการคันให้ลูกด้วยวิธีอื่น เช่น อาบน้ำที่มีส่วนผสมของข้าวโอ๊ตบดหยาบ ประคบเย็น ใช้ยาแก้แพ้ แต่พ่อแม่ควรปรึกษาคุณหมอก่อนให้ยาลูก

ลดอุณหภูมิร่างกาย

อาการไข้เป็นเพียงการตอบสนองตามปกติของร่างกายที่มีต่อการติดเชื้อ ซึ่งเป็นการกำจัดแบคทีเรียและไวรัสที่ทำให้เกิดโรค เมื่อเกิดอาการไม่สบาย ผู้ป่วยควรใช้เพียงยาที่ซื้อได้เองจากร้าน เพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย และควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างระมัดระวัง ก่อนให้ยาใดๆ แก่เด็ก พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

ไม่ควรให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปีใช้ยาแอสไพริน เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการเรย์ (Reye’s syndrome) ซึ่งเป็นอาการรุนแรงที่มักพบในเด็กที่ใช้ยาแอสไพริน

ป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ

อีสุกอีใสเป็นโรคที่สามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัส ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะติดเชื้อหลังจากสัมผัสกับผู้ที่ติดเชื้อ หากพบ อีสุกอีใส ใน เด็ก อย่าให้ลูกไปโรงเรียน จนกว่าสะเก็ดแผลทั้งหมดจะหายไป

โรคนี้มักมีอาการดีขึ้นภายในเวลาประมาณ 10 วันหลังจากเกิดอาการแรก เพื่อป้องกันอีสุกอีใส คนส่วนใหญ่สามารถรับวัคซีนได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก

ลดอาการไม่พึงประสงค์

ยาบางชนิดช่วยลดความรุนแรงของอีสุกอีใสได้ ได้แก่

  • วัคซีนอีสุกอีใส (Chickenpox vaccine) วัคซีนอีสุกอีใส หากลูกได้รับเชื้อไวรัสอีสุกอีใส และได้รับวัคซีนภายใน 3 วัน อาจจะไม่มีอาการป่วย หรืออาการป่วยอาจไม่รุนแรง
  • อิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulins) การฉีดอิมมูโนโกลบูลิน สามารถช่วยป้องกันอาการอีสุกอีใสที่รุนแรงได้ หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ และทารกเกิดใหม่ที่ได้รับเชื้อไวรัสอีสุกอีใสและไม่เคยเป็นอีสุกอีใสมาก่อนสามารถฉีดอิมมูโนโกลบูลินได้

รักษาด้วยยา

การรักษาอีสุกอีใสในเด็กอาจใช้ยาที่วางจำหน่ายโดยทั่วไปเพื่อช่วยบรรเทาอาการ เช่น ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) ยาแก้แพ้ (antihistamines) ยาปฏิชีวนะ (antibiotics) แต่ก่อนให้ลูกใช้ยาใดๆ พ่อแม่ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อให้แพทย์กำหนดขนาดยาที่เหมาะสมสำหรับเด็ก

ขั้นตอนปฏิบัติข้างต้น อาจช่วยบรรเทาอาการอีสุกอีใสในเด็กได้ อย่างไรก็ดีทั้งผู้ใหญ่และเด็กที่เป็นอีสุกอีใส จำเป็นต้องเข้าพบคุณหมอก่อน เพื่อจะได้รักษาและดูแลตัวเองที่บ้านได้อย่างถูกวิธี ป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chickenpox (Varicella) – Home treatment. http://www.webmd.com/vaccines/tc/chickenpox-varicella-home-treatment. Accessed January 18, 2017.

Treatment for chickenpox. http://www.nhs.uk/Conditions/Chickenpox/Pages/Treatment.aspx. Accessed January 18, 2017.

Chickenpox (Varicella) – Prevention and Treatment. https://www.cdc.gov/chickenpox/about/prevention-treatment.html. Accessed January 18, 2017.

Chickenpox. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chickenpox/symptoms-causes/syc-20351282. Accessed November 30, 2022.

Chickenpox https://kidshealth.org/en/parents/chicken-pox.html. Accessed November 30, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/11/2022

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สายสะดือ มีหน้าที่อะไร และวิธีดูแลสายสะดือที่ถูกต้อง

โรคมือเท้าปาก สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา