backup og meta

scarlet fever คือ ไข้อีดำอีแดงจากเชื้อแบคทีเรียที่มักเกิดขึ้นในเด็ก

scarlet fever คือ ไข้อีดำอีแดงจากเชื้อแบคทีเรียที่มักเกิดขึ้นในเด็ก

scarlet fever คือ ไข้อีดำอีแดง เป็นอีกหนึ่งโรคติดต่อที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียมักเกิดขึ้นกับเด็กวัย 5-15 ปี โดยผู้ป่วยมักมีอาการไอ เจ็บคอ ปวดศีรษะ คุณพ่อคุณแม่อาจคิดว่าเป็นเพียงอาการไข้หวัดธรรมดาทั่วไปของเด็กๆ ทั้งที่จริงแล้วหากลูกรักเป็นโรคนี้ควรพาไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาอย่างถูกวิธี คุณพ่อคุณแม่ควรรู้จักสังเกตและทำความรู้จักความแตกต่างของไข้อีดำอีแดงกับอาการไข้หวัดทั่ว ๆ ไป

[embed-health-tool-vaccination-tool]

คุณพ่อคุณแม่ควรจัก  Scarlet Fever หรือ ไข้อีดำอีแดง

Scarlet Fever คือ ไข้อีดำอีแดงซึ่งเกิดจากเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัสกรุ๊ปเอ (A Streptococcus) ผู้ป่วยจะมีอาการคออักเสบ มีลักษณะเป็นผื่นแดงบนร่างกาย และมีไข้สูง โดยส่วนใหญ่จะพบในเด็กอายุระหว่าง 5-15 ปี  คุณหมออาจะใช้วิธีการรักษาด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อบรรเทาอาการ

สาเหตุของไข้อีดำอีแดง

สาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเป็นไข้อีดำอีแดง เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียสเตรปโตคอคคัส (Streptococcus) มีระยะการฟักตัว 2-5 วัน  โดยอาศัยอยู่ในปากและระบบทางเดินหายใจ แบคทีเรียจะปล่อยสารพิษออกมาทำให้ผู้ป่วยมีผื่นขึ้นตามร่างกาย  มีอาการไอ จาม เชื้อแบคทีเรียชนิดนี้สามารถแพร่กระจายเชื้อโรคผ่านการสัมผัสกับละอองน้ำลาย การไอ หรือจามจากผู้ติดเชื้อ รวมถึงการใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น ดื่มน้ำแก้วเดียวกัน รับประทานอาหารจานเดียวกัน

อาการผู้ป่วยไข้อีดำอีแดง

หากลูกมีอาการเจ็บป่วย คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตดูอาการอย่างใกล้ชิด หากเป็นไข้อีดำอีแดง จะมีอาการแสดงออกดังต่อไปนี้

  • ผื่นแดง จะมีผื่นแดงเริ่มขึ้นที่ใบหน้าหรือลำคอและแพร่กระจายไปยังลำตัวแขนขา เมื่อสัมผัสรอยผื่นจะมีผิวหยาบคล้าย ๆ กับกระดาษทราย
  • ลิ้นเป็นสีแดง หรือที่เรียกว่า ลิ้นสตรอว์เบอร์รี่ (Strawberry Tongue) มีลักษณะเป็นหลุมบ่อมีสีขาวและสีแดงเป็นจุดขึ้นบนลิ้น

ผื่นรอยแดงบนใบหน้าและลิ้นมักแสดงอาการภายใน 7 วัน หลังจากนั้นอาการจะบรรเทาลง ผิวหนังที่ได้รับผลกระทบจะลอกออก และมีอาการอื่นร่วมด้วย ดังนี้

  • ปวดศีรษะ ปวดท้อง
  • มีอาการหนาวสั่น ไข้สูงประมาณ 38 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เจ็บคอมาก คอแดง
  • ต่อมทอมซิลบวม

วิธีรักษาไข้อีดำอีกแดง

แพทย์จะรักษา Scarlet Fever หรือไข้อีดำอีแดงด้วยการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียและช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่ายต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อ เช่น ยาอะเซตามิโนเพน (acetaminophen) ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) แพทย์อาจสั่งยาอื่น ๆ ร่วมเพื่อบรรเทาอาการปวดคอร่วมด้วย หรือการใช้น้ำยาบ้วนปากด้วยน้ำเกลือเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ

คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการเกิดไข้อีดำอีแดง รวมทั้งอาจสอนให้ลูกล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังอาหารทุกครั้ง ปิดปากและจมูกเมื่อมีอาการไอหรือจาม ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่สุด เมื่อคุณพ่อคุณแม่พบว่าลูกของตนเสี่ยงต่อการเป็นไข้อีดำอีแดงควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อความปลอดภัยของลูกรัก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Scarlet fever. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/scarlet-fever/symptoms-causes/syc-20377406. Accessed November 30, 2022.

Scarlet Fever: All You Need to Know. https://www.cdc.gov/groupastrep/diseases-public/scarlet-fever.html. Accessed November 30, 2022.

What is Scarlet Fever?. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/understanding-scarlet-fever-basics. Accessed November 30, 2022.

Scarlet fever. https://www.nhs.uk/conditions/scarlet-fever/. Accessed November 30, 2022.

Scarlet fever. https://medlineplus.gov/ency/article/000974.htm. Accessed November 30, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/11/2022

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

ปากเปื่อยร้อนใน มีสาเหตุจากโรคไข้หวัดจริงหรือ


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 30/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา