backup og meta

กลุ่มอาการทูเร็ตต์ อาการ สาเหตุ และวิธีรักษา

กลุ่มอาการทูเร็ตต์ อาการ สาเหตุ และวิธีรักษา

กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette Syndrome หรือ TS) คือ โรคกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาท รวมทั้งการหลั่งสารเคมี หรือฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) เซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) เข้าสู่สมองมากเกินไป จนทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว หรือแสดงพฤติกรรมบางอย่าง เช่น กะพริบตาถี่ ทำตาโต ส่งเสียงดัง โวยวาย กรีดร้อง เป็นต้น

กลุ่มอาการทูเร็ตต์ คืออะไร

กลุ่มอาการทูเร็ตต์ (Tourette Syndrome หรือ TS) คือ โรคกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของระบบประสาท รวมทั้งการหลั่งสารเคมี หรือฮอร์โมนโดพามีน (Dopamine) เซโรโทนิน (Serotonin) และนอร์อิพิเนฟริน (Norepinephrine) เข้าสู่สมองมากเกินไป จนทำให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว หรือแสดงพฤติกรรมบางอย่างขึ้นมากะทันหัน ซึ่งอาการอาจแย่ลงกว่าเดิมเมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่ตื่นเต้น เครียด วิตกกังวล

ถึงแม้ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่นักวิจัยเชื่อว่า อาจมาจากพันธุกรรมที่ส่งต่อกันมาทางครอบครัวด้วยการเปลี่ยนแปลงของยีน เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่นำพาให้บุตรหลานป่วยอยู่ในกลุ่มของโรคนี้ได้เช่นกัน

อาการของกลุ่มอาการทูเร็ตต์

อาการของกลุ่มอาการทูเร็ตต์ มักเริ่มต้นตั้งแต่ในช่วงอายุตั้งแต่ 5-10 ปี ขึ้นไป และอาจติดตัวไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ได้ โดยคนรอบข้างควรสังเกตพฤติกรรมเหล่านี้ เพื่อนำไปขอคำปรึกษาจากคุณหมอ เพื่อดูแลผู้ป่วยในลำดับถัดไป

อาการทางความเคลื่อนไหว

  • ศีรษะ ปาก แขน ขาเริ่มมีอาการกระตุก
  • กะพริบตาถี่ และเริ่มทำตาโต
  • ไหล่เริ่มยึกยักไปมา
  • งอ หรือบิดร่างกาย
  • กระโดด อยู่ไม่สุข
  • แลบลิ้น

อาการทางเสียง

  • ไอ
  • ส่งเสียงดัง โวยวาย กรีดร้อง
  • มีการพูดคำหยาบคาย
  • พูดซ้ำกับคำพูดของคนรอบข้าง หรือตัวของผู้ป่วยเอง

การรักษากลุ่มอาการทูเร็ตต์

เมื่ออาการของกลุ่มอาการทูเร็ตต์เกิดความรุนแรงในระดับที่ไม่สามารถควบคุมได้ ก็อาจทำให้ผู้ป่วยมีความคิดถึงขั้นทำร้ายตนเอง ดังนั้น ก่อนมีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้น คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอ เพื่อทำการรักษาอย่างทันท่วงที

การรักษาด้วยการบำบัด

  • การสร้างความผ่อนคลาย เช่น การอ่านหนังสือ ฟังเพลง นั่งสมาธิ ออกกำลังกาย เพื่อให้จิตใจสงบ ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเข้าสู่ภาวะเครียดจนอาการกำเริบ
  • การบำบัดพฤติกรรมที่ตอบสนองด้านการรับรู้ อย่าง การทำกิจกรรมอาสา การเล่นกีฬากระชับมิตร เป็นต้น

การรักษาโดยการใช้ยา

อย่างไรก็ตาม คุณจำเป็นต้องปรึกษากับทางแพทย์ และนักบำบัดเพื่อให้ได้รับข้อมูลในการรักษา หรือดูแลผู้ป่วยอย่างถูกต้อง โดยการรักษาขณะนี้ยังไม่มียารับประทานที่ทำให้หายจากโรคทูเร็ตต์ แต่ยังมียาที่บรรเทาอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ

  • ยาฮาโลเพอริดอล (Haloperidol) ยารักษาโรคทางจิตที่เข้าไปช่วยปิดกั้นสารโดพามีนในสมองคุณเพื่อบรรเทาอาการคลุ้มคลั่งทางจิตใจ
  • ยาเมทิลเฟนิเดต (Methylphenidate) เป็นยาที่ช่วยในการลดอาการอยู่ไม่สุข หรือผู้ที่มีภาวะสมาธิสั้น ซึ่งเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่อาจก่อให้เกิดอาการของโรคทูเร็ตต์ขึ้น
  • ฟลูออกซิทีน (Fluoxetine) คือยารักษาโรคซึมเศร้า ลดอาการวิตกกังวล ความเครียด เพื่อให้ผู้ป่วยกลุ่มอาการทูเร็ตต์รู้สึกถึงความผ่อนคลาย เพิ่มความสงบให้แก่จิตใจ และภาวะทางอารมณ์

ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่จำเป็นต้องใช้การรักษาหลายขั้นตอนมากนัก เพราะเมื่อลูกเริ่มโตขึ้นเข้าสู่ช่วงวัยผู้ใหญ่ก็อาจทำให้อาการ หรือโรคนี้หายไปได้เอง แต่ก็ควรอยู่ในการดูแลที่ดีตั้งแต่เริ่มมีอาการ ไม่ควรปล่อยผ่าน หรือละเลย เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยแสดงพฤติกรรมที่รุนแรงจนสายเกินไปก่อนได้รับการรักษา

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tourette Syndrome (TS) https://www.cdc.gov/ncbddd/tourette/facts.html Accessed April 07, 2020

Tourette’s Syndrome https://www.webmd.com/brain/tourettes-syndrome#1 Accessed April 07, 2020

Tourette Syndrome Fact Sheet. https://www.ninds.nih.gov/Disorders/Patient-Caregiver-Education/Fact-Sheets/Tourette-Syndrome-Fact-Sheet. Accessed October 28, 2021

Tourette syndrome. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/tourette-syndrome/symptoms-causes/syc-20350465. Accessed October 28, 2021

What is Tourette. https://tourette.org/about-tourette/overview/what-is-tourette/. Accessed October 28, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/06/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

กินปลาไหม บำรุงสมองและร่างกายนะ เพราะ ปลามีประโยชน์ มากมาย

อาการบาดเจ็บที่สมอง ส่งผลเสียอย่างไรต่อตัวคุณบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/06/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา