backup og meta

ลูกเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

ลูกเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลอย่างไร

ลูกเป็นไข้ คือ ภาวะที่อุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าระดับปกติ โดยมีอุณหภูมิประมาณ 38 องซาเซลเซียส และอาจสูงกว่านั้น บางครั้งการที่ลูกเป็นไข้ก็อาจมีสาเหตุมาจากร่างกายกำลังต่อสู้กับเชื้อโรคที่อาจทำให้เกิดการติดเชื้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรีย

ไข้ คืออะไร

ไข้ (Fever) คือ ภาวะที่เทอร์โมสตัท (Thermostat) ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายรับรู้ถึงอุณหภูมิในร่างกายสูงกว่าระดับปกติ คือ อุณหภูมิประมาณ 38 องซาเซลเซียส หรือถ้าวัดเกิน 37.7 องศาเซลเซียส และอาจจะสูงกว่านั้น

เทอร์โมสตัทพบได้บริเวณสมองส่วนที่เรียกว่า ไฮโปทาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งเป็นส่วนที่ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ หรือระดับน้ำตาลและเกลือในเลือด ไฮโปทาลามัสอาจรับรู้ได้ว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมของร่างกายควรอยู่ที่เท่าไหร่ โดยไฮโปธาลามัสส่วนหน้าจะคอยควบคุมไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไป และส่วนไฮโปธาลามัสส่วนหลังควบคุมไม่ให้อุณหภูมิต่ำเกินไป ซึ่งอุณหภูมิร่างกายปกติอาจอยู่ที่ประมาณ 37 องศาเซลเซียส จากนั้นจึงสั่งการไปยังร่างกาย เพื่อปรับอุณหภูมิให้เป็นไปตามที่สมองรับรู้

ส่วนใหญ่ อุณหภูมิในร่างกายของคนอาจเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในแต่ละวัน ในตอนเช้าอุณหภูมิอาจลดลงเล็กน้อย และอุณหภูมิอาจสูงขึ้นในตอนเย็น และอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อลูกวิ่งเล่น ออกกำลังกาย หรืออยู่กลางแดดเวลานาน แต่ในบางครั้ง ไฮโปทาลามัส อาจปรับให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคที่อาจทำให้ติดเชื้อ นั่นอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้

สาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้

ลูกเป็นไข้ อาจสร้างความกังวลให้กับคุณพ่อคุณแม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ ดังนั้น การทราบถึงสาเหตุที่ทำให้ลูกเป็นไข้ อาจทำให้คุณพ่อคุณแม่รับมือกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้อย่างมีสติ ซึ่งสาเหตุที่พบได้บ่อยเมื่อลูกเป็นไข้ คือ การติดเชื้อ

โดยทั่วไป เมื่อลูกเป็นไข้นั่นเป็นสัญญาณเตือนว่า ร่างกายของลูกอาจกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ ซึ่งการติดเชื้อในวัยเด็กส่วนใหญ่อาจมีสาเหตุจากไวรัส ทั้งยังอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อที่อาจทำให้ลูกเป็นไข้ ได้แก่

  • ส่าไข้
  • โรคต่าง ๆ เช่น หัด คางทูม และอีสุกอีใส
  • โรคปอดบวม
  • โรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ
  • เยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • โรคหวัด โรคไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบนอื่น ๆ เช่น โรคโควิด 19
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะในทารกและเด็ก
  • การติดเชื้อที่หูและคอ เช่น หูชั้นกลางอักเสบ ต่อมทอมซิลอักเสบ
  • บางครั้งห่อตัวและใส่เสื้อผ้าหนาเกินไปในทารก

นอกจากนี้ ปฏิกิริยาการแพ้ยา การฉีดวัคซีน อาการข้ออักเสบเรื้อรัง เนื้องอกบางชนิด โรคทางเดินอาหาร ฟันขึ้น เหงือกอักเสบ

สิ่งที่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้

เมื่อลูกเป็นไข้ คุณพ่อคุณแม่อาจดูแลลูกด้วยตัวเองได้ที่บ้าน เน้นทำให้อุณหภูมิของร่างกายของลูกลดลง โดยสิ่งที่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้ อาจมีดังนี้

  • รีบเช็ดตัวลดไข้ (เช็ดตัวด้วยน้ำอุณหภูมิห้อง)
  • สังเกตอาการขาดน้ำ และให้ดื่มน้ำมาก ๆ
  • ให้ลูกรับประทานอาหารในปริมาณที่ลูกต้องการ
  • ให้รับประทานพาราเซตามอล แต่ไม่ควรติดต่อกันเกิน 5 วัน
  • หมั่นสังเกตอาการของลูกอย่างสม่ำเสมอในช่วงกลางคืน
  • ให้ลูกอยู่กับบ้าน งดไปโรงเรียน
  • สังเกตอาการผิดปกติระบบต่าง ๆ
  • รีบพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุของไข้

สิ่งที่ไม่ควรทำเมื่อลูกเป็นไข้

สำหรับสิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อคุณพ่อคุณแม่ต้องดูแลลูกเป็นไข้ด้วยตัวเองที่บ้าน อาจมีดังนี้

  • อย่าให้พาราเซตามอลกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 เดือน
  • อย่าให้ไอบูโพรเฟนกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 3 เดือน หรือน้ำหนักน้อยกว่า 5 กิโลกรัม
  • อย่าให้ไอบูโพรเฟนกับเด็กที่เป็นโรคหอบหืด
  • อย่าให้ไอบูโพรเฟนร่วมกับพาราเซตามอล เว้นแต่จะได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ
  • อย่าให้แอสไพรินกับเด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี
  • การให้ยาต่าง ๆ ควรได้รับคำแนะนำจากคุณหมอ

หากคุณพ่อคุณแม่ดูแลลูกเป็นไข้ด้วยตัวเองที่บ้านแล้ว แต่อาจจะยังมีความกังวล ควรพาลูกไปพบคุณหมอ

ควรไปพบคุณหมอเมื่อไร

เมื่อลูกเป็นไข้คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ต้องพาไปพบคุณหมอ แต่บางครั้ง ไข้ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการที่ร้ายแรง ดังนั้น อาจพาลูกไปพบคุณหมอทันที เมื่อพบอาการเหล่านี้

  • มีอุณหภูมิร่างกายเกิน 40 องศาเซลเซียสหรือมากกว่า
  • มีไข้นานกว่า 72 ชั่วโมง
  • หากลูกอายุต่ำกว่า 3 เดือน และมีอุณหภูมิ 38 องศาเซลเซียสหรือสูงกว่า อาจพาลูกไปพบคุณหมอ
  • หากลูกอายุต่ำกว่า 2 ปี และมีไข้มากกว่า 24 ชั่วโมง ก็อาจต้องพาลูกไปพบคุณหมอ
  • ลูกมีอาการซึม นิ่ง ไม่ร่าเริง หรือบางครั้งอาจหงุดหงิดง่าย ในเด็กเล็กอาจไม่ปัสสาวะ หรือเปลี่ยนผ้าอ้อมน้อยกว่า 4 ชิ้น/วัน และเด็กโตอาจไม่ปัสสาวะทุก ๆ 8-12 ชั่วโมง
  • ลูกเป็นไข้ร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น เจ็บคอมาก เจ็บหู ปวดศีรษะรุนแรง คอเคล็ด มีผื่น ตาแดง ถ่ายเหลว อาเจียน กระหม่อมโป่งตึง

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What to Do When Your Kid Has a Fever. https://www.webmd.com/children/guide/treat-fever-young-children. Accessed November 16, 2021.

High temperature (fever) in children. https://www.nhs.uk/conditions/fever-in-children/. Accessed November 16, 2021.

Fevers. https://kidshealth.org/en/parents/fever.html. Accessed November 16, 2021.

Fever in Children. https://www.stanfordchildrens.org/en/topic/default?id=fever-in-children-90-P02512. Accessed November 16, 2021.

Fever. https://raisingchildren.net.au/babies/health-daily-care/health-concerns/fever. Accessed November 16, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/05/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีน เด็ก ที่ควรได้รับ และเคล็ดลับไม่ให้ลูกงอแงตอนรับวัคซีน

ไขข้อข้องใจ รู้หรือไม่? มีไข้สูงเท่าไหร่ถึงควรไปหาหมอ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงอนงค์พร ผาภูมิ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 23/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา