backup og meta

โรคไหลตายในทารก คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 15/12/2022

    โรคไหลตายในทารก คืออะไร เกิดจากสาเหตุใด

    โรคไหลตายในทารก เป็นโรคร้ายแรงที่ทำให้ทากรกเสียชีวิตอย่างกระทันหันขณะนอนหลับ โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่อาจมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของสมองในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ รวมถึงปัจจัยเสี่ยงอย่างการให้ทารกนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรหมั่นสังเกตทารกอย่างสม่ำเสมอ ร่วมถึงควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ

    โรคไหลตายในทารก คืออะไร

    โรคไหลตายในทารก (Sudden Infant Death Syndrome หรือ SIDS) คือ การที่ทารกดูเหมือนสุขภาพแข็งแรง แต่กลับเสียชีวิตอย่างกะทันหัน โดยไม่ทราบสาเหตุของการเสียชีวิต แม้จะมีการตรวจสอบอย่างละเอียดแล้วก็ตาม โดยโรคไหลตายในทารกนั้น มักเกิดขึ้นในขณะที่ทารกนอนหลับในเปล

    แม้ว่าโรคไหลตายในทารกจะเป็นเรื่องที่พบได้ยาก แต่ก็ถือว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่พบได้บ่อยที่สุดในสหรัฐอเมริกา โดยมักจะพบในเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับทารกที่มีอายุระหว่าง 2-4 เดือน ในปี ค.ศ. 2015 จากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ มีเด็กประมาณ 1,600 คนในสหรัฐอเมริกา ที่เสียชีวิตจากโรคไหลตายในทารก

    อาการของ โรคไหลตายในทารก

    โรคไหลตายในทารกนั้นยังไม่มีอาการที่สังเกตได้อย่างชัดเจน เพราะอาการมักเกิดขึ้นอย่างกะทันหันกับทารกที่ดูเหมือนจะมีร่างกายที่แข็งแรงโดยที่คุณพ่อคุณแม่อาจไม่ทันได้คาดคิด

    สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับ โรคไหลตายในทารก

    เนื่องจากยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจนของโรคไหลตายในทารก แต่นักวิทยาศาสตร์กำลังพิจารณาถึงสาเหตุที่เป็นไปได้บางประการ ซึ่งสาเหตุที่เป็นไปได้บางประการที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบนั้น ได้แก่

    • รูปแบบของการหยุดหายใจ เช่น การหยุดหายใจขณะนอนหลับ
    • ความผิดปกติของสมองในส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการหายใจ

    แม้ว่าจะยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรคไหลตายในทารก แต่โรคไหลตายในทารกมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ซึ่งคุณสามารถหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ได้ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรตระหนักถึงปัจจัยเหล่านี้ด้วย ซึ่งปัจจัยเสี่ยงบางประการสำหรับโรคไหลตายในเด็ก ได้แก่

    • เชื้อชาติ โดยทารกแอฟริกัน อเมริกัน และชนพื้นเมืองอเมริกัน มีแนวโน้มที่จะเสียชีวิตด้วยโรคไหลตายในทารกมากกว่าเชื้อชาติอื่น ๆ
    • ประวัติครอบครัวเคยเกิดโรคไหลตายในทารก
    • เพศ ซึ่งเพศชายนั้นมีความเสี่ยงสูงกว่าเพศหญิงเล็กน้อย
    • คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ตอนอายุยังน้อย โดยตั้งครรภ์เมื่ออายุต่ำกว่า 20 ปี
    • การให้ทารกนอนคว่ำ หรือนอนตะแคงก่อนอายุ 1 ขวบ ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด
    • ความบกพร่องของสมอง ซึ่งหลายครั้งตรวจไม่พบสิ่งเหล่านี้จนกว่าจะมีการชันสูตรพลิกศพ
    • การติดเชื้อทางเดินหายใจ
    • น้ำหนักตัวน้อยเมื่อแรกเกิด
    • การคลอดก่อนกำหนด หรือการเกิดลูกแฝด (Birth of multiples)
    • ควันบุหรี่มือสอง หรือคุณแม่สูบบุหรี่ระหว่างตั้งครรภ์
    • ฤดูกาลที่เปลี่ยนไป ภาวะดังกล่าวมักพบมากในช่วงฤดูหนาว หรืออากาศเย็น แม้ว่าสถิตินั้นอาจมีการเปลี่ยนแปลง
    • ความร้อนสูงเกินไป
    • ทารกมีการนอนร่วมเตียงกับคุณพ่อคุณแม่ หรือผู้ดูแล
    • เปลที่ไม่มีความปลอดภัย หรือเปลเก่า
    • เครื่องนอนหรือที่นอนที่นุ่มเกินไป
    • เปลที่มีวัตถุนุ่ม ๆ รวมอยู่ในเปล
    • ไม่ใช่จุกนมหลอกในการนอนหลับ
    • ไม่ให้นมบุตร

    การหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ให้มากที่สุด อาจจะช่วยลดความเสี่ยงของทารกในการเป็นโรคไหลตายในทารก

    วิธีลดความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคไหลตายในทารก

    อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าโรคไหลตายในทารกนั้นเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้น จึงไม่สามารถป้องกันได้ โรคไหลตายในทารกมีปัจจัยเสี่ยงหลายประการ แม้ว่าความเสี่ยงบางอย่างจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงได้หลายอย่าง

    โดยปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุด คือ การให้ทารกอายุต่ำกว่า 1 ขวบ นอนคว่ำ หรือนอนตะแคง ซึ่งคุณสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไหลตายในทารกได้ด้วยการให้ลูกนอนหงาย ไม่ว่าจะเป็นการเข้านอนในเวลากลางคืน หรือจะงีบหลับระหว่างวันก็ตาม

    อีกขึ้นตอนหนึ่งที่อาจช่วยป้องกันโรคไหลตายในทารก คือ การให้ทารกนอนหลับโดยใช้จุกนมหลอก แม้ว่าสุดท้ายแล้วมันจะหลุดออกจากปาก แต่การใช้จุกนมหลอกไม่ควรจะมีสายห้อยรอบคอของทารก ติดกับเสื้อผ้า เครื่องนอน หรือตุ๊กตาของทารก

    หากคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงให้นมบุตร อาจจะต้องรอเวลาให้ทารกกินนมได้ง่าย ก่อนที่จะใช้จุกนมหลอก ซึ่งโดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน สำหรับวิธีอื่น ๆ ที่จะใช้ในการลดความเสียงของโรคไหลตายในทารก มีดังนี้

    • ไม่ควรสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาผิดเสพติดในระหว่างตั้งครรภ์ หรือหลังคลอด
    • ไม่ควรสูบบุหรี่ในบ้าน หรือรอบ ๆ บ้านในขณะที่ทารกอยู่ในบ้าน
    • คุณแม่ตั้งครรภ์หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์ ควรมีการฝากครรภ์เพื่อรับการดูแลก่อนคลอดในระหว่างตั้งครรภ์อย่างสม่ำเสมอ
    • ไม่ควรให้ทารกนอนร่วมเตียงกับคุณพ่อคุณแม่ เด็กหรือผู้ใหญ่คนอื่น ๆ แต่อาจให้นอนใกล้ ๆ หรือนอนในห้องเดียวกัน
    • หลีกเลี่ยงการห่อตัวให้ทารกมากเกินไป เมื่อต้องพาเข้านอน
    • ใช้ที่นอนและเปลที่ได้รับการรับรองด้านความปลอดภัย จากนั้นวางผ้าปูที่นอนทับอีกครั้ง
    • ให้นมทารกด้วยตัวเอง เพื่อช่วยลดความเสี่ยงของโรคไหลตายในทารก

    การดูแลลูกน้อยอย่างใกล้ชิดถือเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ควรพึงกระทำ อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญคือ คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรทารกผ่านกล้องวงจรปิด หรืออุปกรณ์ที่คิดว่าปลอดภัย โดยอ้างว่าอุปกรณ์เหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคไหลตายในทารก เพราะอุปกรณ์นี้อาจมีปัญหาทางด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 15/12/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา