backup og meta

คัดกรองทารกแรกเกิด มีประโยชน์ต่อทารกอย่างไร

คัดกรองทารกแรกเกิด มีประโยชน์ต่อทารกอย่างไร

คัดกรองทารกแรกเกิด เป็นการตรวจสุขภาพและความผิดปกติของร่างกาย รวมทั้งความผิดปกติทางพันธุกรรมที่อาจเกิดขึ้นตั้งแต่กำเนิด เพื่อป้องกันปัญหาการได้ยิน ความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่าง ๆ เช่น ตา หัวใจ จมูก สะโพก อัณฑะ และตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรมเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อนของทารกแรกเกิด

[embed-health-tool-vaccination-tool]

คัดกรองทารกแรกเกิด คืออะไร

คัดกรองทารกแรกเกิด คือ การตรวจคัดกรองกลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (Inborn Errors of Metabolism) ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกายบางอย่าง เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง โรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของภาวะปัญญาอ่อนในทารกแรกเกิด รวมถึงอาจก่อให้เกิดความพิการทางสติปัญญาอย่างรุนแรง หรือการเสียชีวิตของทารกแรกเกิดได้

คัดกรองทารกแรกเกิดมีความสำคัญอย่างไร

คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดภายใน 2 สัปดาห์หลังจากคลอด แต่โดยปกติทารกแรกคลอดทุกรายจะได้รับการตรวจคัดกรองกลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกตั้งแต่ภายใน 48-72 ชั่วโมงหลังคลอด เนื่องจากกลุ่มโรคดังกล่าวเสี่ยงทำให้ทารกแรกเกิดมีความพิการทางสติปัญหาและสมอง หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการวินิจฉัยและการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ

กลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิกเป็นโรคที่พบได้น้อยมาก โดยอาจพบได้เพียง 1 ใน 5,000 คนของทารกแรกเกิด จึงอาจทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายคนชะล่าใจจนส่งผลให้ทารกแรกเกิดได้รับการวินิจฉัยและการรักษาล่าช้าจนโรคพัฒนารุนแรงขึ้น ดังนั้น การพาลูกเข้ารับการตรวจคัดกรองตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จึงอาจช่วยป้องกันภาวะปัญญาอ่อนหรือการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดได้

การคัดกรองทารกแรกเกิด ทำได้อย่างไร

ปัจจุบันในประเทศไทยมีการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดเพื่อป้องกันภาวะปัญญาอ่อน 2 โรค คือ ภาวะต่อมไทรอยด์บกพร่อง และโรคฟีนิลคีโตนูเรีย ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมแต่กำเนิดที่อาจนำไปสู่กลุ่มโรคพันธุกรรมเมตาบอลิก

โดยทั่วไป การตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดมักตรวจในทารกที่มีอายุประมาณ 48-72 ชั่วโมง และต้องรับนมก่อน 4-6 มื้อ ซึ่งอาจทำได้ด้วยการเจาะเลือดบริเวณหลังมือหรือส้นเท้าของทารกแรกเกิด จากนั้นหยดเลือดลงบนกระดาษชนิดพิเศษสำหรับเก็บเลือด และนำแผ่นกระดาษไปตากจนเลือดแห้ง จึงส่งเข้าห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมต่อไป

โดยสถานพยาบาลที่ให้บริการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด อาจมีดังนี้

  • โรงพยาบาลศิริราช
  • โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
  • โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  • โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า
  • โรคพยาบาลตำรวจ
  • โรงพยาบาลวชิรพยาบาล
  • โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์
  • โรงพยาบาลกลาง
  • โรงพยาบาลตากสิน
  • โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
  • โรงพยาบาลลาดกระบัง
  • โรงพยาบาลสิรินธร
  • โรงพยาบาลเวชการุณย์รัศมิ์
  • โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์ ชุตินฺธโร อุทิศ

นอกจากนี้ ยังมีการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิดอื่น ๆ อีก ดังนี้

ตรวจร่างกายทารกแรกเกิด

เป็นการตรวจร่างกายอย่างละเอียดภายใน 72 ชั่วโมงหลังคลอด โดยคุณหมอจะตรวจตา หัวใจ จมูก สะโพก และอัณฑะ เพื่อหาความผิดปกติ และจะทำการตรวจอีกครั้งเมื่ออายุ 6-8 สัปดาห์ เนื่องจากความผิดปกติบางอย่างอาจต้องใช้เวลาระยะหนึ่งจึงจะแสดงอาการ

ตรวจการได้ยินของทารกแรกเกิด

เป็นการตรวจที่มักทำทันทีหลังทารกคลอด หรือหากทารกไม่ได้รับการตรวจคุณพ่อคุณแม่ควรพาทารกเข้ารับการตรวจภายใน 2-3 สัปดาห์ เพื่อตรวจหาความผิดปกติของการได้ยิน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

แผ่นพับโครงการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด. https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/pediatrics/pdf/service/leftlet/MedicalGenetics/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94.pdf. Accessed January 4, 2023

โครงการตรวจคัดกรองทารกแรกเกิด. https://www.si.mahidol.ac.th/th/department/pediatrics/pdf/service/leftlet/MedicalGenetics/Poster%20NBS_Update%2023-06-2563.pdf. Accessed January 4, 2023

Newborn Screening. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2874432/. Accessed January 4, 2023

Newborn screening. https://www.nhs.uk/conditions/baby/newborn-screening/overview/. Accessed January 4, 2023

Newborn Screening Tests. https://kidshealth.org/en/parents/newborn-screening-tests.html. Accessed January 4, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/03/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาการหายใจในทารกคลอดก่อนกำหนด รู้ก่อน เพื่อสุขภาพทารก

ตรวจสอบสุขภาพทารกในครรภ์ขณะมดลูกหดรัดตัว (Contraction Stress Test)


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 02/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา