backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 38 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 38 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 38 หรือเด็ก 9 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจสามารถเริ่มลุกขึ้นยืนได้ด้วยตัวเอง สามารถคลานและเดินได้เล็กน้อยโดยจับสิ่งของเพื่อช่วยพยุง อีกทั้งยังอาจเริ่มมีพฤติกรรมเลียนแบบคนรอบข้าง คุณพ่อคุณแม่ควรระมัดระวังและเก็บสิ่งของที่อาจเป็นอันตราย เช่น มีด ยา ของมีคม ของชิ้นเล็ก ๆ ให้พ้นมือลูก เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกกลืนหรือเกิดอุบัติเหตุ

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโต พฤติกรรมและ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 38

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

พัฒนาการในสัปดาห์ที่ 38 ของลูกน้อย ที่พบได้ทั่วไป อาจมีดังนี้

  • ยันตัวขึ้นยืนจากท่านั่งได้
  • ไถตัวหรือคลาน
  • ลุกขึ้นนั่งโดยใช้หน้าท้อง
  • ทักท้วงเมื่อพยายามนำของเล่นออกจากมือหรือปาก
  • ยืนได้ด้วยการจับคนหรือสิ่งของ
  • ใช้นิ้วหยิบของชิ้นเล็ก ๆ ได้ คุณพ่อคุณแม่จึงควรเก็บของอันตรายให้พ้นมือลูก
  • พูด “มาม๊า” หรือ “ปะป๊า” ซ้ำไปมา
  • เล่นเกมจ๊ะเอ๋
  • จำข้อมูลเฉพาะเจาะจงได้มากขึ้น เช่น ของเล่นของตัวเอง รู้ว่าตัเวองอยู่ตรงส่วนไหนของบ้าน
  • เลียนแบบการกระทำที่เคยเห็น

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

ตอนนี้ลูกน้อยสามารถนำของใส่ในกล่องและเอาออกมาจากกล่องได้ ดังนั้นควรมีถังพลาสติก และตัวต่อหลากสีไว้ให้ลูกได้หยิบจับและฝึกฝนทักษะ โดยต้องดูให้แน่ใจว่า ของเล่นมีขนาดพอดี ไม่เล็กเกินไปจนลูกอาจกลืนเข้าปากไปได้ นอกจากนี้ ลูกยังอาจชอบหรือสนใจสิ่งของต่าง ๆ ที่เคลื่อนไหวไปมา เช่น ลูกบิด คันโยก ประตูที่เปิดและปิด มากเป็นพิเศษด้วย

หากหยิบของเล่นไปจากลูก ลูกมักจะทักท้วงหรือแสดงท่าทีไม่พอใจ และเริ่มแสดงออกถึงสิ่งที่ต้องการ คุณพ่อคุณแม่อาจหยิบของเล่นชิ้นใหม่ให้ลูกก่อนหยิบของเล่นชิ้นเก่าออกจากมือหรือปากของลูก

เด็กอายุ 38 สัปดาห์จะเริ่มเล่นเกมส่งบอลได้ คุณพ่อคุณแม่อาจลองกลิ้งลูกบอลไปให้แล้วดูว่าลูกจะกลิ้งลูกบอกคืนมาไหม และอาจให้ลูกเล่นของเล่นที่ช่วยในพัฒนาการ เช่น ของเล่นที่แยกประเภทสิ่งของ การโยนหวงสี ๆ ลงเสา นอกจากนี้ ลูกอายุ 38 สัปดาห์ยังชอบแบ่งปันอาหาร ดังนั้น เมื่อลูกยื่นอาหารหรือสิ่งของให้ คุณพ่อคุณแม่ก็ควรรับของจากลูกด้วย

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

คุณหมออาจตรวจสุขภาพของเด็กอายุ 38 สัปดาห์ ด้วยวิธีต่อไปนี้

  • การตรวจร่างกายทั่วไป และติดตามภาวะสุขภาพ (ถ้ามี)
  • การประเมินพัฒนาการ เช่น การนั่งด้วยตัวเอง การลุกขึ้นโดยมีคนช่วยและไม่มีคนช่วย การเอื้อมหยิบของ การเสาะหาและหยิบของชิ้นเล็ก การมองหาของที่หล่นหรือถูกนำไปซ่อน การตอบสนองต่อการเรียกลูก การจดจำคำง่าย ๆ อย่างคำว่า “คุณแม่” “คุณพ่อ” “ลาก่อน” “ไม่” รวมถึงความเพลิดเพลินกับเกมที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ เช่น เกมตบแปะ เกมจ๊ะเอ๋

สิ่งที่ควรรู้

การหย่านมด้วยตัวเอง

ลูกอาจจะไม่สนใจหรือถูกเบี่ยงเบนความสนใจได้ง่ายในขณะป้อนนม  จนอาจดูดนมคุณแม่ได้ครั้งละแค่ไม่กี่วินาที ซึ่งถือเป็นพฤติกรรมที่พบได้ทั่วไปของเด็กอายุ 38 สัปดาห์

อีกทั้ง ลูกวัย 38 สัปดาห์หรือประมาณ 9 เดือนจะหย่านมเองตามธรรมชาติ ซึ่งคุณแม่อาจช่วยกระตุ้นให้ลูกหย่านมได้ไวขึ้นโดยการให้ลูกกินนมแม่จากขวด การกินนมผง หรืออาหารแข็ง

หรือคุณแม่อาจลดจำนวนการให้ลูกกินนมจากเต้าลงทีละนิด ให้เหลือเพียงหนึ่งครั้ง/วัน อาจเริ่มต้นด้วยการเลิกป้อนนมในช่วงเวลากลางวัน จากนั้นก็ค่อยเลิกป้อนนมช่วงเช้าตรู่ก็ได้

การดึงหรือยกลูกขึ้นยืนตอนลูกยังไม่พร้อม

ถ้าขาของลูกน้อยยังไม่พร้อมจะยืน คุณพ่อคุณแม่ก็ไม่ควรไปดึงลูกขึ้นมาตามอำเภอใจ เพราะอาจทำให้ลูกยืนในท่าที่ไม่คุ้น และล้มได้ และหากคุณพ่อคุณแม่เห็นว่าลูกเริ่มเซหรือกำลังจะล้ม ควรรีบช่วยจับให้ลูกนั่งลงเบา ๆ ทำช้า ๆ เพื่อให้ลูกได้เรียนรู้วิธีนั่งและยืนที่ถูกต้อง

สิ่งที่ต้องเป็นกังวล

ลูกเลือกกิน

เทคนิคที่อาจช่วยให้ลูกกินอาหารได้มากขึ้น หากลูกเลือกกินหรือกินยาก

  • ให้ลูกน้อยกินขนมปัง ซีเรียล กล้วย หรืออาหารอะไรก็ตามที่ลูกชอบบ้าง
  • ค่อย ๆ ให้ลูกลองกินอาหารชนิดใหม่ ๆ แต่ไม่ควรบังคับหรือยัดเยียด หากลูกไมยอมกินอาหารชนิดใหม่ ควรรอสักพักจึงค่อยให้ลูกลองอาหารชนิดนั้นอีกครั้ง
  • ให้ลูกกินอาหารบดน้อยลง เพราะลูกอาจจะเบื่ออาหารบด และพร้อมจะกินอาหารแบบผู้ใหญ่แล้ว อาจลองเปลี่ยนมาให้ลูกกินอาหารเนื้อนิ่มที่หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ ลูกสามารถหยิบเข้าปากได้ง่าย หรือที่เรียกว่า ฟิงเกอร์ฟูด (Finger Food) นอกจากอาจช่วยให้ลูกกินอาหารได้มากขึ้นแล้ว ยังช่วยฝึกกล้ามเนื้อ การทำงานประสานกันระหว่างมือและตา และประสาทสัมผัสให้ลูกได้ด้วย
  • ทำอาหารให้หลากหลาย อาจช่วยให้ลูกอยากอาหารมากขึ้น
  • เปลี่ยนสถานการณ์บ้าง หากลูกไม่ยอมให้ป้อนข้าว อาจให้ลูกหยิบอาหารกินเอง
  • ลดปริมาณการกินของว่างของลูกให้เหลือแค่ตอนเช้า 1 ครั้งและตอนบ่าย 1 ครั้ง
  • ยิ้มอยู่เสมอ การขมวดคิ้วและทำหน้าไม่พอใจในขณะป้อนอาหารให้ลูก อาจทำให้ลูกยิ่งไม่ยอมกินอาหาร คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรดุ ด่า หรือขึ้นเสียงเมื่อลูกหันหน้าหนีอาหาร แต่ควรสร้างบรรยากาศสบาย ๆ เพื่อช่วยให้ลูกรู้สึกอยากกินอาหารมากขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Your baby’s developmental milestones at 9 months. https://www.unicef.org/parenting/child-development/your-babys-developmental-milestones-9-months#:~:text=Brain%20development%20milestones%20at%209%20months&text=Likes%20to%20play%20peek-a,her%20thumb%20and%20index%20finger.. Accessed 30, 2022

9-Month-Old Baby. https://www.whattoexpect.com/first-year/month-by-month/month-9.aspx. Accessed 30, 2022

Important Milestones: Your Baby By Nine Months. https://www.cdc.gov/ncbddd/actearly/milestones/milestones-9mo.html. Accessed 30, 2022

9-10 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/9-10-months. Accessed 30, 2022

Baby Development: Your 9-Month-Old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-9-month-old. Accessed 30, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/05/2023

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่ควรรู้

เด็กออกกำลังกาย ได้ประโยชน์สุขภาพอย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 01/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา