backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 ของลูกน้อย

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 หรือประมาณ 3 เป็นช่วงที่ลูกน้อยอาจชื่นชอบในการสัมผัสตัว เช่น การกอด การจับ ซึ่งอาจช่วยเพิ่มความผูกพันและช่วยปลอบโยนลูกได้ รวมไปถึงการสัมผัสกับสิ่งของต่าง ๆ รอบตัวเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งของนั้น ๆ ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ทดลองสัมผัสกับสิ่งต่าง ๆ รอบตัว และควรให้ลูกได้รับวัคซีนที่ครบถ้วน เพื่อช่วยเสริมสร้างพัฒนาการและภูมิคุ้มกันของลูก

[embed-health-tool-vaccination-tool]

การเจริญเติบโตและพฤติกรรม

ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

ในช่วงนี้ลูกจะชอบสัมผัส ซึ่งจริง  ๆ แล้ว การสื่อสารด้วยการสัมผัสนั้นมีบทบาทสำคัญมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็ก การสัมผัสเนื้อตัวไม่เพียงแต่จะช่วยให้และลูกน้อยผูกพันกับคนในครอบครัวเท่านั้น แต่ยังเป็นการปลอบโยนเวลาที่ลูกน้อยรู้สึกหงุดหงิด หรือรำคาญใจด้วย ลูกอาจโบกไม้โบกมือและถีบขา เวลาที่สะโพกและขามีความยืดหยุ่นขึ้น ลูกน้อยก็จะสามารถถีบได้แรงขึ้น

ในช่วงสัปดาห์ที่ 14 นี้ ลูกน้อยอาจจะมีพัฒนาการต่าง ๆ ดังนี้

  • หัวเราะเสียงดัง
  • ชันคอตั้งได้ถึง 90 องศา ในขณะที่นอนราบ
  • กรีดร้องเวลาที่รู้สึกตื่นเต้น
  • ประสานมือทั้งสองข้างเข้าด้วยกัน
  • หัวเราะได้บ่อย ๆ
  • มองตามวัตถุที่อยู่ในระยะ 15 เซนติเมตร และสามารถหันได้ 180 องศา จากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง

ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 ควรช่วยให้ลูกมีพัฒนาการมากขึ้น โดยปล่อยให้เขาสัมผัสกับวัตถุต่าง ๆ หลากหลายชนิด อย่างเช่น ผ้าขนสัตว์ ผ้าสักหลาด และผ้าฝ้าย เด็กในช่วงวัยนี้มักจะจับทุกสิ่งทุกอย่างเข้าปาก ฉะนั้นจึงต้องเลือกอย่างระมัดระวัง และอย่าปล่อยลูกไว้ตามลำพัง เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกน้อยหยิบสิ่งของต่าง ๆ เข้าปาก

ควรช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสายตาของลูกน้อย ให้ทำงานสอดประสานกับมือ ด้วยการถือของเล่นเอาไว้ แล้วดูซิว่าลูกเอื้อมมือมาจับหรือเปล่า และอาจสัมผัสลูกน้อยด้วยการเป่าลมใส่หน้าเบา ๆ หรือนวดเนื้อนวดตัว รวมถึงอุ้มลูกไว้ทางด้านข้าง หรือจูบลูกน้อยในบริเวณจมูก วิธีนี้จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกผ่อนคลาย และรู้สึกตื่นตัวมีสมาธิมากขึ้นด้วย

อย่าลืมสังเกตปฏิกิริยาของลูกอยู่เสมอ หากเขาไม่แสดงความสนใจเวลาที่ได้รับการนวดตัว ควรนวดให้เบาลงหรือหนักขึ้น หรืออาจหยุดนวดไปเลย เด็กจำนวนมากต้องการเพียงการลูบไล้เบา ๆ เท่านั้นเอง

สุขภาพและความปลอดภัย

ส่วนใหญ่แล้ว ในช่วง พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 คุณหมอจะไม่นัดหรือตรวจสุขภาพให้ลูกน้อยในช่วงเดือนนี้ แต่อาจปรึกษาคุณหมอได้หากมีข้อสงสัยใด ๆ ที่ไม่สามารถรอให้ถึงนัดในครั้งต่อไปได้

การได้ภูมิคุ้มกันไม่ครบ

ถ้าลูกขาดวัคซีนไปหนึ่งเข็ม เช่น วัคซีนบาดทะยัก ไอกรน โปลิโอ ไม่ควรกังวลมากนัก เพราะคุณหมอจะฉีดวัคซีนเพิ่มให้ได้ อย่างไรก็ตาม ควรปรึกษาคุณหมอ หากลูกน้อยมีอาการดังต่อไปนี้

  • มีไข้สูง หรือมีอาการของโรคใดๆ
  • ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ระบบภูมิคุ้มกันของลูกน้อยอ่อนแอ หรือลูกกำลังกินยาที่กดภูมิคุ้มกันอยู่
  • มีอาการชัก
  • กินยาสเตียรอยด์เกินขนาดในช่วงสองสัปดาห์นี้
  • เกิดปฏิกิริยารุนแรงจากการฉีดวัคซีนครั้งก่อน อย่างเช่น มีไข้สูงกว่า 40 องศา มีอาการชัก การร้องไห้ หรือหมดสติ

เด็กที่คลอดก่อนกำหนดและเด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2.5 กิโลกรัม ควรได้รับวัคซีนตามกำหนดเหมือนทารกทั่วไป ยกเว้นหมอจะแนะนำเป็นอย่างอื่น

นมเสริมวิตามินสำหรับลูกน้อย

นมวัวเป็นเครื่องดื่มที่ดีต่อเด็กและผู้สูงอายุ แต่จริง ๆ แล้วถือว่าไม่มีสารอาหารที่จำเป็นสำหรับเด็กทารก เพราะมักจะมีโซเดียมและโปรตีน ที่อาจไม่ดีต่อไตของเด็กทารก

นอกจากนี้ นมวัวยังขาดธาตุเหล็กและสารประกอบอื่น ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับนมคุณแม่หรือนมผง  ยัและอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกในลำไส้ ในเด็กบางคนได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ถ้าวางแผนที่จะให้ลูกน้อยกินอาหารเสริม ร่วมกับนมชนิดอื่น ที่ไม่ใช่นมคุณแม่หรือนมผงตามที่คุณหมอแนะนำ ควรรอให้ลูกน้อยมีอายุครบหนึ่งขวบก่อน

ลูกอุจจาระน้อยลง

ทารกที่กินนมคุณแม่แล้ว และเริ่มถ่ายน้อยลงในช่วงวัย 1-3 เดือนนั้นถือเป็นเรื่องปกติ เหตุผลก็คือเมื่อลูกน้อยตัวโตขึ้น ก็จะกินอาหารมากขึ้น กระเพาะย่อยจะสิ่งที่บริโภคเข้าสู่ร่างกายแต่จะขับถ่ายออกมาน้อยลง

เด็กที่กินนมแม่อาจมีอุจจาระมากกว่าปกติ ซึ่งถือเป็นเรื่องกติ เพราะเด็กที่กินนมแม่จะไม่ค่อยมีอาการท้องผูก นอกจากนี้ การจะดูว่าเด็กมีอาการท้องผูกหรือเปล่านั้น ควรสังเกตว่าอุจจาระแข็งหรือเปล่า และต้องเบ่งนานแค่ไหนจึงจะมีขับถ่ายอุจจาระออกมาได้

สิ่งที่ต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14

การพาลูกเข้านอน

คุณแม่หลายควรพยายามไม่ให้ลูกหลับเวลาป้อนนม หรือพยายามปลุกลูกเวลาที่เขาดูดนมแล้วผลอยหลับไป เพราะจริง ๆ แล้ว ควรพาลูกเข้านอนในขณะที่เขาตื่น หรือหลังจากกินนมเสร็จ ซึ่งจะทำให้เขาสามารถนอนหลับได้ โดยไม่ต้องมีคนกล่อมหรือต้องดูดนมจากขวด เมื่อลูกน้อยเคยชินแล้วก็จะหลับได้อย่างรวดเร็วหลังกินนมเสร็จ นอกจากนี้ อาจวางลูกน้อยลง ลูบไล้เนื้อตัว หรือร้องเพลงกล่อมสักระยะ ก็จะช่วยให้ลูกน้อยรู้สึกง่วงเหงาหาวนอนได้ง่ายขึ้น

การอยู่ห้องเดียวกันกับลูก

ในช่วงเดือนแรกหรือเดือนที่สองนั้น คุณพ่อคุณแม่มักวุ่นวายกับการดูแลลูกอยู่ตลอดเวลา ต้องป้อนนม เปลี่ยนผ้าอ้อม และกอดลูกน้อย คุณพ่อคุณแม่บางคนอาจให้ลูกนอนห้องเดียวกันเพื่อที่ะจะได้ดูแลลูกได้อย่างสะดวกสบาย แต่การอยู่ห้องเดียวกับลูก อาจจะทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้ตามมาได้

  • ลูกน้อยหลับน้อยลงกว่าเมื่อก่อน การอยู่ห้องเดียวกับเด็กตลอดทั้งคืนนั้น จะทำให้ต้องอุ้มลูกบ่อย ๆ เพื่อปลอบโยนเวลาที่เขางอแง ซึ่งจะรบกวนการนอนของลูกได้ ยิ่งไปกว่านั้นก็คือลูกมักจะส่งเสียงดังขณะนอนหลับ เด็กส่วนใหญ่จะหลับต่อได้อย่างง่ายดายใน 2-3 นาทีโดยไม่ต้องกล่อม ฉะนั้นถ้าอุ้มลูกทันทีที่ได้ยินลูกร้อง ก็อาจเป็นการรบกวนการนอนหลับของลูกได้
  • คุณพ่อคุณแม่ก็นอนไม่พอตามไปด้วย การที่มักจะต้องอุ้มลูกบ่อยขึ้นในตอนกลางคืน เพื่อกล่อมให้ลูกน้อยหลับในห้องเดียวกันนั้น ก็จะทำให้คุณแม่คุณแม่อดนอนตามไปด้วย
  • มีเพศสัมพันธ์ได้น้อยลง อาจลดทอนความรู้สึกโรแมนติกเมื่อมีลูกน้อยนอนอยู่ด้วย ควรให้เวลากับสามีภรรยาของตนเองด้วย โดยอาจติดตั้งมอนิเตอร์รับฟังเสียงลูกร้องแทน

การอยู่ห้องเดียวกับลูกเป็นเวลานาน ๆ ใมช่วงพัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 14 จะทำให้ลูกนอนหลับได้ยากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับเวลาที่ปล่อยให้ลูกน้อยนอนตามลำพัง

นอกจากนั้น ถ้าลูกน้อยต้องใช้ห้องร่วมกับพี่น้องคนอื่น ๆ การจัดระเบียบเรื่องการนอนก็ขึ้นอยู่กับนิสัยการนอนของลูกน้อยแต่ละคน ถ้าหนึ่งในนั้นมักจะตื่นขึ้นกลางดึก ก็จะทำให้ลูกคนอื่น ๆ ตื่นด้วย วิธีที่ดีที่สุดคือ ควรแยกห้องนอน เพื่อที่จะได้ไม่มีเสียงรบกวนกัน และทำให้ลูกทุกคนมีพื้นที่ส่วนตัวด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Baby Development: Your 4-Month-Old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-4-month-old#1. Accessed November 11, 2022.

Baby Development: Your 3-month-old. https://www.webmd.com/parenting/baby/baby-development-3-months. Accessed November 11, 2022.

Your baby’s growth and development – 3 months old. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/babys-growth-and-development-3-months-old. Accessed November 11, 2022.

3-4 months: baby development. https://raisingchildren.net.au/babies/development/development-tracker-3-12-months/3-4-months. Accessed November 11, 2022.

2-3 months: newborn development. https://raisingchildren.net.au/newborns/development/development-tracker/2-3-months. Accessed November 11, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/11/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

เด็ก1ขวบ มีพัฒนาการสำคัญอะไรบ้างที่ควรรู้

การนวดทารก กับประโยชน์ต่อสุขภาพทารกที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 11/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา