backup og meta

อาหารเพิ่มน้ำนม เมนูอร่อย เพิ่มน้ำนมแม่

อาหารเพิ่มน้ำนม เมนูอร่อย เพิ่มน้ำนมแม่ 

หลังคลอดร่างกายของแม่ต้องการสารอาหารช่วยฟื้นฟูสุขภาพ รวมถึงการผลิตน้ำนมให้มีอย่างเพียงพอ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ ช่วยสร้างน้ำนมคุณภาพที่ดีต่อการเจริญเติบโตของทารก แต่บางครั้งคุณแม่อาจมีน้ำนมไม่เพียงพอ การเลือกเมนูที่เหมาะสมด้วย อาหารเพิ่มน้ำนม จึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่จะช่วยดูแลสุขภาพคุณแม่ให้แข็งแรงและมีน้ำนมให้ลูกน้อยดื่มกิน

[embed-health-tool-vaccination-tool]

โภชนาการที่เหมาะสมสำหรับแม่ให้นม

ในระยะให้นมบุตร เป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทารกจะได้รับสารอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต การเลือกรับประทานอาหารของแม่จึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสารอาหารนั้นต้องเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพื่อฟื้นฟูสุขภาพและเสริมสร้างร่างกายของแม่ให้สมบูรณ์ รวมถึงให้แม่มีพลังงานอย่างเพียงพอใช้ในการผลิตน้ำนม และสร้างน้ำนมแม่ในปริมาณที่มากพอต่อความต้องการของทารก โดยแบ่งได้ ดังนี้ 

  • พลังงาน : แม่ให้นมควรได้รับพลังงานจากโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ได้แก่ เนื้อสัตว์ ไข่ น้ำนม ข้าวหรือแป้งชนิดอื่น ๆ
  • โปรตีน : ระยะให้นมบุตร โปรตีนจะช่วยในการสร้างน้ำนม ซ่อมแซมเซลล์และฟื้นฟูร่างกายแม่หลังคลอด ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กมาเสริมด้วย เช่น เครื่องในสัตว์ ไข่ ผัก ใบเขียว ถั่ว ผลไม้ โดยเฉพาะผลไม้ที่มีวิตามินซีช่วยให้เหล็กดูดซึมได้ดี
  • แคลเซียม : สารอาหารที่สำคัญในการเสริมสร้างน้ำนมแม่ ให้ทารกนำไปสร้างกระดูกและฟันที่แข็งแรง เช่น นม ผลิตภัณฑ์จากนม และปลาเล็กปลาน้อย   
  • วิตามินเอ : ช่วยในการสร้างน้ำนม เช่น ไข่แดง ผักใบเขียวและผักสีเหลือง ผลไม้ที่มีสีเหลืองหรือสีส้ม ได้แก่ มะม่วงสุก  มะละกอสุก
  • วิตามินซี : ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาว และมะขามป้อม หรือผักสด เช่น กะหล่ำปลี และมะเขือเทศ 
  • วิตามินโฟเลท : อาหารที่มีสารโฟเลซินสูง เช่น ตับ ผักใบเขียวสด หน่อไม้ ฝรั่ง บร็อคโครี และมันเทศ 
  • วิตามินบี 1 : ช่วยป้องกันโรคเหน็บชา เช่น ข้าวซ้อมมือ หมู เนื้อแดง ธัญพืชและถั่วเมล็ดแห้ง   
  • วิตามินบี 2 : ส่วนประกอบที่สำคัญของน้ำนมแม่ อาหารที่มีวิตามินนี้ เช่น นมและเนย เครื่องในสัตว์ ไข่ ผักใบเขียว และถั่วเมล็ดแห้ง 
  • วิตามินบี 12 : ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง อาหารที่มีวิตามินนี้ เช่น นมสด ไข่ เครื่องในสัตว์ และปลา  

อาหารเพิ่มน้ำนม 

ในระยะให้นมลูกที่แม่ต้องการอาหารเพิ่มน้ำนม ควรเลือกบริโภคผักที่ช่วยให้น้ำนมของแม่เพิ่มขึ้น ได้แก่

  1. หัวปลี ที่มีแคลเซียมสูง มีโปรตีน ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส วิตามินซี บีตาแคโรทีน สามารถนำมาทำอาหารเพิ่มน้ำนม เช่น นำมาทำยำหัวปลี และลวกหัวปลีจิ้มน้ำพริกได้
  2. ใบกระเพรา อุดมไปด้วยธาตุเหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัส และมีเส้นใยอาหารสูง ช่วยทำให้แม่มีน้ำนมมากขึ้นได้ สามารถนำมาทำอาหารเพิ่มน้ำนม เช่น ผัดกะเพรา แกงป่าหรือผัดเผ็ด
  3. กุยช่าย พบสารอาหารที่ดีมากมาย เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก คาร์โบไฮเดรต เบตาแคโรทีน และวิตามินซี ทำให้น้ำนมไหลได้ดี สามารถนำมาทำอาหารเพิ่มน้ำนม เช่น ผัดกุยช่าย 
  4. ขิง สมุนไพรที่มีโปรตีน ไขมัน แคลเซียม วิตามินเอ วิตามินบี 1 วิตามินบี 2 และคาร์โบไฮเดรต ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด น้ำนมไหลได้ดี สามารถนำมาทำอาหารเพิ่มน้ำนม เช่น ไก่ผัดขิง โจ๊กใส่ขิง ทำขนมหวานอย่างบัวลอยน้ำขิง หรือดื่มเป็นน้ำขิงอุ่น ๆ ได้ด้วย

สำหรับเมนูอาหารเพิ่มน้ำนมที่แนะนำสำหรับแม่ให้นม คือ แกงเลียง มีส่วนประกอบของสมุนไพร ประกอบด้วย พริกไทยที่ช่วยย่อยอาหารและขับลม หอมแดงแก้ปวดท้องและบรรเทาหวัดคัดจมูก กระชายช่วยเรื่องท้องอืดท้องเฟ้อ ตําลึงที่มีวิตามินเอสูง และยังมีผักสำคัญที่ช่วยในการบำรุงน้ำนม ช่วยให้น้ำนมไหลดี ได้แก่ บวบ ฟักทอง ข้าวโพดอ่อน ใบแมงลัก และหัวปลี

พืชผักสมุนไพรอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มน้ำนม ได้แก่ 

  • ใบโหระพา 
  • เมล็ดขนุนต้ม 
  • พริกไทย 
  • ขิง 
  • ฟักทอง 
  • มะรุม 
  • ใบแมงลัก 
  • ตำลึง 
  • มะละกอ 
  • ฟักทอง 
  • พุทรา 

นอกจากอาหารเพิ่มน้ำนมแล้ว แม่ให้นมควรดื่มน้ำเปล่าวันละ 8-10 แก้ว จะช่วยในการหลั่งน้ำนมให้ดีขึ้น ประกอบกับการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อให้น้ำนมแม่มีอย่างเพียงพอสำหรับทารก

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

https://www.ttmed.psu.ac.th/th/blog/148 

https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/infographic/%E0%B9%82%E0%B8%A0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%88/ 

https://www.si.mahidol.ac.th/Th/healthdetail.asp?aid=1284 

https://www.ttmed.psu.ac.th/th/blog/148 

https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/dtam-news/dn/7453-dn0045.html

เวอร์ชันปัจจุบัน

05/04/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

นมแม่เก็บได้กี่ชั่วโมง และวิธีเก็บรักษานมแม่ที่ควรรู้

นมแม่อยู่ได้กี่ชั่วโมง ควรเก็บรักษาอย่างไรให้ถูกวิธี


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 05/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา