backup og meta

นมผง เด็ก 1 ขวบ และอาหารเสริมที่ควรกิน

นมผง เด็ก 1 ขวบ และอาหารเสริมที่ควรกิน

โดยทั่วไป เด็กที่อายุ 1 ขวบขึ้นไปสามารถกินอาหารแข็งหรือนมชนิดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่นมแม่ และนมผงได้แล้ว จึงสามารถหย่านมได้ อย่างไรก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มให้เด็กปรับมากินอาหารอื่น ๆ และดื่มนมวัวหรือนมชนิดอื่นแทน คุณพ่อคุณแม่อาจต้องใช้นมวัวหรืนมชนิดอื่นเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร เพื่อให้ระบบย่อยอาหารของเด็กปรับตัว แต่สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ยังต้องการให้ลูกกินนมผง ควรเลือกนมที่ระบุว่าเป็น นมผง เด็ก 1 ขวบ หรือเลือกนมผงที่มีสารอาหารที่ช่วยส่งเสริมพัฒนาการและระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อส่งเสริมพัฒนาการและสุขภาพของเด็กให้แข็งแรง

[embed-health-tool-bmi]

นมผง เด็ก 1 ขวบ มีประโยชน์อย่างไร

โดยทั่วไปเด็กอายุ 1 ขวบ สามารถกินอาหารแข็งได้มากขึ้น และกำลังอยู่ในช่วงหย่านมแม่และนมผง เพราะเด็กสามารถดื่มนมวัว นมถั่วเหลือง หรืออาหารอื่น ๆ ได้แล้ว นมผงจึงอาจไม่จำเป็นสำหรับเด็กที่อายุ 1 ขวบขึ้นไปมากนัก

อย่างไรก็ตาม สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการให้ลูกดื่มนมผงอยู่ อาจเลือกนมผงสำหรับเด็ก 1 ขวบที่เสริมสารอาหารเหล่านี้

  • กรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อนสายยาว (Long Chain Polyunsaturated Fatty Acids หรือ LCPs) ซึ่งมีประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองและระบบประสาท โดยเฉพาะเด็กที่คลอดก่อนกำหนดหรือไม่ได้กินนมแม่
  • เบต้าแคโรทีน เป็นแหล่งของวิตามินเอและสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็ก
  • พรีไบโอติก (Prebiotics) และโปรไบโอติก (Probiotics) ช่วยเสริมแบคทีเรียที่ดีต่อสุขภาพในลำไส้ของเด็ก อาจช่วยป้องกันโรคอุจารระร่วง ผื่นผ้าอ้อม รวมทั้งโรคกระเพาะและลำไส้อักเสบ
อย่างไรก็ตาม แนะนำว่าควรลดปริมาณนมผงให้เหลือประมาณ 400 มิลลิลิตร/วัน และเสริมอาหารแข็งหรือนมทางเลือกให้เด็ก เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง เพื่อให้เด็กปรับการกินอาหารและรับสารอาหารจากแหล่งอื่น ๆ เพิ่มขึ้น
สำหรับเด็กที่เพิ่งเริ่มกินนมวัวหรือนมอื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่ควรใช้นมเป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหาร ไม่ควรให้เป็นเครื่องดื่มหลักทดแทนนมแม่หรือนมผงทันที เพราะอาจทำให้เด็กท้องเสียเนื่องจากร่างกายยังไม่ชินกับอาหารใหม่และนมวัวหรือนมชนิดอื่น

อาหารเสริมที่ควรกินเพื่อเสริมสารอาหารให้กับร่างกาย

คุณพ่อคุณแม่สามารถให้ลูกกินอาหารแข็งได้เกือบทุกชนิด เพื่อเสริมสารอาหารที่ดีให้กับร่างกายของเด็ก ดังนี้

  • อาหารประเภทโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดหนังและมัน เนื้อปลา ไข่ เต้าหู้ ถั่ว
  • อาหารประเภทแป้ง เช่น ข้าวต้ม ข้าวโอ๊ต ขนมปังมันฝรั่ง มันเทศ ข้าวโพด
  • ผักและผลไม้ เช่น มะละกอ กล้วย สตรอว์เบอร์รี่ แอปเปิ้ล มะม่วงสุก ลูกพลัม ลูกพีช กีวี่ ส้ม
  • ผลิตภัณฑ์จากนมที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ เช่น นมวัว นมแพะ โยเกิร์ต ชีส

อาหารที่เด็ก 1 ขวบควรหลีกเลี่ยง

เด็ก 1 ขวบควรหลีกเลี่ยงการกินอาหารบางชนิด ดังนี้

  • อาหารที่มีการเติมน้ำตาลหรือสารให้ความหวานทดแทน เช่น ลูกอม น้ำอัดลม เค้ก คุกกี้
  • อาหารโซเดียมสูง เช่น ขนมกรุบกรอบ อาหารสำเร็จรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป
  • อาหารที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์และไม่ผ่านการปรุงสุก เช่น น้ำผลไม้ นม โยเกิร์ต
  • อาหารที่อาจเสี่ยงทำให้เกิดการสำลัก เช่น ถั่ว แครอทดิบ องุ่น ป๊อปคอร์น
  • อาหารที่อาจเสี่ยงต่อการแพ้ เช่น ถั่ว อาหารทะเล

คุณพ่อคุณแม่ควรควบคุมดูแลในขณะที่เด็กกินอาหาร เพื่อป้องกันเด็กหยิบสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเข้าปาก หรือเกิดอาการสำลักในขณะกินอาหาร

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Infant formula and bottle-feeding. https://raisingchildren.net.au/newborns/breastfeeding-bottle-feeding/bottle-feeding/infant-formula. Accessed March 22, 2023

Milk Recommendations for Infants & Toddlers. https://www.srnutrition.co.uk/2019/08/milk-recommendations-for-infants-toddlers/. Accessed March 22, 2023

Formula Feeding FAQs: Starting Solids and Milk. https://kidshealth.org/en/parents/formulafeed-solids.html. Accessed March 22, 2023

Infant formula: 7 steps to prepare it safely. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/infant-formula/art-20045791. Accessed March 22, 2023

Early Nutrition: How to Introduce Full Cream Milk to Your Toddler. https://www.healthhub.sg/live-healthy/1959/Early-Nutrition-Baby-Switching-Cows-Milk. Accessed March 22, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

08/05/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

นมผงเด็กแรกเกิด เลือกอย่างไร และนมแบบไหนที่ควรหลีกเลี่ยง

นมสด และ นมผง แบบไหนมีประโยชน์กว่ากัน


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 08/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา