backup og meta

เมนู ลูก รัก วัย 9 -10 เดือน ควรเป็นอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 02/03/2023

    เมนู ลูก รัก วัย 9 -10 เดือน ควรเป็นอย่างไร

    ลูกวัย 9-10 เดือน เป็นวัยที่สามารถรับประทานอาหารแข็งและเริ่มเรียนรู้การใช้มือในการรับประทานอาหารด้วยตัวเอง ดังนั้น เมนู ลูก รัก วัย 9 -10 เดือน จึงควรอุดมไปด้วยสารอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนทั้งเนื้อสัตว์ คาร์โบไฮเดรต ผักและผลไม้ นอกจากนี้ ควรผ่านการปรุงสุก สับเป็นชิ้นพอหยาบ และไม่ผ่านการปรุงรส เพื่อให้รับประทานง่ายและไม่ส่งผลเสียต่อระบบย่อยอาหาร

    โภชนาการลูกรักวัย 9 -10 เดือน ที่เหมาะสม

    ลูกรักวัย 9 -10 เดือน สามารถรับประทานอาหารแข็งได้ ½ ถ้วย ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน พร้อมกับอาหารว่างด้วย โดยอาจแบ่งได้ ดังนี้

    • อาหารที่อุดมด้วยโปรตีน 1/4-1/2 ถ้วย
    • ผลิตภัณฑ์ธัญพืช 1/4-1/2 ถ้วย
    • ผัก 1/2-3/4 ถ้วย
    • ผลไม้ 1/2-3/4 ถ้วย

    และควรรับประทานนมแม่หรือนมผงหลังอาหาร 7-8 ออนซ์ ประมาณ 3-4 ครั้ง/วัน เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารอย่างเต็มที่

    โดยก่อนป้อนอาหารแข็งให้ลูกควรสับอาหารให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ พอหยาบ เพราะในวัย 9-10 เดือน ลูกจะเริ่มเรียนรู้ทักษะการรับประทานอาหารด้วยมือของตัวเอง อาหารของลูกในแต่ละมื้อจึงควรเป็นอาหารที่หลากหลาย รับประทานง่าย และอุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วนทั้งโปรตีน (เช่น นม ไข่ เนื้อ ปลา สัตว์ปีก) คาร์โบไฮเดรต (เช่น ธัญพืช เมล็ดพืช ถั่ว) ผักและผลไม้ (เช่น ผักใบเขียว แครอท บร็อคโคลี่ อะโวคาโด ผักปวยเล้ง)

    อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่เริ่มให้อาหารแข็งกับลูกครั้งแรก หากลูกปฏิเสธการรับประทานอาหารแข็งหรือบ้วนทิ้ง ไม่ควรบังคับให้ลูกรับประทานต่อ แต่ควรปล่อยให้ลูกเล่นหรือทำกิจกรรมอื่น ๆ ไปก่อน จากนั้นอีกประมาณ 2-3 วัน ให้ลองกลับมาป้อนอาหารแข็งอีกครั้ง หรืออาจผสมอาหารเพื่อเพิ่มสีสันมากขึ้น หรือบีบน้ำนมแม่ไว้ด้านบนอาหารแข็งเล็กน้อย เพื่อให้ลูกค่อย ๆ ฝึกและคุ้นชินกับรสชาติอาหารใหม่

    เมนู ลูก รัก วัย 9 -10 เดือน

    ลูกวัย 9-10 เดือน ควรได้รับประทานอาหารครบ 3 มื้อ/วัน และอาหารว่าง 2 มื้อ โดยตัวอย่างเมนูลูกรักวัย 9 -10 เดือน ใน 1 วัน อาจมีดังนี้

    อาหารเช้า

    • ไข่บดหรือไข่คน 1 ฟอง ซีเรียลลำหรับทารก 2-4 ออนซ์
    • นมแม่หรือนมผงประมาณ 4-6 ออนซ์
    • ผลไม้หั่นลูกเต๋า 1/2-3/4 ถ้วย

    อาหารว่าง

    • นมแม่หรือนมผงประมาณ 4-6 ออนซ์
    • ชีสหั่นเต๋า 2-4 ออนซ์
    • ผักลูกเต๋าปรุงสุกประมาณ 1/2-3/4 ถ้วย

    อาหารกลางวัน

    • โยเกิร์ตหรือคอทเทจชีส 2-4 ออนซ์
    • ถั่ว เนื้อสับหรือหั่นลูกเต๋าประมาณ 1/4-1/2 ถ้วย
    • ผักสีเหลืองหรือสีส้มปรุงสุกหั่นลูกเต๋า เช่น แครอท ฟักทอง ประมาณ 1/2-3/4 ถ้วย
    • นมแม่หรือนมผง 4-6 ออนซ์

    อาหารว่าง

    • ขนมปังกรอบโฮลเกรนหรือบิสกิต 1 ชิ้น
    • โยเกิร์ต 2-4 ออนซ์
    • ผลไม้เนื้อนิ่มหั่นลูกเต๋า เช่น กล้วย ลูกแพร์ มะละกอ ลูกพีช มะม่วงสุก แอปเปิ้ล ประมาณ 1/2-3/4 ถ้วย
    • น้ำ 2-4 ออนซ์

    อาหารเย็น

    • เนื้อสัตว์ปีกหรือเต้าหู้หั่นลูกเต๋า 2-4 ออนซ์
    • ผักใบเขียวปรุงสุก เช่น ผักปวยเล้ง บร็อคโคลี่ คะน้า ผักกาด ประมาณ 1/2-3/4 ถ้วย
    • มันฝรั่ง มันเทศ พาสต้าปรุงสุก ประมาณ 1/4-1/2 ถ้วย
    • ผลไม้หั่นลูกเต๋าประมาณ 1/2-3/4 ถ้วย
    • นมแม่หรือนมผง 4-6 ออนซ์

    ก่อนนอน

    ให้นมแม่หรือนมผงประมาณ 6-8 ออนซ์ และตามด้วยน้ำเปล่า

    เมนูลูกรักวัย 9 -10 เดือน ที่ควรหลีกเลี่ยง

    อาหารบางชนิดที่ลูกวัย 9-10 เดือน ควรหลีกเลี่ยง อาจมีดังนี้

    • น้ำผึ้ง ไม่เหมาะกับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคโบทูลิซึม (Botulism) ที่สามารถก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบประสาท
    • ช็อกโกแลต เพราะมีส่วนผสมของคาเฟอีนที่อาจทำให้เด็กปวดหัว นอนไม่หลับ และอาจทำให้ฟันผุได้
    • อาหารไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์และไม่สุก เช่น ชีส นม เนย โยเกิร์ต ปลาดิบ ผักดิบ เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่ปนเปื้อนในอาหาร
    • เครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น ซอสปรุงรส เกลือ น้ำตาล เพราะอาจเสี่ยงปนเปื้อนเชื้อโรคหรือสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกายของลูก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 02/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา