backup og meta

วิธีการรับมือเมื่อ ลูกหกล้ม และวิธีการป้องกัน

วิธีการรับมือเมื่อ ลูกหกล้ม และวิธีการป้องกัน

ลูกหกล้ม เป็นอุบัติเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา โดยเฉพาะกับเด็กวัยหัดเดินขึ้นไป ซึ่งอาจส่งผลให้ลูกมีการบาดเจ็บที่ไม่ร้ายแรง ไปจนถึงการบาดเจ็บร้ายแรง เช่น กระทบกระเทือนที่ศีรษะ บาดแผลใหญ่ กระดูกหัก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรเรียนรู้วิธีรับมือเมื่อลูกหกล้ม และคอยสังเกตสัญญาณความผิดปกติ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกได้รับบาดเจ็บร้ายแรงจนเป็นอันตรายได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

สาเหตที่ทำให้ลูกน้อยหกล้ม

แน่นอนว่ามีสาเหตุหลายประการที่อาจทำให้ลูกน้อยหกล้ม แต่การหกล้มนั้นอาจจะแตกต่างกันออกไปโดยขึ้นอยู่กับอายุและสถานการณ์ สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ทารกแรกเกิดหกล้ม ได้แก่

  • ผู้ดูแลหลับขณะป้อนนม หรือโยกตัวทารกแล้วทารกหลุดออกจากอ้อมแขน
  • ผู้ดูแลอุ้มทารกเดินสะดุดหรือหกล้ม และปล่อยให้ทารกหลุดมือ
  • ล้มเพราะเปลี่ยนโต๊ะ
  • ตกจากเตียง

ในเด็กโตสาเหตุของการหกล้มที่พบบ่อยที่สุด คือ

  • การตกบันไดเมื่อพวกเขาเริ่มเคลื่อนไหวด้วยตัวเองได้และอยู่ในช่วงที่กำลังชอบสำรวจสภาพแวดล้อม
  • ล้มลงบนพื้น หรือกระแทกกับพื้นผิวที่แข็งหรือแหลม ในขณะที่พวกเรากำลังเรียนรู้ที่จะเดิน กลิ้ง และคลาน พวกเขาอาจตกจากที่สูงได้ หากพวกเขาสามารถปีนได้

สัญญาณเตือนก่อนลูกหกล้ม

จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention หรือ CDC) ให้ข้อมูลว่า การหกล้มเป็นสาเหตุหลักของการบาดเจ็บที่ไม่ร้ายแรงในเด็กที่อายุต่ำกว่า 19 ปี โดยมีเด็กประมาณ 8,000 คนที่ได้รับการรักษาจากการหกล้มทุกวันในห้องฉุกเฉิน ดังนั้น จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้อย่างจริงจังและประเมินสถานการณ์อย่างรอบคอบ

ในกรณีส่วนใหญ่หาก ลูกน้อยหกล้ม แล้วร้องไห้ทันที ไม่มีเลือดออก และอาจไม่แสดงอาการบาดเจ็บที่ชัดเจน เมื่อจับพวกเขาให้ยืนขึ้น ก็อาจจะปลอบใจลูกน้อย ซึ่งในกรณีการหกล้มที่ไม่รุนแรงดังกล่าว จะไม่ได้รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินเสียเท่าไรนัก แต่มีบางสถานการณ์ที่ ควรต้องพาลูกน้อยไปหาคุณหมอทันที เมื่อลูกน้อยหกลม ซึ่งสถานการณ์เหล่านั้น ได้แก่

  • ลูกน้อยหมดสติ
  • ลูกน้อยเริ่มอาเจียนทันที
  • เลือดออกจากจมูกหรือหูของทารก
  • จุดที่อ่อนแอ อย่าง กระหม่อม บนกะโหลกศีรษะเริ่มบวม
  • มีร่องรอยของการแตกหักของกะโหลกศีรษะ หรือมีรอยฟกช้ำ บวมที่ศีรษะ เลือดออก มีบาดแผลที่หนังศีรษะ
  • ลูกน้อยมีอาการชัก
  • แขน ขา คอ หรือกระดูกสันหลังจองทารกดูไม่ตรง ผิดรูป และสงสัยว่ากระดูกหัก
  • มีสัญญาณใดๆ ที่ลูกน้อยทำตัวไม่เหมือนปกติ เช่น มีอาการเซื่องซึม หรือไม่อยากอาหาร

หากมีอาการหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากลูกน้อยแสดงอาการบาดเจ็บที่คอ กระดูกสันหลัง หรือหนังศีรษะ ไม่ควรอุ้มพวกเขาขึ้นมา เพื่อปลอบใจ เพราะหากเคลื่อนย้ายลูกน้อย อาจเสี่ยงที่จะทำให้การบาดเจ็บแย่ลง ดังนั้น ควรโทรหาสถานพยาบาล เพื่อให้พวกเขาส่งรถพยาบาลมารับตัวลูกไปรักษา

หากลูกน้อยมีอาการชัก ไม่ควรอุ้มพวกเขาขึ้นมา พยายามตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าพวกเขาอยู่ในบริเวณที่ปลอดภัย เพื่อจะไม่ให้ได้รับการบาดเจ็บอีก และพยายามโทรหาสถานพยาบาลทันที

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรทำ เมื่อลูกหกล้ม

หากลูกน้อยขไม่ได้ประสบกับภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์หลังจากหกล้ม คุณพ่อคุณแม่อาจสงสัยว่าควรทำอะไรเพื่อลูกน้อย และควรโทรหาหรือไปพบคุณหมอเมื่อใด

สิ่งแรกที่ควรทำคืออุ้มลูกขึ้นมาแล้วปลอบใจพวกเขา โดยปกติแล้วถ้าหากพวกเขาสบายใจได้ง่ายนั่นถือเป็นสัญญาณที่ดี นอกจากนั้นสิ่งที่ควรจะทำหลังจากที่พวกเขาหกล้มแล้วไม่ใช่เหตุฉุกเฉิน มีดังนี้

  • โทรหาคุณหมอ โดยพวกเขาอาจจะขอให้นำลูกไปพบหรือไม่ก็ได้ แต่ก็ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอทันทีที่ทำได้หลังจากหกล้ม เพื่อรับคำแนะนำจากคุณหมอ
  • ทำความสะอาดแผลหรือรอยถลอก ด้วยสบู่และน้ำสะอาด
  • ทาครีมป้องกันแบคทีเรียและใช้ผ้าพันแผล เพื่อปิดแผลที่เกิดขึ้น
  • ประคบเย็นหรือประคบน้ำแข็งบริเวณที่เป็นรอยแดงหรือตรงที่ได้รับการกระแทก เพื่อป้องกันอาการบวม
  • เฝ้าระวังลูกน้อยในช่วงหลายชั่วโมงข้างหน้า เพื่อดูสัญญาณของอาการที่ถูกกระทบกระแทก หรือการบาดเจ็บที่สมองอื่นๆ เช่น เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ดูเหมือนตื่นตัวน้อยลง การประสานงานของร่างกายน้อยลง ลูกน้อยอาจมีเหงื่อออก หน้าซีด หรือเริ่มอาเจียน
  • หากลูกน้อยง่วงนอน คุณหมออาจแนะนำให้ปล่อยให้พวกเขาได้นอนหลับ แต่ต้องตรวจดูพวกเขาเป็นเวลา 2 ชั่วโมง เพื่อให้แน่ใจว่า พวกเขาสบายดี

เมื่อไหร่ควรพาลูกไปหาคุณหมอ

แน่นอนว่ากะโหลกและกระดูกของทารกนั้นจะเปราะบางกว่าเด็กโต และทารกมีแนวโน้มที่จะได้รับบาดเจ็บจากการหกล้มมากกว่า ดังนั้น เมื่อประเมินแล้วว่าการบาดเจ็บของทารกมีน้อยและไม่จำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างฉุกเฉิน ควรโทรปรึกษาคุณหมอได้ในเวลาสั้นๆ แต่ควรโทรหาภายใน 1 ชั่วโมงแรก หรือหลังจากที่ลูกน้อยหกล้ม เพื่อจะได้ยังอยู่ในช่วงที่สามารถดูแลความปลอดภัยของพวกเขาได้

แพทย์หรือพยาบาล สามารถช่วยประเมินได้ว่า จำเป็นต้องพาทารกเข้าไปพบคุณหมอหรือไม่ หากแพทย์เห็นว่าลูกน้อยควรได้รับการรักษา ก็อาจดำเนินการดังนี้

  • ขอให้อธิบายว่า ลูกน้อยหกล้มได้อย่างไร และพวกเขาปฏิบัติตัวอย่างไรหลังจากหกล้มแล้ว
  • ตรวจดูสัญญาณของการบาดเจ็บเล็กน้อยหรือร้ายแรงกว่านั้นในทารก
  • บอกสิ่งที่ต้องมองหาในลูกน้อยในช่วง 24 ชั่วโมงข้างหน้า เช่น สัญญาณของการถูกกระทบกระแทก หรือการบาดเจ็บที่สมองอื่นๆ
  • บอกว่าในคืนนั้นจำเป็นจะต้องตรวจดูลูกน้อยในขณะที่พวกเขานอนหลับหรือไม่
  • แพทย์จะแจ้งให้ทราบว่าจำเป็นต้องมีการติดตามผลหรือไม่ และต้องทำอย่างไรในกรณีที่ฉุกเฉิน
  • วางแผนความปลอดภัยในบ้าน เพื่อป้องกันการหกล้มในอนาคต

วิธีป้องกันไม่ให้ ลูกน้อยหกล้ม

ความจริงแล้วการหกล้มส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ ลองมองว่าการหกล้มครั้งแรกของลูกน้อยถือเป็นประสบการณ์การเรียนรู้และเป็นโอกาสในการป้องกัน เพื่อไม่ให้เกิดการหกล้มขึ้นอีก โดยวิธีการป้องกันการหกล้มที่สามารถพบได้บ่อยที่สุด มีดังนี้

  • อย่าทิ้งลูกน้อยเอาไว้บนเตียงโดยที่ไม่มีใครดูแล ทารกอาจทำให้ประหลาดใจกับความสามารถในการเคลื่อนไหวหรือกลิ้งตัว ก่อนที่จะคิดว่าพวกเขาสามารถทำได้ เมื่อจำเป็นจะต้องหันไปทำอะไรสักอย่างหนึ่ง พยายามเอามืออีกข้างจับลูกน้อยเอาไว้เสมอ
  • ห้ามใช้รถหัดเดินเด็ดขาด เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นเรื่องที่รู้กันดีว่าเป็นอันตรายและมีส่วนทำให้เกิดการหกล้มและการบาดเจ็บได้
  • อย่าทิ้งคาร์ซีทหรือเบาะนั่งสำหรับเด็กไว้บนพื้นที่ยกระดับเมื่อมีทารกอยู่ในนั้น พยายามวางพวกมันเอาไว้บนพื้นที่เรียบเสมอ
  • เมื่อลูกน้อยคลาน หรือเดิน ควรเฝ้าดูพวกเขาตลอดเวลา หากจำเป็นต้องห่างจากพวกเขา พยายามพาพวกเขาไปอยู่ในตำแหน่งที่ปลอดภัย เช่น คอกสำหรับปล่อยให้เด็กเล่น (Playpen) หรือเปล
  • วางประตูกั้นเด็กที่ถูกติดตั้งอย่างถูกต้องบนบันไดทั้งหมดในบ้าน ตรวจสอบให้แน่ใจว่า หน้าต่างทั้งหมดมีการล็อก พิจารณารางเพื่อป้องกันความปลอดภัยด้วย
  • ยกระดับเปลของลูกน้อยขึ้นและตรวจสอบความมั่นคง
  • ใช้เข็มขัดนิรภัยและสายรัดนิรภัยบนเบาะรถ เก้าอี้เด็ก และเก้าอี้ที่สูงเสมอ
  • วางเฟอร์นิเจอร์ให้ห่างจากหน้าต่าง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าปลอดภัย ยึดตู้หนังสือ ลิ้นชัก และทีวีไว้ที่ผนังอย่างมั่นคง

แม้ว่าคุณพ่อคุณแม่อาจจะมีความรู้สึกผิดกับการที่เห็นลูกน้อยหกล้ม แต่ก็ไม่ควรปล่อยให้ความรู้สึกผิดนั้นมาหยุดการติดต่อกับคุณหมอหลังจากที่ลูกน้อยหกล้ม เพราะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการสังเกตอาการของลูกรวมถึงวิธีการดูแลอย่างถูกต้องในกรณีที่ไม่ใช่เหตุฉุกเฉิน ส่วนในกรณีที่ลูกน้อยมีอาการเปลี่ยนไปหลังจากหกล้ม คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด เพื่อจะได้รับการรักษาได้อย่างทันท่วงที

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What to Do If Your Baby Falls Down. https://www.verywellfamily.com/what-to-do-if-your-baby-falls-down-4795831. Accessed September 28, 2020

What to Do If Your Infant Falls Off the Bed or Changing Table. https://health.clevelandclinic.org/what-to-do-if-your-infant-falls-off-the-bed-or-changing-table/. Accessed September 28, 2020

Fall Prevention. https://www.cdc.gov/safechild/falls/index.html. Accessed September 28, 2020

Home Fall Prevention, Infants Ages Birth to One Year. https://www.health.ny.gov/prevention/injury_prevention/children/fact_sheets/infants_0-1_year/home_fall_prevention_birth-1_years.htm. Accessed September 28, 2020

Loss of Consciousness. https://www.healthychildren.org/English/health-issues/injuries-emergencies/Pages/Loss-of-Consciousness.aspx. Accessed September 28, 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกน้อยร้องไห้ไม่ยอมหยุด คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรทำอย่างไร

ลูกน้อยอาบน้ำนมแม่ ได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 31/05/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา