backup og meta

ดีแมนโนส (D-Mannose)

ดีแมนโนส (D-Mannose)

การใช้ประโยชน์ ดีแมนโนส

ดีแมนโนส ใช้สำหรับทำอะไร

ดีแมนโนส (D-mannose) เป็นน้ำตาลชนิดหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับกลูโคส (glucose) ประกอบด้วยน้ำตาลที่มีโมเลกุลเดียว ทั้งยังเกิดขึ้นได้ตามธรรมชาติในร่างกายของคุณ และยังพบได้ในพืชบางชนิดในรูปของแป้ง เช่น แอปเปิ้ล ส้ม ถั่วเขียว ลูกพีช แครนเบอร์รี่ เป็นต้น

ส่วนใหญ่มักใช้ ดีแมนโนสในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และป้องกันไม่ให้แบคทีเรียบางชนิดเจริญเติบโตในทางเดินปัสสาวะ รวมถึงผู้ที่ป่วยเกี่ยวกับโรคระบบการเผาผลาญอาหารที่ผิดปกติ

การทำงานของดีแมนโนส

การศึกษาเกี่ยวกับการทำงานของดีแมนโนสยังไม่เพียงพอมากนัก โปรดปรึกษานักสมุนไพร หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าดีแมนโนส อาจช่วยเรื่องความบกพร่องที่เกิดจากพันธุกรรม และการผลิตแมนโนส (mannose) ในร่างกาย รวมถึงช่วยป้องกันแบคทีเรียบางประเภทไม่ให้เกาะผนังทางเดินปัสสาวะซึ่งจะทำให้เกิดอาการติดเชื้อ

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้ดีแมนโนส

ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรถึงอาการหรือลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากในขณะที่ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรควรจะได้รับยาหรือสมุนไพรบำรุง ที่จัดจำหน่ายโดยแพทย์เท่านั้น
  • อยู่ในระหว่างการใช้ยาหรือสมุนไพรอื่นๆ ร่วมด้วย รวมถึงยาทุกชนิดที่ซื้อรับประทานเองโดยไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • มีอาการแพ้สารที่มีส่วนประกอบของดีแมนโนสหรือยาและสมุนไพรชนิดอื่น
  • มีอาการเจ็บป่วย มีอาการผิดปกติ หรือมีโรคอื่นๆ แทรกซ้อน
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่นแพ้อาหาร สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือเนื้อสัตว์

ข้อบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับของการใช้ยา จึงจำเป็นต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยในการใช้ ประโยชน์ของการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรเสริมอาหารนี้จะต้องมีค่าน้ำหนักมากกว่าความเสี่ยง ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม

ดีแมนโนสมีความปลอดภัยแค่ไหน

ดีแมนโนสมีความปลอดภัยสำหรับผู้ใหญ่ส่วนใหญ่

สำหรับผู้ตั้งครรภ์และกำลังให้นมบุตร : ดีแมนโนสนั้นค่อนข้างปลอดภัยเมื่อใช้รับประทานในปริมาณเทียบเท่าอาหาร แต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณมากกว่าที่ทางแพทย์กำหนด และยังมีข้อมูลไม่เพียงพอ เกี่ยวกับความปลอดภัยในการรับประทานในปริมาณมากสำหรับผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ และผู้ที่กำลังให้นมบุตร

ผู้เป็นโรคเบาหวาน : พบงานวิจัยบางงานระบุว่าดีแมนโนสอาจทำให้เกิดการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดยาก สำหรับผู้เป็นโรคเบาหวานควรรับคำแนะนำจากแพทย์ หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนเสมอ

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ดีแมนโนส

ดีแมนโนสสามารถทำให้ท้องอืด หากใช้ในปริมาณมาก และอาจส่งผลเสียต่อไตได้

ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจมีผลข้างเคียงอื่นๆ นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีความกังวลใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์ และเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ดีแมนโนสอาจเกิดปฏิกิริยากับตัวยาอื่นที่คุณใช้ร่วมด้วย หรืออาจมีผลข้างเคียงต่อการรักษาอื่นๆ ควรปรึกษาแพทย์ หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้สมุนไพร

ขนาดการใช้

ข้อมูลที่นำเสนอนี้ไม่สามารถใช้อ้างอิงเป็นคำแนะนำทางการแพทย์ โปรดปรึกษาเภสัชกร หรือแพทย์ของท่าน ก่อนการนำยาตัวนี้ไปใช้เสมอ

ปริมาณการใช้ดีแมนโนส อาจแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และโรคอื่นๆ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนี้ไม่ได้ปลอดภัยเสมอไป โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับขนาดยาที่เหมาะสมกับคุณ

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

สมุนไพรดังกล่าวอาจมีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • แคปซูล
  • ผง

Hello Health Groupไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

D-mannose http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1114-d-mannose.aspx?activeingredientid=1114&activeingredientname=d-mannose Accessed August 9, 2017

Can D-Mannose Treat or Prevent UTIs? https://www.healthline.com/health/d-mannose-for-uti Accessed August 9, 2017

Can D-mannose treat a UTI? https://www.medicalnewstoday.com/articles/323938.php Accessed August 9, 2017

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/05/2020

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุของปัสสาวะเล็ด หลังคลอด และการดูแลตัวเอง

ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะขณะตั้งครรภ์ อาการ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 12/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา