backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ

1

ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

วิตามินบี 12 (Vitamin B12)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 29/03/2021

วิตามินบี 12 (Vitamin B12)

วิตามินบี 12 (Vitamin B12) เป็นวิตามินที่ใช้เพื่อให้ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ วิตามินบี 12 สามารถพบได้ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์จากนม บางครั้งยังถูกใช้ร่วมกับวิตามินบีอื่น ๆ อีกด้วย

ข้อบ่งใช้

วิตามินบี 12 ใช้สำหรับ

วิตามินบี 12 (Vitamin B12) เป็นวิตามินที่มีความสำคัญ ร่างกายต้อง การใช้วิตามินบี 12 เพื่อให้ทำให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ วิตามินบี 12สามารถพบได้ในอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์จากนม และยังสามารถสังเคราะห์ได้ นอกจากนี้ยังถูกใช้ร่วมกับวิตามินบีอื่น ๆ อีกด้วย

การรับประทานวิตามินบี 12 เพื่อรักษาและป้องกันการขาดวิตามินบี 12 ซึ่งเป็นภาวะที่ระดับวิตามินบี 12 ในเลือดต่ำเกินไป นอกจากนี้ ยังรับประทานเพื่อรักษาโรคโลหิตจางรุนแรง อันเป็นโรคโลหิตจางที่รุนแรงซึ่งเป็นผลมาจากการขาดวิตามินบี 12 และพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ

วิตามินบี 12 ยังสามารถรับประทานเพื่อรักษาโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) ชะลอวัย และส่งเสริมอารมณ์ พลังงาน สมาธิ การทำงานของจิตใจ และระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังใช้เพื่อรักษา

สำหรับบางคนยังรับประทานวิตามินบี 12 เพื่อรักษา

  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส (Amyotrophic Lateral Sclerosis) หรือที่เรียกว่าโรคลูเกริก (Lou Gehrig Disease)
  • โรคเอ็มเอส (Multiple Sclerosis)
  • ป้องกันโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (Age-related Macular Degeneration) อาการที่ร่างกายสร้างฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป
  • โรคไลม์ (Lyme Disease)
  • โรคเหงือก (Gum disease)
  • การติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจ
  • รักษาระดับของการเจริญพันธุ์
  • เกิดเสียงในหู
  • ตกเลือด
  • โรคตับและโรคไต
  • แผลร้อนใน
  • ป้องกันกระดูกหัก
  • ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
  • ป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
  • ป้องกันพิษและสารก่อภูมิแพ้จากควันบุหรี่
  • ช่วยป้องกันมะเร็ง ทั้งมะเร้งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก และมะเร็งปอดได้อีกด้วย

การใช้วิตามินบี 12 สำหรับผิว

การใช้วิตามินบี 12 ทาลงบนผิวอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับน้ำมันอะโวคาโด เพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) และโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (Eczema) นอกจากนี้ ยังมีเจลทาจมูกวิตามินบี 12 เพื่อใช้สำหรับโรคโลหิตจางรุนแรง กับใช้เพื่อป้องกันและรักษาภาวะขาดวิตามินบี 12

การฉีดวิตามินบี 12

การใช้วิตามินบี 12 ฉีดเข้าสู่ร่างกาย เพื่อรักษาโรคโลหิตจางรุนแรง ป้องกันและรักษาภาวะขาดวิตามินบี 12 และเพื่อป้องกันและรักษาโรคระบบประสาท ที่เรียกว่าโรคพยาธิภาวะที่ไขสันหลัง (Myelopathy) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับคนที่มีภาวะขาดวิตามินบี 12 นอกจากนี้ยังใช้รักษาอาการสั่น (Tremors) โรคอิมเมอร์ซลันด์-กราซเบ็ค (Imerslund-Grasbeck Disease) พิษไซยาไนด์ เส้นประสาทเสียหาย เนื่องจากโรคงูสวัด (Shingles) โรคเส้นประสาทเสียหายจากโรคเบาหวาน เหนื่อย หรืออ่อนล้า อาการล้าเรื้อรัง (Chronic Fatigue Syndrome) ไวรัสตับอักเสบซี ภาวะที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ตกเลือด โรคมะเร็ง โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis) และโรคตับและโรคไต นอกจากนี้ ยังฉีดเข้าร่างกาย เพื่อป้องกับไม่ให้หลอดเลือดกลับมาอุดตันซ้ำหลังการผ่าตัดอีกด้วย

การทำงานของ วิตามินบี 12

ยังไม่มีงานวิจัยที่มากพอเกี่ยวกับการทำงานของวิตามินบี 12 โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันว่าเราจำเป็นต้องมี การใช้วิตามินบี 12 เพื่อให้สมอง เซลล์เลือด และส่วนอื่น ๆ อีกมากมายทำงานและพัฒนาการได้อย่างถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ วิตามินบี 12

ปรึกษากับแพทย์ในกรณีดังต่อไปนี้

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เนื่องจากขณะที่คุณกำลังตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร คุณควรจะใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น
  • คุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมไปถึงยาที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา
  • คุณมีอาการแพ้กับสารลูทีน ยาอื่น ๆ หรือสมุนไพรอื่น ๆ
  • คุณมีอาการเจ็บป่วยอื่น ๆ มีความผิดปกติ หรือมีอาการใด ๆ
  • คุณมีอาการภูมิแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีย้อม แพ้สารกันบูด หรือแพ้สัตว์

ข้อบังคับในการใช้อาหารเสริมนั้น มีเข้มงวดน้อยกว่าข้อบังคับในการใช้ยา ยังต้องการงานวิจัยอีกมากเพื่อบ่งชี้ความปลอดภัย ประโยชน์ของอาหารเสริมนี้จะต้องมีมากกว่าความเสี่ยงก่อนที่จะใช้ โปรดปรึกษากับแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ความปลอดภัยของวิตามินบี 12

การใช้วิตามินบี 12 นั้นมีความปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่เมื่อรับประทาน ทาลงบนผิวหนัง ฉีดเข้าจมูก หรือฉีดเข้าหลอดเลือดดำ วิตามินบี 12 ได้รับการพิจารณาว่าปลอดภัย แม้จะใช้ในปริมาณมาก

ข้อควรระวังเป็นพิเศษและคำเตือน

การตั้งครรภ์และให้นมบุตร

การใช้วิตามินบี 12 มีความปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรหากรับประทานตามขนาดที่แนะนำ ขนาดที่แนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์คือ 2.6 ไมโครกรัมต่อวัน สตรีที่ให้นมบุตรควรใช้ไม่เกิน 2.8 ไมโครกรัมต่อวัน ห้ามใช้ในปริมาณมาก เนื่องจากยังไม่ทราบแน่ชัดถึงความปลอดภัยหากใช้ในปริมาณที่มาก

หลังการผ่าตัดใส่ขดลวดหัวใจ

ควรหลีกเลี่ยง การใช้วิตามินบี 12 ร่วมกับโฟเลต และวิตามินบี 6 หลังจากการผ่าตัดท่อสังเคราะห์ในหลอดเลือดแดง เนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการหดตัวของหลอดเลือด

การแพ้หรือรู้สึกไวต่อโคบอลต์ (Cobalt) หรือโคบาลามิน (Cobalamin)

ห้ามใช้วิตามินบี 12 หากคุณมีอาการนี้

  • โรคลีเบอร์ (Leber’s Disease) โรคทางพันธุกรรมที่เกี่ยวกับดวงตา

ห้ามรับประทานวิตามินบี 12 หากคุณเป็นโรคนี้ เนื่องจากอาจจะเป็นอันตรายต่อเส้นประสาทดวงตา ซึ่งอาจทำให้ตาบอดได้

  • เซลล์เม็ดเลือดแดงผิดปกติหรือโรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ (Megaloblastic Anemia)

โรคโลหิตจางเนื่องจากเม็ดเลือดแดงมีขนาดใหญ่ ในบางครั้งสามารถรักษาได้ด้วยวิตามินบี 12 แต่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงมาก อย่าลองใช้วิธีรักษาด้วยวิตามินบี 12 หากไม่มีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลอย่างใกล้ชิด

  • มีจำนวนเม็ดเลือดแดงสูงหรือภาวะเม็ดเลือดแดงข้น (Polycythemia Vera)

การรักษาภาวะขาดวิตามินบี 12 สามารถทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงข้นได้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของ การใช้วิตามินบี 12

มีการรายงานว่า บุคคลหนึ่งที่ใช้น้ำมันอะโวคาโดชนิดหนึ่ง และครีมวิตามินบี 12 เพื่อรักษาโรคสะเก็ดเงินนั้นมีอาการคันเล็กน้อย

ไม่ใช่ทุกคนจะมีผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาหมอของคุณ

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

การใช้วิตามินบี 12 อาจเกิดอันตรกิริยาต่อยาหรืออาการที่คุณเป็นอยู่ ควรปรึกษากับแพทย์ก่อนใช้ สิ่งที่อาจมีปฏิกิริยาต่อวิตามินบี 12 ได้แก่

  • คลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol)

วิตามินบี 12 มีความสำคัญต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดใหม่ คลอแรมเฟนิคอลอาจจะลดจำนวนเซลล์เม็ดเลือดใหม่ลงได้ การใช้คลอแรมเฟนิคอลเป็นเวลานาน อาจลดผลกระทบต่อวิตามินบี 12 ในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดใหม่ แต่คนส่วนใหญ่มักจะใช้คลอแรมเฟนิคอลเพียงแค่ช่วงเวลาสั้น ๆ ดังนั้น ปฏิกิริยานี้ไม่ใช่ปัญหาใหญ่

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยานี้

ขนาดทั่วไปของ การใช้วิตามินบี 12

ขนาดยาต่อไปนี้ได้รับการศึกษาในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

สำหรับผู้ใหญ่

รับประทาน

ขนาดทั่วไปของอาหารเสริมวิตามินบี 12 คือ 1-25 ไมโครกรัมต่อวัน ส่วนปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวันสำหรับวิตามินบี 12 คือ

  • เด็กโตและผู้ใหญ่ 1.8 ไมโครกรัม
  • ผู้ตั้งครรภ์ 2.6 ไมโครกรัม
  • แม่ให้นมลูก 2.8 ไมโครกรัม

เนื่องจาก 10-30 % ของผู้สูงอายุไม่สามารถดูดซึมวิตามินบี 12 จากอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป ควรรับสารอาหารให้ได้ปริมาณครบถ้วนตามที่แนะนำในแต่ละวัน ด้วยการรับประทานอาหารที่มีปริมาณของวิตามินบี 12 มาก หรือรับประทานอาหารเสริมวิตามินบี 12 มีการใช้อาหารเสริมในขนาด 25-100 ไมโครกรัมต่อวัน เพื่อรักษาระดับของวิตามินบี 12 ในผู้สูงอายุ

อาการขาดวิตามินบี 12 หรือโรคโลหิตจางรุนแรง

ใช้ ไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin) ขนาด 300-10,000 ไมโครกรัมต่อวัน อย่างไรก็ตามมีหลักฐานบางอย่างชี้ว่า ขนาดยาที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอยู่ระหว่าง 647-1032 ไมโครกรัมต่อวัน

สำหรับสารโฮโมซีสทีน (homocysteine) ในเลือดสูง

เคยมี การใช้วิตามินบี 12 400-500 ไมโครกรัมร่วมกับกรดโฟลิค 0.54-5 มก. และไพริดอกซีน (pyridoxine) 16.5 มก.

สำหรับการป้องกันโรคจอตาเสื่อมในผู้สูงอายุ (AMD)

เคยมี การใช้วิตามินบี 12 1 มก. กรดโฟลิก 2.5 มก. และไพริดอกซีน 50 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 7.3 ปี

ทาบนผิว

  • สำหรับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis) หรือโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรัง (Eczema) เคยมีการใช้ครีมวิตามินบี 12 0.07% เรจิไวเดิร์ม (Regividerm) วันละ 2 ครั้ง
  • สำหรับโรคสะเก็ดเงิน เคยมีการใช้ครีมบางชนิด เช่น เรจิไวเดิร์ม (Regividerm) รีเจเนเรทริโอ ฟาร์มา เอจี (Regeneratio Pharma AG) วุพเพอร์ทาล เยอรมนี (Wuppertal Germany) ที่ประกอบด้วยน้ำมันอะโวคาโดและวิตามินบี 12 0.7 มก. ต่อกรัม วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 12 สัปดาห์

ฉีดเข้าเส้นเลือด

  • สำหรับโรคโลหิตจางรุนแรง ขนาดยาที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาสำหรับวิตามินบี 12 ในการรักษาโรคโลหิตจางร้ายแรงคือ 100 ไมโครกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (IM)/ฉีดใต้ผิวหนัง(SC) วันละครั้ง เป็นเวลา 6-7 วัน หลังจากนั้นอาจมีการให้ยาวันเว้นวันเป็นเวลา 7 ครั้ง ตามด้วยทุก ๆ 3-4 วันเป็นเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ หลังจากนั้น ควรให้ในขนาด 100 ไมโครกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ/ฉีดใต้ผิวหนัง เป็นรายเดือนตลอดชีวิต
  • สำหรับภาวะขาดวิตามินบี 12 ขนาดโดยปกติคือ 30 ไมโครกรัม ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ/ฉีดใต้ผิวหนัง ทุกวันเป็นเวลา 5-10 วัน สำหรับการคงสภาพการรักษามักใช้ 100-200 ไมโครกรัม เดือนละครั้ง ใช้ทั้งไซยาโนโคบาลามิน (Cyanocobalamin) และไฮดรอกซ์โคบาลามิน (Hydroxocobalamin)
  • สำหรับโรคทางพันธุกรรมที่ทำให้การดูดซึมวิตามินบี 12 ผิดปกติ (โรคอิมเมอร์ซลันด์-กราซเบ็ค) ฉีดวิตามินบี 12 ในรูปแบบของไฮดรอกซ์โคบาลามินเข้ากล้ามเนื้อในขนาด 1 มก. ต่อวันเป็นเวลา 10 วัน ตามด้วยเดือนละครั้งเป็นเวลาตลอดชีวิต
  • สำหรับพิษจากไซยาไนด์ ฉีดไฮดรอกซ์โคบาลามิน อย่างไซโนคิท (Cyanokit) เข้าเส้นเลือดดำ ขนาดยาทั้งหมดมากถึง 10 กรัม

ฉีดเข้าจมูก

  • สำหรับโรคโลหิตจางร้ายแรงและภาวะขาดวิตามินบี 12 ฉีดวิตามินบี 12 ขนาด 500 มิลลิกรัม เข้าไปในรูจมูกข้างหนึ่ง สัปดาห์ละครั้ง

ฉีดใต้ผิวหนัง

  • สำหรับอาการเส้นประสาทเสียหายเนื่องจากโรคงูสวัด ฉีดวิตามินบี 12 เข้าใต้ผิวหนัง 1000 มิลลิกรัม คู่กับไทแอมีน (Thiamine) หรือฉีดแยกตางหาก 6 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์

สำหรับเด็ก

รับประทาน

ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้ได้รับในแต่ละวันของวิตามินบี 12 คือ

  • ทารก 0-6 เดือน 0.4 ไมโครกรัม
  • ทารก 7-12 เดือน 0.5 ไมโครกรัม
  • เด็ก 1-3 ปี 0.9 ไมโครกรัม
  • เด็ก 4-8 ปี 1.2 ไมโครกรัม
  • เด็กอายุ 9-13 ปี และเด็กโต 1.8 ไมโครกรัม

ฉีดเข้าเส้นเลือด

  • สำหรับโรคโลหิตจางรุนแรง วิตามินบีขนาด 12 จาก 30-50 ไมโครกรัม ฉีดเข้ากล้าม/ฉีดใต้ผิวหนัง วันละครั้ง เป็นเวลา 2 สัปดาห์หรือมากกว่า รวมทั้งหมดมากถึง 1000-5000 ไมโครกรัม ฉีดเข้ากล้าม/ฉีดใต้ผิวหนัง ตามด้วย 100 ฉีดเข้ากล้าม/ฉีดใต้ผิวหนัง ทุกๆ 4 สัปดาห์
  • สำหรับภาวะขาดวิตามินบี 12 ใช้วิตามินบี 12 ขนาด 100 ไมโครกรัม ฉีดเข้ากล้าม/ฉีดใต้ผิวหนัง วันละครั้งเป็นเวลา 10-15 วัน ตามด้วย 60-100 ไมโครกรัม ฉีดเข้ากล้าม/ฉีดใต้ผิวหนัง สัปดาห์ละหนึ่งหรือสองครั้ง เป็นเวลาหลายเดือน

ขนาดยาของวิตามินบี 12 อาจแตกต่างกันตามแต่ละผู้ป่วย ขนาดที่คุณใช้นั้นขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ อาหารเสริมไม่ได้ปลอดภัยเสมอ โปรดปรึกษาแพทย์ของคุณเกี่ยวกับขนาดที่เหมาะสมกับคุณ

รูปแบบของยา

วิตามิน B12 สามารถพบได้จาก

  • อาหาร
  • ยาแคปซูล
  • ยาเม็ด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 29/03/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา