backup og meta

อาการของมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 มีอะไรบ้าง ที่คุณผู้หญิงควรรู้

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 27/12/2021

    อาการของมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 มีอะไรบ้าง ที่คุณผู้หญิงควรรู้

    หากพูดถึงโรคมะเร็ง โดยปกติแล้วมะเร็งนั้นจะมีอยู่ 4 ระยะด้วยกัน โดยแต่ละระยะก็จะมีอาการที่แสดงออกมาแตกต่างกันไป ซึ่ง โรคมะเร็งเต้านม (Breast Cancer) ก็ถูกแบ่งออกเป็น 4 ระยะเช่นกัน แต่.. อาการของมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 นั้นจะมีอะไรบ้าง วันนี้ทาง Hello คุณหมอ ได้นำเรื่องนี้มาฝากกัน

    ทำความเข้าใจกับระยะต่าง ๆ ของมะเร็งเต้านม

    โดยทั่วไปแล้ว แพทย์จะแบ่งประเภทของมะเร็งเต้านมเป็นระยะ  (Stage) โดยมีตั้งแต่ระยะ 0 ถึงระยะ 4 ตามที่สถาบันมะเร็งแห่งชาติ (National Cancer Institute) ได้กำหนดระยะต่าง ๆ เอาไว้ ดังนี้

    อาการของมะเร็งเต้านมระยะที่-4
    Stage of Breast Cancer
    • ระยะ 0 สัญญาเตือนแรกของมะเร็ง อาจมีเซลล์ผิดปกติในบริเวณนั้น แต่ยังไม่มีการแพร่กระจาย และอาจยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าเป็นมะเร็ง
    • ระยะ 1 มะเร็งระยะแรกสุดของมะเร็งเต้านม เนื้องอกมีขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร แม้ว่าอาจมีเซลล์มะเร็งขนาดเล็กบางส่วนอยู่ในต่อมน้ำเหลือง
    • ระยะ 2 มะเร็งเริ่มแพร่กระจาย โดยมะเร็งอาจจะอยู่ในต่อมน้ำเหลืองหลายต่อม หรือเนื้องอกที่เต้านมมีขนาดใหญ่กว่า 2 เซนติเมตร
    • ระยะ 3 แพทย์พิจารณาว่าเป็นมะเร็งเต้านมในรูปแบบขั้นสูง เนื้องอกที่เต้านมอาจมีขนาดใหญ่หรือเล็ก อาจแพร่กระจายไปที่หน้าอกและต่อมน้ำเหลืองหลายแห่ง บางครั้งมะเร็งอาจจะลุกลามไปยังผิวหนังบริเวณเต้านม ทำให้เกิดการอักเสบหรือเป็นแผลที่ผิวหนัง
    • ระยะ 4 มะเร็งระยะลุกลาม เซลล์มะเร็งจะแพร่กระจาย จากเต้านมไปสู่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดย มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 เรียกอีกอย่างว่า “มะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจาย” ถือเป็นระยะลุกลามที่สุด ในระยะนี้มะเร็งจะไม่สามารถรักษาให้หายได้อีกต่อไป เนื่องจาก มะเร็งกระจายเกินกว่าเต้านมและอาจส่งผลต่ออวัยวะสำคัญ เช่น ปอด สมองได้

    อาการของมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 ที่พบได้บ่อย

    สำหรับผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยเบื้องต้นว่า เป็น มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 อาจจะมีอาการต่าง ๆ เหล่านี้เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นอาการที่พบได้บ่อยที่สุดเมื่อเป็น มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 โดยอาการต่าง ๆ มีดังนี้

    มีก้อนที่เต้านม

    ในระยะแรกของมะเร็ง เนื้องอกมักมีขนาดเล็กเกินกว่าที่จะมองเห็นหรือรู้สึกได้ นั่นเป็นเหตุผลที่แพทย์แนะนำให้ตรวจแมมโมแกรม (Mammograms) แบะเทคนิคการตรวจคัดกรองมะเร็งประเภทอื่น ๆ ซึ่งมันสามารถตรวจพบสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของมะเร็งในระยะแรกเริ่มได้

    แม้ว่า มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 จะไม่ได้มีเนื้องอกขนาดใหญ่ แต่ผู้หญิงหลายคนมักจะสามารถมองเห็น หรือคลำพบก้อนที่เต้านมได้ ซึ่งอาจมีอยู่บริเวณใต้รักแร้หรือบริเวณอื่นที่ใกล้เคียง นอกจากนั้น ยังอาจรู้สึกว่ามีการบวมบริเวณเต้านมหรือรักแร้ได้อีกด้วย

    การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง

    มะเร็งเต้านมบางชนิดส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง โรคพาเก็ทของเต้านม (Paget’s Disease Of The Breast) เป็นมะเร็งชนิดที่เกิดขึ้นที่บริเวณหัวนม ซึ่งมักมาพร้อมกับเนื้องอกใต้เต้านม ผิวหนังอาจมีอาการคัน มีสีแดง หรือรู้สึกว่าผิวหนังบริเวณหัวนมหนาขึ้น บางคนอาจมีอาการผิวแห้งเป็นขุย

    มะเร็งเต้านมอักเสบ อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อผิวหนัง เซลล์มะเร็งอาจไปปิดกั้นท่อน้ำเหลือง ทำให้เกิดรอยแดง บวม และผิวหนังบุ๋ม ผู้ที่เป็น มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 อาจมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ โดยพาะอย่างยิ่งหากเนื้องอกมีขนาดใหญ่ หรือเกี่ยวข้องกับผิวหนังบริเวณเต้านม

    สารคัดหลั่งทางหัวนม (Nipple Discharge)

    สารคัดหลั่งที่ไหลออกมาทางหัวนมเป็นอาการที่เกิดขึ้นของมะเร็งเต้านมระยะใดก็ได้ โดยของเหลวที่ไหลออกมาจากหัวนม จะมีสีเหลืองหรือสีใส จะถือว่าเป็นน้ำนมที่ไหลออกมา ซึ่งบางครั้งของเหลวที่ไหลออกมานั้นอาจมีสีเหลืองและดูเหมือนเป็นหนอง หรืออาจมีเลือดปะปนออกมาด้วย

    บวม

    เต้านมอาจจะมีลักษณะปกติในระยะแรกของมะเร็งเต้านม แม้ว่าจะมีเซลล์มะเร็งเติบโตอยู่ภายในก็ตาม ในระยะต่อมาอาจจะมีอาการบวมที่บริเวณเต้านมหรือใต้แขน กรณีนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อต่อมน้ำเหลืองใต้แขนมีขนาดใหญ่ขึ้น สิ่งเหล่านี้สามารถปิดกั้นการไหลของของเหลวตามปกติ ทำให้เกิดการสะสมหรือการคั่งของของเหลว หรือภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)

    รู้สึกไม่สบายและปวดเต้านม

    ผู้หญิงอาจจะรู้สึกไม่สบายตัวและเจ็บปวดเมื่อมะเร็งเติบโตและแพร่กระจายในเต้านม เซลล์มะเร็งไม่ได้ก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่เมื่อเติบโตขึ้นมันอาจทำให้เกิดแรงกดดันหรือทำลายเนื้อเยื่อโดยรอบ เนื้องอกขนาดใหญ่สามารถเติบโตเข้าไปในผิวหนังและทำให้เกิดแผลที่เจ็บปวดได้ นอกจากนี้ เซลล์มะเร็งยังสามารถแพร่กระจายเข้าสู่กล้ามเนื้อหน้าอกและซี่โครง ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดได้อย่างชัดเจน

    ความเมื่อยล้า

    จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2011 ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร Oncologist  ความเมื่อยล้าเป็นอาการที่พบได้ทั่วไปในผู้ที่เป็นโรคมะเร็ง โดยมีผลประมาณ 25-99 เปอร์เซ็นต์ในผู้ที่อยู่ในระหว่างการรักษา และ 20-30 เปอร์เซ็นต์ ความเมื่อยล้าจะเกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาแล้ว ในมะเร็งระยะที่ 4 อาการอ่อนเพลีย อาจแพร่กระจายมากขึ้นจนอาจทำให้ใช้ชีวิตประจำวันได้ยากขึ้น

    นอนไม่หลับ

    มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 อาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและเจ็บปวด ซึ่งถือว่าเป็นการขัดขวางการนอนหลับปกติ Journal of Clinical Oncology ตีพิมพ์ผลการศึกษาในปี ค.ศ. 2001 ซึ่งนักวิจัยตั้งข้อสังเกตเอาไว้ว่า การนอนไม่หลับของคนที่เป็นมะเร็งเป็นปัญหาที่ถูกละเลย ในปี ค.ศ. 2007 นักเนื้องอกวิทยาได้ตีพิมพ์ผลการศึกษาที่ระบุว่า ความเหนื่อยล้าและการนอนไม่หลับเป็น 2 ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดในผู้ป่วยมะเร็ง

    ปวดท้อง เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด

    มะเร็งอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง และท้องผูก ความวิตกกังวล และการอดนอน อาจทำให้ระบบย่อยอาหารแย่ลง การกินอาหารที่มีประโยชน์ อาจเป็นเรื่องที่ยากขึ้น เนื่องจาก ผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมจะพยายามหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดที่อาจทำให้เกิดการปวดท้อง นอกจากนั้นระบบการย่อยอาหารอาจมีปัญหา เพราะขาดไฟเบอร์และสารอาหารที่จำเป็น

    เมื่อเวลาผ่านไปผู้หญิงอาจเบื่ออาหารและมีปัญหาในการรับแคลอรี่ตามที่ร่างกายต้องการ การหลีกเลี่ยงอาหารบางประเภทหรือไม่กินอาหารเป็นประจำ อาจทำให้น้ำหนักลดลงอย่างมาก และเกิดความไม่สมดุลทางโภชนาการ

    หายใจถี่

    อาการแน่นที่หน้าอกและความยากในการที่จะหายใจเข้าลึก ๆ อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วย มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 บางครั้งนั้นอาจกำลังเป็นสัญญาณเตือนว่ามะเร็งได้แพร่กระจายไปที่ปอดแล้ว นอกจากนั้น ผู้ป่วย มะเร็งเต้านมระยะที่ 4 ยังอาจมีอาการไอเรื้อรังหรือไอแห้งร่วมด้วย

    หากคุณรู้สึกกังวลเกี่ยวกับอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง การนัดหมายเพื่อเข้าพบกับคุณหมอถือเป็นเรื่องที่ควรทำ หากคุณได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมแล้ว คุณควรจะต้องแจ้งให้ทางทีมแพทย์ทราบหากมีอาการใหม่ ๆ เกิดขึ้นกับตัวคุณ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 27/12/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา