โรคตับกับอาหาร เป็นการดูแลและควบคุมอาหารสำหรับคนที่เป็นโรคตับ เนื่องจากหากป่วยเป็นโรคตับจะไม่สามารถรับประทานได้เหมือนอย่างที่เคย จำเป็นต้องได้รับอาหารพิเศษที่ให้คุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันตับเกิดความเสียหาย นอกจากนี้ โรคตับมีหลายประเภท จึงควรเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของตนเอง
[embed-health-tool-bmr]
โรคตับกับอาหาร ควรเลือกรับประทานอย่างไร
เนื่องจากโรคตับมีหลายอาหาร ดังนั้น หากป่วยเป็นโรคตับจึงควรทำความเข้าใจโรคและภาวะอาการของโรคตับชนิดนั้น ๆ เพื่อจะได้ดูแลตนเองและรับประทานอาหารที่เหมาะสม
ท้องมานและอาการบวมน้ำ
ท้องมาน (Ascites) เป็นอาการที่ช่องท้องของผู้ป่วยมีการสะสมของเหลว อาการบวมน้ำ (Edema) หมายถึง การที่ของเหลวก่อตัวขึ้นในเนื้อเยื่อ ที่มักจะเป็นที่เท้า ขา หรือหลัง ทั้งท้องมานและอาการบวมน้ำ ทำให้เกิดการสะสมของโซเดียมที่ผิดปกติ ร่วมกับความดันโลหิตสูงในหลอดเลือดระบบพอร์ทัล (portal hypertension) และโรคตับ
สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเหล่านี้ มักต้องจำกัดการบริโภคโซเดียม ผู้ป่วยจะได้รับอนุญาตให้บริโภคโซเดียมไม่เกิน 2-3 กรัมโดยงดอาหารกระป๋อง ไส้กรอกหรือเนื้อสำเร็จรูปทั้งหลาย เครื่องเทศ และเนยแข็งบางประเภท
น้ำดีคั่ง
เมื่อมีภาวะน้ำดีคั่ง (Cholestasis) ตับจะไม่สามารถกำจัดน้ำดีได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจะมีภาวะอุจจาระมีไขมันมาก (steatorrhea) หรือภาวะดูดซึมไขมันบกพร่อง (fat malabsorption) อาการคือ อุจจาระมีไขมันปนและมีกลิ่นเหม็น
ผู้ที่มีภาวะน้ำดีคั่งสามารถรับประทานอาหารเสริมไขมัน เพื่อเป็นตัวช่วยได้ อาหารเสริมดังกล่าว ได้แก่ ไตรกลีเซอไรด์สายกลาง (medium-chain triglycerides) น้ำมัน MCT oil หรือน้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันเหล่านี้สามารถดูดซึมได้โดยไม่ต้องอาศัยน้ำดีจากตับ
ภาวะอุจจาระมีไขมันมาก ยังขัดขวางการดูดซึมวิตามินที่ละลายในไขมัน ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค ทั้งนี้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัดเกี่ยวกับอาหารที่ควรบริโภค
โรควิลสัน
โรควิลสัน (Wilson disease) เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะการเผาผลาญธาตุทองแดงบกพร่อง ดังนั้น ผู้ป่วยโรควิลสันจะมีทองแดงสะสมอยู่ในอวัยวะจำนวนมากภายในร่างกาย ตั้งแต่ตับไปจนถึงสมอง และแม้กระทั่งกระจกตา
ดังนั้น ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยากำจัดทองแดงหรือยาเพนิซิลลามีน (penicillamine) เพื่อกำจัดทองแดงส่วนเกิน นอกจากนี้ ผู้ป่วยไม่ควรบริโภคอาหารใด ๆ ที่มีทองแดง เช่น ช็อคโกแล็ต ถั่ว หอย เห็ด
ภาวะเหล็กเกิน
ภาวะเหล็กเกิน (Hemochromatosis) เกิดขึ้นเมื่อลำไส้ไม่สามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างเหมาะสม ธาตุเหล็กส่วนเกินสะสมอยู่ในตับ ตับอ่อน รวมถึงอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกาย ผู้ป่วยที่มีภาวะเหล็กเกินไม่ควรรับประทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก รวมทั้งอาหารที่มีเหล็กในปริมาณมาก เช่น เนื้อสัตว์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเนื้อแดง เครื่องในสัตว์ ธัญพืช ไข่แดง อาหารทะเล
ไขมันพอกตับ
ไขมันพอกตับ (Fatty liver) ไม่ได้เกิดจากการรับประทานไขมัน แต่สัมพันธ์กับแอลกอฮอล์ โรคอ้วน อาหารที่ควรรับประทาน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต ธัญพืชชนิดต่าง ๆ รวมทั้งผักและผลไม้ที่มีใยอาหารสูง หวานน้อย และอาหารที่มีไขมันดี เช่น ปลาทะเลน้ำลึก