backup og meta

บัว (Lotus)

บัว (Lotus)

บัว (Lotus) เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง มักพบในแหล่งน้ำทั่วไป เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง คนเรานิยมนำดอก เมล็ด ใบ และรากของบัวมาทำเป็นยาสมุนไพรตั้งแต่ยุคโบราณ

ข้อบ่งใช้

บัว ใช้สำหรับ

บัว (Lotus) เป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง มักพบในแหล่งน้ำทั่วไป เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง คนเรานิยมนำดอก เมล็ด ใบ และรากของบัวมาทำเป็นยาสมุนไพรตั้งแต่ยุคโบราณ โดยเฉพาะในพื้นที่แถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งยังนิยมนำมาประกอบอาหารต่าง ๆ และเป็นสัญลักษณ์ของความบริสุทธิ์ในพุทธศาสนาอีกด้วย

คนนิยมนำบัวมาใช้เพื่อห้ามเลือด บรรเทาอาการไอ ลดไข้ และช่วยรักษาอาการที่เกี่ยวข้องกับตับ กระเพาะอาหาร และสภาวะอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่แน่ชัดที่จะพิสูจน์ถึงสรรพคุณทางยาของบัว

การทำงานของบัว

ยังไม่มีการวิจัยเกี่ยวกับการทำงานของบัวมากเพียงพอ โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้บัว

โปรดปรึกษาแพทย์ เภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณมีความตั้งใจหรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น
  • หากคุณแพ้สารใด ๆ ในบัว หรือยาอื่น หรือสมุนไพรอื่น ๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่น ๆ
  • หากคุณเป็นโรคภูมิแพ้ประเภทใด ๆ เช่น แพ้อาหาร สีย้อม สารกันบูด หรือสัตว์

กฎระเบียบสำหรับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่ายารักษาโรค คุณจึงควรศึกษาข้อมูลให้มากเพื่อความปลอดภัยในการใช้ และการบริโภคอาหารบัว ควรมีคุณประโยชน์มากกว่าความเสี่ยง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ความปลอดภัยของบัว

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการใช้บัวระหว่างการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัยควรหลีกเลี่ยงการใช้งาน หรือสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรก่อนตัดสินใจใช้ทุกครั้ง

ความปลอดภัยต่อสภาวะอื่น ๆ

  • โรคเบาหวาน บัวอาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือดในบางคนได้ ควรเฝ้าระวังสัญญาณของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ และเฝ้าระวังระดับน้ำตาลในเลือดหากคุณเป็นโรคเบาหวานและกำลังใช้บัวเป็นยา
  • การผ่าตัด บัวอาจจะลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ มีข้อกังวลเกี่ยวกับการใช้บัวเป็นยานั้นอาจจะส่งผลกระทบกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดระหว่างและหลังจากการผ่าตัด ควรหยุดใช้บัวอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้บัว

คุณสามารถรับประทานบัวเป็นอาหารได้อย่างปลอดภัยแต่ยังไม่มีงานวิจัยมากพอที่จะพิสูจน์ได้ว่า การใช้บัวเป็นยานั้นปลอดภัยหรือไม่ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้บัวอาจเกิดอาการแพ้หากรับประทานบัว เช่น มีอาการคัน หรือผดผื่น

หากคุณมีข้อสงสัยใด ๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

บัวอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงรุนแรง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร

เพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาของบัว

ขนาดยาอาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และปัจจัยอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือสมุนไพรอาจไม่ปลอดภัยเสมอไป จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรให้ดีก่อนตัดสินใจใช้

รูปแบบของบัว

บัวมีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • บัวสด
  • แคปซูลสารสกัดจากบัว
  • ยาทิงเจอร์บัว

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Lotus https://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-124-lotus.aspx?activeingredientid=124 Accessed January 09, 2018

Nutritional and Health Benefits of the Lotus Plant https://caloriebee.com/nutrition/Health-Benefits-Of-Lotus-Roots-Or-Stem-Seeds-Leaves-And-Flowers Accessed January 09, 2018

The Power of the Lotus. https://www.healthline.com/health/8-uses-for-lotus. Accessed 27 March 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

12/06/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

อยากให้สมองมีสุขภาพดี ไม่ยาก แค่ใช้ สมุนไพรบำรุงสมอง

ตรีผลา สรรพคุณและผลข้างเคียงที่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 12/06/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา