การเสพติด

การเสพติด หรือภาวะเสพติด เป็นโรคทางชีวจิตสังคมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีในสมอง ทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่งมากเกินไป เพราะไม่สามารถต้านทานแรงผลักดันทางจิตใจได้ การเสพติดมีหลายรูปแบบ ที่รู้จักกันดี เช่น การติดเหล้า การติดยาเสพติด การเสพติดเกม หากปล่อยไว้นาน ก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้

เรื่องเด่นประจำหมวด

การเสพติด

คนติดยา อาการ สาเหตุ และการรักษา

คนติดยา หรือ การติดยาเสพติด (Drug Addiction) คือ สภาวะที่สมองกลับไปติดยาอีกครั้ง เป็นอาการเรื้อรังที่จะต้องมองหายาโดยอัตโนมัติและใช้ยา โดยไม่คำนึงว่าจะมีอันตรายจากการติดยา การติดยาเสพติดเป็นโรคทางสมองเพราะการใช้ยาในทางที่ผิดทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างและหน้าที่ของสมอง คำจำกัดความคนติดยา คืออะไร คนติดยา หรือ การติดยาเสพติด (Drug Addiction) คือ สภาวะที่สมองกลับไปติดยาอีกครั้ง เป็นอาการเรื้อรังที่จะต้องมองหายาโดยอัตโนมัติและใช้ยา โดยไม่คำนึงว่าจะมีอันตรายจากการติดยา การติดยาเสพติดเป็นโรคทางสมองเพราะการใช้ยาในทางที่ผิดทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างและหน้าที่ของสมอง แม้ว่าความจริงแล้ว ในครั้งแรกคนส่วนใหญ่อาจตัดสินใจใช้ยาโดยสมัครใจ แต่เมื่อเวลาผ่านไปได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสมองจึงทำให้เกิดการใช้ยาซ้ำ ๆ จนอาจไม่สามารถการควบคุมตนเองและความสามารถในการตัดสินใจได้ และบางครั้งอาจสร้างการกระตุ้นในการใช้ยา ดังนั้น เพื่อให้คนไข้จัดการกับการติดยาได้อย่างมีประสิทธิผลและกลับมาควบคุมชีวิตได้อีกครั้ง จาการการวิจัยแสดงให้เห็นว่า การผสมผสานการให้ยาในการรักษาการติดยาอย่างเหมาะสมกับการรักษาพฤติกรรมอาจเป็นวิธีที่ดีในการมั่นใจว่าการรักษาจะสำเร็จกับคนไข้ส่วนใหญ่ วิธีการรักษาอาจถูกจัดให้เหมาะกับรูปแบบการใช้ยาที่ผิดของคนไข้แต่ละราย พร้อมกับการให้ยารักษา สภาพทางจิตเวช และปัญหาทางสังคมอาจช่วยให้ฟื้นตัวและมีชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งยาอีกต่อไป เช่นเดียวกับโรคที่เรื้อรังอื่น ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคหัวใจ การติดยาสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิผล แต่ก็มีบ่อยที่คนไข้กลับมาติดยาเหมือนเดิมและใช้ยาอย่างผิดวิธีอีก การกลับมาติดยาเหมือนเดิมไม่ได้เป็นสัญญาณของความล้มเหลว แต่เป็นการบ่งชี้ว่า ควรที่จะเน้นการรักษาปรับหรือเปลี่ยนการรักษาเพื่อช่วยให้คนไข้ควบคุมตัวเองใหม่และฟื้นตัวได้ การติดยาเสพติดพบบ่อยแค่ไหน การติดยาเสพติดพบได้บ่อยมาก โปรดปรึกษาแพทย์หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการของคนติดยา อาการส่วนใหญ่ของคนติดยาอาจมีดังนี้ รู้สึกว่าต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง อาจจะต้องใช้ทุกวันหรือหลายครั้งต่อวัน มีความเครียดและกระตุ้นให้ใช้ยา จำเป็นต้องใช้ยาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมือนเดิม มั่นใจว่าตนเองมียาอยู่เสมอ จ่ายเงินกับยาได้เสมอ แม้จะไม่มีเงินพอ ไม่สามารถทำงานที่รับผิดชอบอยู่ได้หรือตัดห่างจากสังคมหรือกิจกรรมสันทนาการเพราะการใช้ยา ทำทุกสิ่งเพื่อให้ได้รับยาซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เช่น การขโมย ขับรถหรือทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง เมื่ออยู่ภายใต้อิทธิพลของยา คอยดูเวลาเพื่อที่จะได้ใช้ยาอีกครั้ง ไม่พยายามที่จะใช้หรือหยุดยา มีประสบการณ์อาการถอนยา (อาการที่เกิดจากการหยุดยาฉับพลัน) เมื่อพยายามหยุดยา ควรไปพบคุณหมอเมื่อใด ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์และระดับความรุนแรงของคุณ สาเหตุสาเหตุของการติดยาเสพติด การผิดปกติของสุขภาพจิต ปัจจัยอื่น ๆ อาจจะมีส่วนทำให้เกิดการติดยาและการพึ่งยามากขึ้น […]

สำรวจ การเสพติด

การเสพติด

การใช้เบนโซไดอะซีปีนในทางที่ผิด (Benzodiazepine abuse)

ยาเบนโซไดอะซีปีน บางชนิดเป็นยาที่แพทย์ในสหรัฐอเมริกาสั่งจ่ายให้ผู้ป่วยมากที่สุด เมื่อผู้ป่วยได้รับและใช้ยาเหล่านี้สำหรับการออกฤทธิ์ระงับประสาทโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง จะถือเป็น การใช้เบนโซไดอะซีปีนในทางที่ผิด คำจำกัดความการใช้เบนโซไดอะซีปีนในทางที่ผิด คืออะไร เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) เป็นยาประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในฐานะ “ยาระงับประสาท (tranquilizers)” ชื่อที่คุ้นเคย ได้แก่ แวเลียม (Valium) ซาแน็กซ์ (Xanax) ยาเบนโซไดอะซีปีน บางชนิดเป็นยาที่แพทย์ในสหรัฐอเมริกาสั่งจ่ายให้ผู้ป่วยมากที่สุด เมื่อผู้ป่วยได้รับและใช้ยาเหล่านี้สำหรับการออกฤทธิ์ระงับประสาทโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง จะถือเป็น การใช้เบนโซไดอะซีปีนในทางที่ผิด แพทย์อาจสั่งยาเบนโซไดอะซีปีนสำหรับอาการทางร่างกายที่ไม่ผิดกฎหมาย ดังต่อไปนี้ ภาวะวิตกกังวล โรคนอนไม่หลับ ภาวะถอนพิษสุรา การรักษาอาการชัก การคลายกล้ามเนื้อ รักษาภาวะความจำเสื่อม (amnesia) ใช้ก่อนการให้ยาระงับความรู้สึก เช่น ก่อนการผ่าตัด เบนโซไดอะซีปีนออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง ก่อให้เกิดการระงับประสาท และการคลายกล้ามเนื้อ และลดระดับความวิตกกังวล แม้จะมีการผลิตเบนโซไดอะซีปีนมากกว่า 2,000 ชนิด แต่ในปัจจุบัน ก็มีเพียง 15 ชนิดเท่านั้นที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยาชนิดนี้มักจำแนกโดยระยะเวลาที่ยาออกฤทธิ์ ยาที่มีฤทธิ์ระยะสั้นมาก เช่น ยาไมดาโซแลม (Midazolam) อย่างเวอร์เซด (Versed) ยาทรัยอาโซแลม (triazolam) อย่างฮาลซิออน (Halcion) ยาที่มีฤทธิ์ระยะสั้น เช่น ยาอัลปราโซแลม (Alprazolam) อย่างซาแนกซ์ ( Xanax) ยาลอราซีแพม (lorazepam) อย่างอะทีแวน […]


การเสพติด

สัญญาณที่บอกว่าคุณกำลัง เสพติดการออกกำลังกาย

เสพติดการออกกำลังกาย ไม่ได้ถือว่าเป็นความผิดปกติทางจิต แต่อย่างไรก็ตาม การออกกำลังกายมากเกินไปจนเสพติด อาจส่งผลเสียต่อร่างกาย เช่นทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆ อย่างการกินผิดปกติ ภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บ และร่างกายเหนื่อยล้าเกินไปด้วย Hello คุณหมอ จึงชวนมาเช็คว่า คุณมีสัญญาณและอาการ ของการเสพติดการออกกำลังกายหรือเปล่า สัญญาณของการ เสพติดการออกกําลังกาย คุณออกกำลังกายเพื่อชดเชย หรือเพื่อลงโทษตัวเอง สัญญาณที่ชัดเจนที่สุด ว่าการออกกำลังกายเริ่มเป็นปัญหาแล้ว คือเมื่อคุณออกกำลังกายบ่อยเกินไป และหนักเกินไป เพื่อชดเชยหรือเพื่อลงโทษตัวเอง สำหรับการกินอาหาร เช่น ออกกำลังกายอย่างหนักเพื่อชดเชยมื้ออาหารที่กิน หรือออกกําลังกายเฉพาะส่วนมากเกินไป ในส่วนของร่างกายที่คุณรู้สึกไม่พอใจ คุณอยู่ที่ฟิตเนสตลอดเวลา ถ้าพนักงานในฟิตเนส รู้จักคุณมากกว่าเพื่อนร่วมงาน อาจเป็นสัญญาณว่า คุณใช้เวลามากเกินไปในยิม ซึ่งโดยปกติแล้ว เรามักจะใช้เวลาอยู่ในยิมประมาณ 1 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนผู้ที่มีแนวโน้มว่าจะอยู่ในยิมนานเกินไป อาจใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน หรือออกกำลังกายที่ยิม 2-3 ครั้งต่อวัน คุณรู้สึกเหนื่อยตลอดเวลา การออกกำลังกายจนส่งผลต่อสุขภาพ มักจะทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า และเหนื่อยจัดจากการใช้เวลานาน ในการออกกำลังกาย จนไม่มีเวลาที่จะดูแลตัวเอง นอกจากนี้ความเหนื่อยล้าจากการออกกำลังกายอย่างหนัก อาจทำให้ร่างกายเกิดความเครียด จนทำให้ป่วย หรือบาดเจ็บได้ คุณเปลี่ยนตารางเวลา เพื่อมาออกกำลังกาย ถ้าคุณปฏิเสธนัดต่างๆ ในนาทีสุดท้าย หรือปรับตารางเวลาให้มีแต่การออกกำลังกาย ก็มีแนวโน้มว่าจะใช้เวลาออกกำลังกายมากเกินไป นอกจากนี้ผู้ที่ เสพติดการออกกําลังกาย อาจปฏิเสธการไปกินอาหารเย็นกับเพื่อน […]


การเสพติด

เสพติดเซ็กส์ เป็นอย่างไร สังเกต สัญญาณและอาการ ได้อย่างไร

เสพติดเซ็กส์ เป็นอาการของ พฤติกรรมทางเพศแบบย้ำทำ (Compulsive Sexual Behavior) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะความต้องการทางเพศสูงกว่าปกติ (Hypersexuality)  หรือหมายถึงการเสพติดการมีเพศสัมพันธ์ (Sexual addiction) ซึ่งเป็นอาการของการหมกมุ่นในเรื่องเพศมากกว่าปกติ เช่น จินตนาการถึงเรื่องทางเพศมากผิดปกติ ความต้องการมีเพศสัมพันธ์มากกว่าปกติ หรือมีพฤติกรรมที่ยากจะควบคุม โดยการเสพติดการมีเพศสัมพันธ์นั้น สามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพ งาน ความสัมพันธ์ และส่งผลต่อด้านต่าง ๆ ในชีวิต [embed-health-tool-bmi] สัญญาณและอาการของภาวะ เสพติดเซ็กส์ สัญญาณและอาการ ที่บอกว่าอาจเสพติดเซ็กส์ ได้แก่ จินตนาการในเรื่องทางเพศซ้ำ ๆ และรุนแรงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความต้องการและพฤติกรรมทางเพศที่ใช้เวลานาน รวมถึงรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมได้ รู้สึกมีแรงขับเคลื่อนในการทำพฤติกรรมทางเพศบางอย่าง และรู้สึกว่าได้ปลดปล่อยความตึงเครียดหลังจากทำพฤติกรรมนั้น แต่ในขณะเดียวกัน ก็รู้สึกผิดและมีความสำนึกผิดด้วย พยายามแล้วแต่ไม่สำเร็จ ในการที่จะลดหรือควบคุมความต้องการทางเพศ พฤติกรรมและจินตนาการทางเพศ ใช้ความต้องการทางเพศเพื่อหลีกหนีจากปัญหาอื่น เช่น ความโดดเดี่ยว ความกังวล หรือความเครียด มีพฤติกรรมทางเพศที่อาจส่งผลร้ายแรงในภายหลัง เช่น มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหรือแพร่เชื้อ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ นอกจากนี้ อาจสูญเสียความสัมพันธ์ดี ๆ หรือมีปัญหากับที่ทำงาน มีปัญหาเรื่องเงิน รวมถึงทำสิ่งผิดกฎหมาย […]


การเสพติด

โรคชอบสะสมสิ่งของ ไม่ใช่เรื่องของนักสะสม แต่เป็นความบกพร่องทางจิต

หลายคนมักจะล้อกันขำๆ ว่าคุณหมอส่วนใหญ่นั้นเป็นโรครักความสะอาด เพราะพวกเขาพบว่าแบคทีเรียมีอยู่ทุกที่ แต่พวกคุณรู้ไหมว่าในโลกนี้ ยังมีโรคที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับพวกรักความสะอาด ซึ่งมันน่ากลัวกว่ากันมาก โรคนี้มีชื่อเรียกว่า โรคชอบสะสมสิ่งของ (hoarding disorder) โรคชอบสะสมสิ่งของ คืออะไร โรคชอบสะสมสิ่งของเป็นโรคที่คนๆ หนึ่งชอบสะสมสิ่งของเป็นจำนวนมากและเก็บมันอย่างไร้ระบบระเบียบ สิ่งของเหล่านี้อาจจะเป็นได้ตั้งแต่สิ่งของเล็กๆ น้อยๆ ไม่ได้มีค่าหรือสลักสำคัญแต่อย่างใด แต่ผลที่ตามก็คือสิ่งของเหล่านั้นจะถูกปล่อยทิ้ง วางไว้ อย่างระเกะระกะ กล่าวให้เข้าใจง่ายๆ คือ การที่ใครคนหนึ่งมีภาวะชอบสะสมของที่ไม่มีคุณค่าหรือไม่จำเป็นอีกต่อไปแล้ว เช่น จดหมาย ถุงเก่าๆ หรือ สิ่งของที่คิดว่าจะนำเอากลับมาซ่อมแซมหรือนำกลับมาใช้ใหม่ บางครั้งเพียงเพราะว่า “เสียดาย” ที่จะทิ้ง ก็เลยเก็บสิ่งของเหล่านั้นไว้ ตั้งแต่ถุงพลาสติก กระดาษเช็ดปากที่ใช้แล้วในร้านอาหาร ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้พยายามเก็บไว้ แม้ว่าสิ่งของเหล่านั้นจะไร้ประโยชน์แล้วก็ตาม พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้พื้นที่อยู่อาศัยรกรุงรัง และไร้ระเบียบมาก เต็มไปด้วยของสะสมที่มากจนล้นออกมาถึงห้องครัวและห้องน้ำ จนบางครั้งไม่เหลือพื้นที่ใช้สอย ซึ่งไม่เพียงแค่สิ่งของเท่านั้น โรคชอบสะสมนั้นยังรวมถึงพฤติกรรมที่ชอบเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมากอีกด้วย สาเหตุของโรคชอบสะสมสิ่งของคืออะไร ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายถึงเหตุผลที่แท้จริงของโรคชอบสะสมสิ่งของได้ บ้างก็มีการโต้แย้งว่าอาจเป็นผลลัพธ์ที่ตามมาจากอาการป่วยของโรคชนิดอื่นๆ เช่น โรคกลัวการเปลี่ยนแปลง จุกจิกและชอบอะไรเดิมๆ ที่เคยซื้อมาก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านระบุว่า ลึกๆ แล้ว คนเหล่านี้มีอาการซึมเศร้ารุนแรง (depression) เป็นโรคจิตเภท (schizophrenia) หรือ โรคย้ำคิดย้ำทำ (obsessive-compulsive disorder) ที่ไม่อาจจัดการเก็บข้าวของรอบตัวให้เป็นระเบียบได้ ด้วยอาการเหล่านี้ ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกเหงา […]


การเสพติด

เซโรโทนิน ซินโดรม (Serotonin Syndrome)

คำจำกัดความเซโรโทนิน ซินโดรม คืออะไร เซโรโทนิน (Serotonin) เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อให้เซลล์สมองและเซลล์ระบบประสาทอื่นๆ ได้สื่อสารซึ่งกันและกันได้ เชื่อกันว่าเซโรโทนินในปริมาณที่น้อยเกินไปในสมอง จะมีบทบาทให้เกิดโรคซึมเศร้า อย่างไรก็ดี เซโรโทนินในปริมาณที่มากเกินไปในสมอง สามารถก่อให้เกิดการทำงานของเซลล์ประสาทที่มากเกินไป ทำให้เกิดการสะสมของอาการที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต ที่เรียกว่า เซโรโทนิน ซินโดรม (Serotonin Syndrome) เซโรโทนิน ซินโดรม พบได้บ่อยเพียงใด เซโรโทนิน ซินโดรมเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้จากการใช้ยารักษาโรคบางชนิด โดยเฉพาะกับยารักษาโรคซึมเศร้า แต่สำหรับความถี่ในการพบโรคนี้นั้น โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการเซโรโทนิน ซินโดรมมีอะไรบ้าง อาการทั่วไปของเซโรโทนิน ซินโดรม ได้แก่ อาการมึนงง กระสับกระส่ายหรือกระวนกระวาย รูม่านตาขยาย ปวดศีรษะ ความเปลี่ยนแปลงของความดันเลือดและ/หรืออุณหภูมิร่างกาย คลื่นไส้และ/หรืออาเจียน ท้องร่วง อัตราการเต้นของหัวใจที่เร็ว มีอาการสั่น สูญเสียการประสานงานกันของกล้ามเนื้อ หรือกล้ามเนื้อกระตุก มีอาการสั่นและขนลุก มีเหงื่อออกมาก ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง เซโรโทนิน ซินโดรมสามารถเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ หากคุณมีอาการใด ๆ เหล่านี้ คุณหรือคนใกล้ตัวควรไปพบหมอโดยทันที มีไข้สูง มีอาการชัก หัวใจเต้นผิดปกติ ไม่รู้สึกตัว อาจมีบางอาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับอาการใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณสงสัยว่าอาจมีอาการเซเรโทนิน ซินโดรมหลังจากเริ่มใช้ยาตัวใหม่หรือเพิ่มขนาดยาที่คุณใช้อยู่ ให้แจ้งแพทย์ทันที หรือไปยังห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาล หากคุณมีอาการที่รุนแรงหรือแย่ลงอย่างรวดเร็ว ให้เข้ารับการรักษาฉุกเฉินโดยทันที สาเหตุเซโรโทนิน ซินโดรม เกิดจากอะไร เซโรโทนิน ซินโดรมสามารถเกิดขึ้นได้ หากคุณกำลังใช้ยาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยารักษาโรคซึมเศร้า ที่ส่งผลต่อระดับเซโรโทนินในร่างกาย ความเสี่ยงมากที่สุดของเซโรโทนิน ซินโดรมเกิดขึ้นได้ หากคุณกำลังใช้ยาสองชนิด หรือมากกว่า และ/หรืออาหารเสริมร่วมกัน ที่ส่งผลต่อเซเรโทนิน ภาวะดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้มากกว่า หากคุณเริ่มใช้ยาเป็นครั้งแรกหรือเพิ่มขนาดยา ประเภทของยารักษาโรคซึมเศร้าที่แพทย์มักสั่งมากที่สุด […]


การเสพติด

สัญญาณเตือนที่บอกว่าคุณ ติดมือถือ มากเกินไปแล้ว

ติดมือถือ เป็นโรคที่กำลังระบาดอย่างหนักในทั่วทุกภูมิภาคของโลก ซึ่งมีผลร้ายต่อสุขภาพมากมายหลายประการ ฉะนั้น ถ้าใครยังไม่รู้ตัวว่าเป็นโรคนี้อยู่ ก็ลองตรวจเช็ดดูนะว่าคุณมีอาการดังต่อไปนี้อยู่หรือเปล่า 5 สัญญาณเตือนว่าคุณกำลัง ติดมือถือ 1. คุณประสาทกินเมื่อแบตมือถือเหลือน้อย ถ้าหัวใจของคุณเต้นตูมตามหรือมีเหงื่อออกที่มือ เวลาที่แบตมือถือกำลังจะหมดล่ะก็ ขอให้เข้าใจไว้เลยว่าคุณกำลังโดนโรคติดโทรศัพท์มือถือเล่นงานเข้าให้แล้วล่ะ เนื่องจากการวิตกกังวลว่าคุณจะไม่สามารถติดต่อใครได้ ไม่สามารถเช็คอีเมล และไม่สามารถตรวจดูความเคลื่อนไหวในสื่อสังคมออนไลน์นั้น คือตัวบ่งบอกที่ชัดเจนว่า…คุณเป็นโรคติดโทรศัพท์มือถือ! 2. คุณออกจากบ้านไม่ได้ถ้าไม่มีมือถือ การไม่มีสมาธิที่จะทำอะไรได้ถ้าไม่มีสมาร์ทโฟนอยู่ในมือนั้น คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังหมกหมุ่นอยู่กับอะไรแบบไร้สติ ซึ่งควรหาวิธีบำบัดโรคติดโทรศัพท์มือถือได้แล้ว เพราะโลกใบนี้มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ตั้งมากมาย ถ้าคุณเอาแต่ก้มหน้าก้มตาสไลด์หน้าจอโทรศัพท์มือถืออยู่ คุณก็จะพลาดสิ่งที่น่าสนใจเหล่านี้ไปจนหมด 3. คุณรู้สึกหงุดหงิดมากถ้าใช้มือถือไม่ได้ สัญญาณที่ชัดเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ คุณจะรู้สึกระทมทุกข์มากถ้าอยู่ห่างจากโทรศัพท์มือถือ และรู้สึกประสาทเสียเอามากๆ ถ้าไม่สามารถใช้โทรศัพท์มือถือได้ ซึ่งถ้ามีใครมาบอกให้คุณวางมือถือลงในระหว่างดินเนอร์ล่ะก็ คุณอาจมีอารมณ์ฉุนเฉียวขึ้นมาเลยก็ได้ 4. คุณเช็คมือถือในขณะขับรถ การเช็คมือถือขณะขับรถ เป็นการกระทำที่เสี่ยงต่อชีวิตทั้งของคุณเองหรือของผู้อื่น อาการนี้ก็เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคติดโทรศัพท์มือถือขั้นรุนแรง เพราะนั่นจะทำให้คุณตัดสินใจอะไรได้ช้ากว่าตอนเมาแล้วขับซะอีกนะ แถมยังช้าเป็นสามเท่า เมื่อเปรียบเทียบกับการยกโทรศัพท์ขึ้นมาแนบหูในขณะขับรถ นี่เป็นการกระทำที่บ่งบอกว่าคุณกลัวจะส่งข้อความไม่ทันมากกว่าจะกลัวตาย 5. คุณใช้มือถือเช็คเรื่องงานในขณะลาพักร้อน ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้คน 60 เปอร์เซ็นต์ที่กลับมาจากการไปเที่ยวพักร้อนนั้น มักจะไม่รู้สึกกระปรี้เปร่าหรือเฟรซขึ้น เนื่องจากยังต้องติดต่อเรื่องงานและเช็คอีเมลอยู่ ซึ่งนี่เป็นสัญญาณที่ชัดเจนของโรคติดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะทำให้ไม่รุ่งทั้งในเรื่องการงานและชีวิตส่วนตัว ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ในการใช้มือถือ สำหรับผู้คนโดยส่วนใหญ่แล้ว การควบคุมการใช้สมาร์ทโฟนและอินเตอร์เน็ตน้น ไม่ใช่การเลิกใช้แบบหักดิบ แต่เป็นอะไรที่คล้ายๆ การควบคุมอาหารนั่นแหละ เพราะยังไงๆ คุณก็ยังต้องกินอาหารให้มีชีวิตอยู่ต่อไป แต่แค่กินให้น้อยลง เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีขึ้นเท่านั้นเอง และนี่คือวิธี… จัดตารางการใช้โทรศัพท์มือถือ เช่น จัดตารางการใช้โทรศัพท์ในช่วงเวลาที่แน่นอนในแต่ละวัน โดยอาจให้รางวัลตนเองที่จะมีเวลาใช้โทรศัพท์ได้มากขึ้น ถ้าสามารถทำงานบ้านหรืองานอะไรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ปิดโทรศัพท์มือถือ ในช่วงเวลาที่แน่นอนในแต่ละวัน อย่างเช่น เวลาที่คุณขับรถ […]


การเสพติด

ฟุตบอลกำลังฮิต แต่ที่ติดน่ะ ติดพนัน บอลกันอยู่หรือเปล่า?

คุณอาจคิดว่าการซื้อหวยเพื่อการลุ้นเล็กๆ น้อยๆ การตั้งวงเล่นป๊อกเด้งกับเพื่อน หรือพนันฟุตบอลคู่โปรดติดปลายนวม เป็นการผ่อนคลายอย่างหนึ่ง แต่หากปล่อยตัวปล่อยใจให้เพลิดเพลินไปกับการพนันบ่อยๆ เข้า คุณก็เสี่ยงที่จะกลายเป็น โรคติดพนัน ที่ทำร้ายทั้งตัวเองและคนที่คุณรักได้ โดยเฉพาะเดี๋ยวนี้ การติดพนันบอล กำลังเป็นรูปแบบการพนันที่กำลังแพร่หลายและส่งผลกระทบต่อผู้คนจำนวนมาก Hello คุณหมอ จะพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับโรคนี้ให้มากขึ้น เผื่อว่าคนใกล้ตัวหรือแม้แต่ตัวคุณเอง อาจจะกำลังมีความเสี่ยงอยู่ โรคติดพนัน เป็นอย่างไร การพนันอาจทำให้เรารู้สึกสนุกกับการลุ้นความเสี่ยง หรือเพื่อหลีกหนีจากปัญหามรสุมในชีวิต แต่รู้หรือไม่ว่า การพนัน ไม่ได้สร้างปัญหาสังคมและปัญหาเศรษฐกิจเท่านั้นแต่ยังเป็นปัญหาที่ส่งผลต่อสุขภาพ อารมณ์ พฤติกรรมความรุนแรง จนไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติสุขได้ โดยสมาคมแพทย์อเมริกาได้ระบุให้ โรคติดพนัน เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งตั้งแต่ปีพ.ศ. 2523 เป็นภาวะความผิดปกติทางด้านสุขภาพจิตและจิตเวชที่ส่งผลต่อการสั่งงานของสมองในส่วนของการให้รางวัล ที่รวมพนันทุกชนิด ไม่เว้นแต่ พนันบอล คู่ที่เตะเมื่อคืน ปัญหาดังกล่าวต้องรับการรักษา ก่อนจะส่งผลบานปลายจนชีวิตต้องพังเหมือนที่เขาว่า ไฟไหม้บ้านสิบครั้งไม่เท่ากับเล่นการพนันครั้งเดียว  สาเหตุของการติดพนัน หลายคนอาจสงสัยว่าแล้วอาการติดพนันเกิดจากอะไร เป็นเพียงความอยากที่นึกขึ้นได้เองหรือไม่ แท้ที่จริงแล้วมีหลากหลายปัจจัยทั้งปัจจัยภายในและภายนอกที่สัมพันธ์กัน ก่อให้เกิดอาการติดพนัน พันธุกรรม มีการศึกษาที่ระบุว่าผู้ป่วยที่ติดการพนันมักมีการถ่ายทอดทางพันธุกรรม สามารถกล่าวได้ว่าการป่วยติดพนันสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปยังลูกหลานได้นั่นเอง  สังคมและสิ่งแวดล้อม บ้าน ชุมชน สภาพแวดล้อมรอบบ้านที่เป็นแหล่งการพนัน หรือ พ่อ แม่ เพื่อนฝูงที่ชื่นชอบการเล่นพนันเป็นเครื่องมือชั้นดีในการกะตุ้นให้มีพฤติกรรมติดการพนัน  สิ่งยั่วยุ โดยเฉพาะจากสื่อโซเชียลมีเดียที่ทำให้การเข้าถึงการพนันเป็นไปได้โดยง่ายดาย ทำให้คนมีแนวโน้มเริ่มเล่นการพนัน และเล่นมากขึ้นในผู้ที่เล่นพนันอยู่แล้ว  ระบบสารเคมีในสมองผิดปกติ เกิดการหลั่งสารโดพามีนในสมองมาก ซึ่งเป็นสารที่ทำให้บุคคลรู้สึกตื่นเต้น เป็นสุข […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน