ความผิดปกติทางอารมณ์

อารมณ์ของคนเราเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์รอบตัวได้เสมอ แต่หากอารมณ์แปรปรวนเกินไป จนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรม และการใช้ชีวิต นั่นอาจเป็นสัญญาณว่าคุณมี ความผิดปกติทางอารมณ์ ที่พบบ่อย เช่น โรคไบโพล่าร์ โรคซึมเศร้า ปัญหานี้ หากสังเกตได้ไว และรักษาได้เร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งดีต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตประจำวันมากขึ้นเท่านั้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความผิดปกติทางอารมณ์

หัวร้อน เกิดขึ้นได้อย่างไร และควรควบคุมอารมณ์อย่างไร

หัวร้อน ไม่ได้หมายถึงศีรษะที่ร้อนเพราะสภาพอากาศร้อนอบอ้าวของเมืองไทย แต่หมายถึงอาการหงุดหงิดหรือโกรธซึ่งอาจเกิดจากปัญหาชีวิต การทำงาน ปัญหาสุขภาพ ปัญหาสุขภาพจิตหรือจากสาเหตุอื่น ๆ จนบางคนอาจแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวต่อผู้อื่นทั้งทางวาจาและทางกาย ดังนั้น การเรียนรู้วิธีควบคุมอารมณ์ตัวเองและวิธีรับมือเมื่อต้องอยู่กับคนหัวร้อน จึงอาจช่วยให้หลายคนสามารถใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น [embed-health-tool-heart-rate] หัวร้อน เกิดจากอะไร หัวร้อน คือ สภาวะทางอารมณ์ เช่น ความหงุดหงิด ความโกรธ ที่อาจเกิดจากหลายสาเหตุ โดยบางคนอาจมีอารมณ์หัวร้อนอย่างเฉียบพลันจากสิ่งยั่วยุเพียงเล็กน้อย หรือบางคนอาจเกิดจากการสะสมของอารมณ์ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และแสดงออกมาเป็นอารมณ์โกรธเพียงชั่ววูบ จนอาจแสดงพฤติกรรมก้าวร้าว เช่น การเหวี่ยงวีน การตะคอก ด่าทอ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายร่างกายผู้อื่น แม้ว่าบุคคลนั้นจะเป็นคนกระทำผิดหรือไม่ก็ตาม หัวร้อนเป็นปัญหาสุขภาพจิตหรือไม่ หัวร้อนเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยอาจเกิดจากปัญหาในชีวิต ปัญหาสุขภาพ สุขภาพจิต หรือปัญหาอื่น ๆ ดังนี้ ความเครียดในชีวิต เช่น การหย่าร่าง การทำงาน ฐานะทางการเงิน ความเหงา ความเหนื่อยล้า สิ่งเหล่านี้สามารถกระตุ้นทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดและหัวร้อนได้ การนอนหลับไม่เพียงพอ จากพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือภาวะสุขภาพ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปัญหาการนอนไม่หลับ สามารถทำให้ร่างกายอ่อนล้า กระตุ้นให้เกิดความเครียดมากขึ้นและอาจทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิดได้เช่นกัน การรับประทานคาเฟอีน เมื่อรู้สึกอ่อนเพลียหรือนอนหลับไม่เพียงพอ การรับประทานคาเฟอีนสามารถกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกสดชื่นได้ แต่เมื่อคาเฟอีนหมดฤทธิ์ ความอ่อนเพลียก็จะกลับคืนมาซึ่งสามารถกระตุ้นความหงุดหงิดและทำให้หัวร้อนได้ ปัญหาสุขภาพ […]

สำรวจ ความผิดปกติทางอารมณ์

ความผิดปกติทางอารมณ์

น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการซึมเศร้า ได้จริงหรือไม่

น้ำมันหอมระเหยเป็นสารสกัดจากพืชเข้มข้น สามารถใช้ในทางการแพทย์ได้หลายอย่าง นอกจากนี้น้ำมันหอมระเหยยังสามารถใช้ไล่ยุง ช่วยลดอาการปวดหลัง ปวดคอ นอกจากนี้เรายังสามารถใช้ น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการซึมเศร้า ได้อีกด้วย ซึ่งทาง Hello คุณหมอ มีประโยชน์ของน้ำมันหอมระเหยที่ใช้สำหรับการบำบัดภาวะซึมเศร้ามาฝากกันค่ะ น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการซึมเศร้า มีอะไรบ้าง ลาเวนเดอร์ กลิ่นจากดอกลาเวนเดอร์ เป็นกลิ่นที่ได้รับการยกย่องว่ามีฤทธิ์ช่วยให้รู้สึกสงบ ผ่อนคลาย นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าน้ำมันหอมระเหยจากดอกลาเวนเดอร์มีส่วนช่วยคลายความกังวล ลดความเครียดช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นได้ กะทือ จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2014 พบว่ากะทือมีคุณสมบัติในการต้านภาวะซึมเศร้า จากการศึกษา นักวิจัยได้ให้หนูทดลองดมน้ำมันหอมระเหยจากกะทือ แล้วพบว่าหนูเหล่านั้นมีความเครียดน้อยลง นอกจากนี้ยังมีพฤติกรรมซึมเศร้าน้อยลง จากการวิจัย นักวิจัยคิดว่าน้ำมันกะทือจะไปกระตุ้นสมองที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ซึ่งจะไปช่วยชะลอการหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียด หรือคอร์ติซอล (Cortisol) ได้ น้ำมันหอมระเหยจากมะกรูด กลิ่นจากพืชตระกูลส้ม อย่างมะกรูดนั้นมีส่วนช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2013 พบว่าน้ำมันหอมระเหยจากมะกรูดมีส่วนช่วยลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่กำลังรอการผ่าตัดอย่างมีนัยสำคัญมะกรูดอาจช่วยลดการหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดเมื่อตกอยู่ในช่วงสถานการณ์ที่มีความเครียด นอกจากนี้ยังมีน้ำมันหอมระเหยชนิดอื่น ๆ ที่มีส่วนช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายอีกมากมาย เช่น น้ำมันดอกคาโมไมล์ น้ำมันดอกมะลิ น้ำมันจากดอกไม้จันทน์ กำยาน น้ำมันหอมระเหยดอกส้ม น้ำมันหอมระเหยจากเกรปฟรุต ใช้น้ำมันหอมระเหย บรรเทาอาการซึมเศร้า อย่างไรให้ได้ผล สารเคมีที่มีอยู่ในน้ำมันหอมระเหยจะทำปฏิกิริยากับร่างกาย เมื่อมีการสูดดมแล้วไปกระตุ้นสมอง หรือการดูดซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือด เมื่อเซลล์เฉพาะทางในส่วนบนของจมูก ตรวจพบกลิ่น เซลล์เหล่านั้นจะทำหน้าที่ในการส่งแรงกระตุ้นไปยังสมองตามเส้นประสาทรับกลิ่น บริเวณจุดรับกลิ่นที่เรียกว่า ออลแฟคทอรี บัลบ์ (Olfactory bulb) เมื่อออลแฟคทอรี บัลบ์ได้รับกลิ่นแล้ว ก็จะเกิดการประมวลผล […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

Anhedonia หรือภาวะสิ้นยินดี

หากมีความรู้สึกเฉยๆ กับสิ่งที่อยู่รอบตัว โดยเป็นความรู้สึกที่ไม่ได้ทั้งเศร้าหรือยินดีแต่อย่างใด อาจกล่าวได้ว่าทุกอย่างรอบตัวดูว่างเปล่า ไม่ตอบสนองและไม่มีผลต่อความรู้สึกอะไรเลย แม้กระทั่งเรื่องที่เคยทำให้มีความสุขก็ตาม อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความเจ็บป่วยทางจิตใจที่เรียกว่า Anhedonia หรือ ภาวะสิ้นยินดี Anhedonia หรือ ภาวะสิ้นยินดี คืออะไร Anhedonia หรือภาวะสิ้นยินดี เป็นอาการของผู้ที่ไม่มีความรู้สึกร่วมกับสิ่งใดทั้งสิ้น ไม่ยินดียินร้ายหรือสุขทุกข์อะไร ทั้งที่แต่ก่อนสามารถสร้างความสุขให้กับตัวเองได้ด้วยกิจกรรมที่ชื่นชอบ โดยในทางการแพทย์ภาวะนี้เป็นอาการทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติทางด้านอารมณ์ชนิดซึมเศร้า และยังสามารถพบได้ในโรคจิตเภทหรือความผิดปกติทางจิตแบบอื่นๆ สังเกตพฤติกรรมเสี่ยงเป็น Anhedonia หรือไม่  มีการตอบสนองต่อกิจกรรมที่ทำให้เกิดความสุขลดลง ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่อยากพบเจอผู้คนภายนอกหรือพูดคุยกับใคร ขาดความกระตือรือร้นต่อหรือรู้สึกเฉยชาต่อกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมที่ชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ชอบนอนอยู่เฉย ๆ ไม่ค่อยอยากทำอะไรด้วยความรู้สึกที่ว่าทำไปก็ไม่มีประโยชน์ มีความสนใจดูแลตัวเองน้อยลง แม้ว่าตัวเองจะดูแย่แค่ไหนก็ไม่ได้รู้สึกอะไรทั้งสิ้น เริ่มมีความรู้สึกไม่อยากทำงานหรือเดินทางออกไปไหน เริ่มมีพฤติกรรมทำร้ายตัวเองง่ายขึ้น จนกระทั่งมีความคิดที่ไม่อยากมีชีวิตอยู่ต่อไป จึงทำให้รู้สึกไม่กลัวหากต้องจากโลกนี้ไป วิธีการรักษา Anhedonia เมื่อทราบแล้วว่าตัวเองนั้นมีอาการที่เสี่ยงต่อการเป็น Anhedonia ควรรีบไปพบจิตแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องและดูแลตัวเองดังต่อไปนี้ ควรรับประทานยาตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ อย่าลืมให้กำลังใจตัวเองบ้าง ซึ่งอาจจะค่อย ๆ เริ่มจากการทำสิ่งที่ตัวเองเคยชอบอย่างไม่กดดันตัวเอง เพื่อช่วยฝึกให้กลับมามีความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ เหมือนเดิมที่เคยรู้สึก ทำจิตใจให้สงบ เช่น การเข้าวัดทำบุญ การปฎิบัติธรรม การนั่งสมาธิ เป็นต้น หากิจกรรมทำร่วมกับผู้อื่น เพื่อให้เกิดมีส่วนร่วมในสังคม รับมืออย่างไรหากคนใกล้ตัวมีอาการเป็น […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

ระวัง! เศร้า...เครียด...แบบสุดขีด อาจทำให้คุณ สูญเสียความจำ ได้นะ

การ สูญเสียความจำ หมายถึง การที่เราไม่สามารถจดจำบางสิ่งบางอย่างในอดีต หรือสิ่งที่เราเคยทำได้ กลับทำไม่ได้ขึ้นมาเสียเฉยๆ สาเหตุของการสูญเสียความจำอาจมีได้หลายประการ หนึ่งในนั้นคือ ความเครียด ความเศร้า หรือเหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจที่เราต้องเผชิญในช่วงเวลาหนึ่ง ก่อให้เกิดภาวะที่เรียกว่า “ภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์” ดังนั้น Hello คุณหมอ ขอนำข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาวะนี้มาฝากกันในบทความนี้ ทำความเข้าใจกับการ สูญเสียความจำ จากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ ภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ (Disscociative amnesia / Psychogenic amnesia) เป็นภาวะสูญเสียความจำ ซึ่งมีลักษณะอาการเฉพาะคือ ความทรงจำจะสูญหายไปบางช่วงจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจขั้นรุนแรง และอาจจะเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการนี้ จะไม่สามารถระลึกถึงข้อมูลส่วนตัวสำคัญๆ ได้ ซึ่งโดยปกติข้อมูลส่วนนี้จะไม่สูญหายไป หากเป็นการหลงลืมตามปกติ ภาวะนี้ถูกจัดเป็นกลุ่มโรคหลงผิด ที่ไม่ใช่โรคจิตเภท วิธีการรักษาจึงมักต้องหาสาเหตุที่ทำให้สูญเสียความจำ และจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อรักษา สาเหตุของภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์มีอะไรบ้าง ภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์กันโดยตรงกับการเผชิญกับความเครียดขั้นรุนแรง ซึ่งอาจเกิดมาจากการผ่านเหตุการณ์ร้ายๆ เช่น สงคราม การถูกทารุณ อุบัติเหตุ หรือภัยพิบัติอื่นๆ ที่บุคคลเหล่านั้นได้เผชิญหรือพบเจอมา หรืออาจเกิดจากความขัดแย้งภายในจิตใจ เช่น ความรู้สึกผิดในใจ ปัญหาค้างคาใจที่ไม่อาจแก้ไขได้ หรือความเสียใจในการ กระทำของตนเอง อาการของภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ อาการทั่วไปของผู้ป่วยที่มีภาวะสูญเสียความจำจากการกระทบกระเทือนทางอารมณ์ คือ ไม่สามารถจดจำข้อมูลเกี่ยวกับตนเองเหตุการณ์และรายละเอียดพื้นฐานของตนเอง แม้กระทั่ง ชื่อตัวเอง ในผู้ป่วยบางรายแสดงอารมณ์ไม่พอใจ ในขณะที่บางรายก็มีทีท่าเหนื่อยหน่ายและเฉยเมย […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย อารมณ์แปรปรวน ขนาดนี้ ทำยังไงดีล่ะ

ทุกคนล้วนเคยประสบกับอาการ อารมณ์แปรปรวน (Mood Swing) อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต อาการอารมณ์แปรปรวนก็คือ การเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน จากความรู้สึกสนุกสนานมีความสุข ไปเป็นเศร้าหมองหรือหวาดกลัว อารมณ์แปรปรวนสามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยสิ่งแวดล้อมรอบตัว แม้เรื่องนั้นจะดูไม่สำคัญสำหรับคนอื่นก็ตามที ในบางครั้งคุณก็อาจมีอารมณ์แปรปรวนได้โดยไม่ทราบสาเหตุ สภาพร่างกายก็สามารถเป็นสาเหตุให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน อาการของอารมณ์แปรปรวน นอกเหนือจากอารมณ์ที่เปลี่ยนไปในฉับพลัน คุณอาจจะมีอาการเหล่านี้ร่วมด้วย วิตกกังวลและหงุดหงิด สับสนและหลงลืม สมาธิสั้นลง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากขึ้น เกิดภาพหลอน ซึมเศร้า ใช้ดุลพินิจที่ไม่เหมาะสม รู้สึกท้อ ประมาทเลินเล่อ มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม พูดเร็ว ทำความเข้าใจเรื่องราวและอธิบายข้อมูลได้ลำบาก ความอยากอาหารและน้ำหนักเปลี่ยนไป เหนื่อยล้า ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ คลื่นไส้ นอนไม่หลับ สาเหตุของอารมณ์แปรปรวน อาการทางจิต เช่น โรคอารมณ์สองขั้ว (bipolar disorder) โรคอารมณ์สองขั้ว (ไบโพลาร์) ชนิดอ่อน (cyclothymic disorder) โรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง (major depressive disorder) โรคซึมเศร้าประเภทเรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder) และโรคความผิดปกติในการควบคุมอารมณ์ (disruptive mood dysregulation disorder) ทั้งหมดสามารถทำให้เกิดอาการอารมณ์แปรปรวนได้ โรคจิตเภท (Schizophrenia) และโรคสมาธิสั้น (attention deficit hyperactivity disorder) ก็อาจทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน ความแปรปรวนของฮอร์โมน ก็สามารถส่งผลกระทบกับสารเคมีในสมอง ทำให้เกิดอารมณ์แปรปรวนได้เช่นกัน วัยรุ่น ผู้หญิงตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่กำลังมีประจำเดือนมักจะมีฮอร์โมนไม่คงที่ จึงมีแนวโน้มมากกว่าที่จะเกิดอารมณ์แปรปรวน การรับประทานยาหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สามารถส่งผลในด้านลบกับอารมณ์ได้เช่นกัน รวมทั้งการใช้สารในทางที่ผิด อาจทำให้เกิดการเสพติด ซึ่งเป็นอาการทางจิต ภาวะสุขภาพอื่นๆ […]


ความผิดปกติทางอารมณ์

รู้สึกกลัว ใจหวิว ไร้สาเหตุ คุณเป็น โรคแพนิค หรือเปล่า

หากคุณมีอาการใจสั่น กลัวเหตุการณ์บางอย่างที่กำลังจะเกิดขึ้นทั้ง ๆ ที่รู้ว่ามันไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถห้ามตัวเองได้ แถมยังรู้สึกทรมานมากขึ้นด้วย นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “โรคแพนิค (Panic Disorder)” แต่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะโรคนี้รักษาได้ โรคแพนิค (Panic Disorder) คืออะไร ถ้าใครไม่รู้จักโรคนี้ฟังอาการดูแล้ว อาจจะรู้สึกแปลกนิดหน่อย แต่สำหรับคนที่เป็นโรคนี้ อาการเหล่านี้น่ากลัวไม่ใช่น้อยเลย อาการที่ว่าคือ อยู่ดีๆ ก็เกิดอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว เหงื่อแตก ตัวสั่น รู้สึกหายใจไม่อิ่ม หายใจขัดข้อง ไม่สบายท้อง ปั่นป่วนในท้อง วิงเวียนคล้ายจะเป็นลม อาการเกิดขึ้นประมาณ 15-20 นาทีแล้วค่อย ๆ หายไป เกิดความกังวลว่าตนเองกำลังจะเป็นอะไรไปรึเปล่า บางคนรู้สึกเหมือนว่าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บางคนอาจจะคิดว่าตนเองกำลังมีอาการของโรคหัวใจ และกำลังจะตายรึเปล่า บางคนอาจพยายามโทรหาคนที่ใกล้ชิด เพื่อให้พาไปโรงพยาบาล แต่พอไปถึงโรงพยาบาล แพทย์ตรวจดูกลับไม่พบความผิดปกติอะไร หัวใจเต้นเป็นปกติดี ยิ่งทำให้งงไปกันใหญ่ว่าเกิดอะไรขึ้น พอกลับบ้านมาไม่กี่วันก็มีอาการแบบเดิมอีก บางคนไม่กล้าอยู่คนเดียว เพราะกลัวว่าจะมีอาการขึ้นมาอีก แล้วถ้าเป็นอะไรไปจะไม่มีใครช่วยได้ อาการแบบนี้จริง ๆ แล้วสามารถพบได้ในหลายโรค เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ โรคไมเกรน โรคลมชักบางประเภท และสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการใช้สารบางอย่างที่กระตุ้นให้เกิดอาการเช่นนี้ ซึ่งสารกระตุ้นที่พบบ่อยก็คือ คาเฟอีน แต่ถ้าตรวจไม่พบอาการผิดปกติจากโรคเหล่านี้ […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน