backup og meta

เห็นเจ้าเหมียวทีไร แล้วมีอาการกลัวสุดขีด คุณอาจกำลังเป็น โรคกลัวแมว

เห็นเจ้าเหมียวทีไร แล้วมีอาการกลัวสุดขีด คุณอาจกำลังเป็น โรคกลัวแมว

ด้วยดวงตาอันบ้องแบ๊วและนิสัยที่ขี้อ้อนของ “แมว” ทำให้มันเป็นสัตว์เลี้ยงอันดับต้นๆ ที่ผู้คนต่างเทใจให้ แต่ไม่ใช่ว่าทุกคนจะตกเป็นทาสแมวหรอกนะ ยังมีคนที่กลัวแมวอยู่ด้วย ถึงขั้นตกใจสุดขีดทุกครั้งที่เห็นเจ้าแมวเหมียวเลยก็ว่าได้ อาการกลัวตกใจนี้ไม่ใช่เพราะเขาคิดไปเอง แต่แท้จริงแล้วเขาอาจเป็น “โรคกลัวแมว” จะมีลักษณะอาการอย่างไรบ้างนั้น วันนี้ Hello คุณหมอ มีคำตอบค่ะ

ทำความรู้จัก โรคกลัวแมว (Ailurophobia)

โรคกลัวแมว (Ailurophobia) จัดอยู่ในกลุ่มโรคความกลัวเฉพาะเจาะจง (Specific phobia) เป็นความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นโดยไม่มีเหตุผล ทั้งๆที่รู้ว่าสิ่งนั้นมันไม่ได้อันตราย ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ไม่สามารถหยุดความรู้สึกกลัวที่เกิดขึ้นได้เมื่อต้องเผชิญหน้ากับสิ่งที่เจอ โดยจะมีอาการแสดงโต้ตอบอัตโนมัติทันทีที่เจอกับสิ่งนั้น เช่น ตัวสั่น เหงื่อแตก หัวใจเต้นเร็ว หายใจติดขัด เป็นต้น

โรคกลัวแมวมีสาเหตุมาจากอะไรกันนะ

สาเหตุของการกลัวแมวนั้นอาจเกิดจากปัจจัยหลายๆ ส่วน ดังนี้

  • ประสบการณ์ที่น่ากลัวในวัยเด็ก อาจโดนแมวกัดหรือข่วนในสมัยวัยเด็กที่ให้รู้สึกกลัวฝังใจ
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม อาการกลัวแฝงจากพ่อแม่ถูกถ่ายทอดสู่ลูกผ่านทางยีนที่อยู่ในโครโมโซม ลูกจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะมีความกลัวเหมือนที่พ่อแม่รู้สึก
  • ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อาจมีผลเนื่องจากความทรงจำในวัยเด็ก เช่น ช่วยเหลือแมวลงจากต้นไม้จนได้รับบาดเจ็บ การเห็นแมวโดนรถชน เป็นต้น

เช็กด่วน! อาการที่บ่งบอกว่าคุณเป็นโรคกลัวแมว

 ผู้ป่วยที่เป็นโรคกลัวแมวจะมีอาการแสดงออกด้วยกัน 2 ลักษณะคือ ทางด้านร่างกาย และทางด้านจิตใจ โดยมีรายละเอียดดังนี้

ทางด้านร่างกาย

  • หายใจติดขัด แน่นหน้าอก
  • ตัวสั่น เหงื่อแตก
  • ปวดท้อง (โดยเฉพาะเมื่อนึกถึงเหตุการณ์ในอนาคตที่แมวอยู่)

ทางด้านจิตใจ

  • รู้สึกตกใจกลัวทุกครั้งเมื่อนึกถึงแมว
  • วิตกกังวลที่ได้ยินเสียงร้องแมว
  • รู้สึกกลัวอย่ายิ่งเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีแมว

รับมือและเอาชนะความกลัวได้อย่างไร 

โรคกลัวแมวนี้ไม่มีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก เบื้องต้นเราสามารถหลีกเลี่ยงเพื่อไม่เจอหรือเข้าใกล้แมวได้ แต่เราอาจไม่สามารถที่จะหลีกหนีความหวาดกลัวที่ไม่ได้รับการรักษาได้เสมอไป เช่น หากวันนึงคุณเริ่มออกเดทกับคนที่มีแมวหากคุณไม่รักแมวเขาอาจส่งผลให้เดทนั้นพังไปเลยก็ได้

ที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการรักษา โดยนักจิตวิทยาจะบำบัดด้วยการสัมผัส (Touch Therapy) เพื่อให้เราเริ่มคุ้นชินกับสิ่งที่กลัวทีละนิดเริ่มจากการดูรูปแมว ดูวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับแมว ของเล่นแมว เริ่มนั่งข้างๆแมว จนเริ่มสัมผัสแมวทีละนิด สร้างความคุ้มชินเพื่อลบล้างความหวาดกลัวออกไป

เป็นอย่างไรกันบ้างคะกับบทความเรื่อง “เห็นเจ้าเหมียวทีไรแล้วมีอาการกลัวสุดขีด คุณอาจกำลังเป็นโรคกลัวแมว’ ที่นำมาฝากกันในวันนี้ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ได้มีอาการร้ายแรงส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากนัก อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือนักจิตวิทยาเพื่อทำการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสมนะคะ

Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Understanding Ailurophobia, or Fear of Cats. https://www.healthline.com/health/ailurophobia. Accessed 04 February 2020

FEAR OF CATS: AILUROPHOBIA. https://www.phobiaguru.com/fear-of-cats-ailurophobia.html. Accessed 04 February 2020

Fear of Cats: Ailurophobia Symptoms, Causes and Cures. https://www.canidae.com/blog/2009/07/fear-of-cats-ailurophobia-symptoms-causes-and-cures/. Accessed 04 February 2020

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/05/2020

เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Pattarapong Khuaphu


บทความที่เกี่ยวข้อง

ก่อนจะ นอนกับแมว ทาสแมวควรรู้อะไรบ้าง

โรคท็อกโซพลาสโมซิส ส่งผลอย่างไรต่อการตั้งครรภ์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 14/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา