backup og meta

ปัจจัยเสี่ยงหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในผู้ชาย มีอะไรบ้าง

ปัจจัยเสี่ยงหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในผู้ชาย มีอะไรบ้าง

ปัจจัยเสี่ยงหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ในผู้ชายมีทั้งปัจจัยทั่วไปที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น อายุ พันธุกรรม การบาดเจ็บ หรืออาจเกิดจากปัจจัยด้านสุขภาพ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง การใช้สารเสพติด ที่อาจส่งผลกระทบต่อการคงสภาพของอวัยวะเพศหรืออารมณ์ทางเพศ ส่งผลให้เกิดภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยเหล่านี้ อาจช่วยให้สามารถป้องกันและรับมือกับภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชายได้อย่างเหมาะสม

[embed-health-tool-heart-rate]

ปัจจัยเสี่ยงหย่อนสมรรถภาพทางเพศ มีอะไรบ้าง

การหย่อนสมรรถภาพทางเพศคือการไม่สามารถคงสภาพการแข็งตัวของอวัยวะเพศได้ หากเกิดขึ้นบ่อยครั้งจึงควรพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการหย่อนสมรรถภาพ

ปัจจัยทั่วไป

ปัจจัยเสี่ยงหย่อนสมรรถภาพทางเพศอาจเกิดได้จากปัจจัยทั่วไปที่ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ได้แก่

  • อายุ เมื่อมีอายุมากขึ้นฮอร์โมนเพศชายอาจลดลงได้ตามธรรมชาติเป็นสาเหตุของการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ยา ยาบางชนิดอาจรบกวนการกระตุ้นเส้นประสาทหรือการไหลเวียนเลือดไปที่อวัยวะเพศ
  • ความเครียดและความวิตกกังวล หากอวัยวะเพศไม่แข็งตัวอาจทำให้เกิดความวิกตกกังวลและความเครียดที่จะนำไปสู่การหย่อยสมรรถภาพทางเพศ
  • ศัลยกรรม การผ่าตัดที่เกี่ยวข้องกับอุ้งเชิงกรานสามารถทำลายเส้นประสาทหรือหลอดเลือดในอวัยวะเพศชายได้ ส่งผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ
  • การบาดเจ็บ หากมีการบาดเจ็บบริเวณเส้นประสาท หลอดเลือดแดง หรือเส้นเลือดของกระดูกเชิงกราน อาจทำให้เกิดปัญหาทางเพศได้ ผู้ชายที่ได้รับบาดเจ็บที่ไขสันหลังอาจส่งผลให้อวัยวะเพศไม่แข็งตัวและเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ปัจจัยที่เกิดจากโรค

  • โรคเบาหวานและโรคหัวใจ การหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นเรื่องปกติของผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 และหากเป็นโรคเบาหวานเป็นระยะเวลานานไม่ได้รับการควบคุมน้ำตาลอย่างเหมาะสมอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง ส่งผลให้อาจเกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้

โรคหัวใจและโรคเบาหวานมักเชื่อมโยงกัน เนื่องจากความเสียหายของหลอดเลือดหัวใจเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวานที่ส่งผลต่อการหย่อนสมรรถภาพทางเพศเช่นกัน

  • โรคอ้วน ผู้ชายที่มีน้ำหนักเกินมีความเสี่ยงหย่อนสมรรถภาพทางเพศถึง 79%
  • การผลิตฮอร์โมนลดลง ความดันที่สูงขึ้นในระบบไหลเวียนเลือดส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมนบางชนิดรวมถึงฮอร์โมนที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศ นอกจากนี้ผู้ชายที่มีความดันโลหิตสูงจะมีจำนวนอสุจิและระดับฮอร์โมนเพศชายต่ำ
  • ความดันโลหิตสูง เนื่องจากการแข็งตัวของอวัยวะเพศขึ้นอยู่กับการไหลเวียนเลือดไปยังอวัยวะเพศอย่างเพียงพอ เมื่อมีความดันโลหิตสูงอาจทำให้เกิดภาวะอื่น ๆ ที่มีผลต่อการหย่อยสมรรถภาพทาเพศได้
  • ไนตริกออกไซด์อยู่ในระดับต่ำ เมื่อมีความดันในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานอาจทำให้ผลิตไนตริกออกไซด์ได้น้อยลง ส่งผลให้หลอดเลือดในอวัยวะเพศคลายตัวและหย่อนสมรรถภาพทางเพศลง

ปัจจัยที่เกิดจากการใช้ชีวิต

ปัจจัยนี้มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เนื่องจากสารเคมีต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายอาจส่งผลต่อสมรรถภาพทางเพศได้

  • สารเสพติด อาจทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อหลอดเลือดและอาจทำให้หย่อนสมรรถภาพทางเพศอย่างถาวร เช่น แอลกอฮอล์, นิโคลตินจากควันบุรี, แอมเฟตามีน, โคเคน, กัญชา, เมธาโดน, เฮโรอีน เป็นต้น

เหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดการหย่อนสมรรถภาพทางเพศได้ จึงควรดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์อยู่เสมอเพื่อให้ห่างไกลจากโรคร้ายและความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Erectile dysfunction. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/erectile-dysfunction/symptoms-causes/syc-20355776. Accessed May 25,2021

Risk Factors Of Erectile Dysfunction. https://www.bangkokhospital.com/en/content/risk-factors-of-erectile-dysfunction. Accessed May 25,2021

Skrypnik D, et al. (2014). Obesity — significant risk factor for erectile dysfunction in men.
pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24720114/. Accessed May 25,2021

Kalaitzdou, I., Venetikou, M. S., Konstadinidis, K., & Artemiadis, A. K. (2013, July 3). Stress management and erectile dysfunction: a pilot comparative study. First International Journal of Andrology: Andrologia, 46(6), 698-702
onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/and.12129/full. Accessed May 25,2021

18 million men in the United States affected by erectile dysfunction. (2007, February 1)
jhsph.edu/news/news-releases/2007/selvin-erectile-dysfunction.html. Accessed May 25,2021

Zippe C, Nandipati K, Agarwal A, Raina R. Sexual dysfunction after pelvic surgery. Int J Impot Res. 2006;18(1):1-18. doi:10.1038/sj.ijir.3901353. Accessed May 25,2021

Hess MJ, Hough S. Impact of spinal cord injury on sexuality: broad-based clinical practice intervention and practical application. J Spinal Cord Med. 2012;35(4):211-8. doi:10.1179/2045772312Y.0000000025. Accessed May 25,2021

Maiorino MI, Bellastella G, Esposito K. Diabetes and sexual dysfunction: current perspectives. Diabetes Metab Syndr Obes. 2014;7:95-105. doi:10.2147/DMSO.S36455. Accessed May 25,2021

American Urological Association. Erectile Dysfunction: AUA Guideline. Accessed May 25,2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

20/10/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผลไม้เสริมสมรรถภาพทางเพศ สำหรับผู้ชาย มีอะไรบ้าง

เพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้ฟิตปั๋ง ด้วย ตดหมูตดหมา


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 20/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา