backup og meta

ค้างคาว เมนูเปิบพิสดาร ที่เป็นมากกว่าพาหะไวรัสโคโรนา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 18/05/2021

    ค้างคาว เมนูเปิบพิสดาร ที่เป็นมากกว่าพาหะไวรัสโคโรนา

    ตั้งแต่ในช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมา เกิดการระบาดครั้งใหญ่ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ ที่คาดว่าอาจจะเริ่มต้นจากมาตลาดสดแห่งหนึ่งในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ก่อนจะลุกลามไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก เกิดเป็นข้อสงสัยว่า ค้างคาว อาจจะเป็นแหล่งต้นตอสำคัญของเชื้อโรคชนิดนี้

    เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่พบสามารถติดต่อได้จากคนสู่คน เมื่อติดเชื้อไวรัสนี้จะทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคปอดอักเสบ และไข้หวัดใหญ่ คือมีอาการไอ น้ำมูกไหล เจ็บคอ ปวดศีรษะ เป็นไข้ และหายใจลำบาก และในกรณีรุนแรงอาจจะมีอาการปอดอักเสบร่วมด้วย ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว และอาจเสียชีวิตได้

    นักวิชาการนั้นตั้งข้อสงสัยว่าเชื้อไวรัสโคโรนานั้นอาจจะมีต้นตอมาจากค้างคาว เนื่องจากดีเอ็นเอของเชื้อไวรัสชนิดนี้ คล้ายคลึงกับเชื้อไวรัสที่พบได้ในค้างคาวมากถึง 87% และสาเหตุที่ทำให้มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสจากตัวค้างคาวมาสู่คน อาจจะเป็นเพราะเทรนด์ในการกิน ซุปค้างคาว ที่กำลังเป็นที่นิยมในหลายๆ คน โดยเฉพาะในเขตภาคใต้ของจีน

    ความเชื่อเกี่ยวกับการกินค้างคาว ทำไมคนเราจึงเลือกกิน ค้างคาว

    ค้างคาว เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทหนึ่ง ที่มีลักษณะคล้ายกับหนู แต่มีปีกเป็นพังผืด สามารถบินไปมาในอากาศได้ ค้างคาวนั้นเป็นสัตว์ที่พัฒนามาจากสัตว์จำพวกฟันแทะ และมีอยู่มากมายหลายสายพันธุ์ ราวๆ 1,240 ชนิด นับเป็นหนึ่งในห้าของสัตว์เลี้ยงลูกนมทั้งหมด สามารถพบได้ในเขตต่างๆ ทั่วโลก โดยที่ในไทยนั้นจะมีค้างคาวอยู่มากถึงราวๆ 120 ชนิด

    ตามปกติแล้ว ค้างคาวนั้นไม่ใช่สัตว์ที่เรามักจะนำมารับประทาน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีการกินค้างคาวกันมาก่อนเลย ค้างคาวตามความเชื่อของจีนนั้นถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของความสุขและการมีอายุยืน เนื่องจากการออกเสียงค้าวคาวในภาษาจีนกลาง 蝙蝠 ที่อ่านออกเสียงว่า “เปี่ยนฝู” นั้น จะมีคำที่ออกเสียงคล้ายกับคำว่า ฝู” ที่หมายถึง ความสุข อายุยืน และโชคลาภ

    นอกจากนี้ชาวจีนหลายคนยังเชื่ออีกว่า การกินเนื้อค้างคาว จะช่วยรักษาอาการของโรคหอบหืด โรคไต และอาการเจ็บป่วยทั่วไป ทั้งยังมีการนำมูลของค้างคาวมาทำเป็นยาแผนโบราณ บ้างก็เชื่อว่าการกินเลือดของค้างคาว สามารถช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศได้ ที่ไทยเองก็เคยมีกรณีของชาวบ้านที่นำค้างคาวมากิน เพราะเชื่อว่าสามารถแก้หนาวได้เช่นกัน

    ค้างคาว อาจจะเป็นต้นตอของเชื้อไวรัสโคโรนา

    นักวิชาการหลายคนเชื่อว่า เชื้อไวรัสโคโรนา อาจจะมีจุดต้นตอมาจากค้างคาว ทฤษฏีนี้ได้มาจากผลการสุรปการศึกษาวิเคราะห์การเรียงลำดับเบสของสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสโคโรนา มีงานวิจัย 2 ชิ้นที่ให้คำตอบตรงกันว่า เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่นี้ มีดีเอ็นเอที่ตรงกันกับเชื้อไวรัสที่พบได้ในค้างคาวมากถึง 87%

    งานวิจัยนั้นได้ศึกษาเรื่องความสัมพันธ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ กับเชื้อไวรัสชนิดอื่นๆ พบว่า เชื้อไวรัสโคโรนานั้นมีความใกล้เคียงกับเชื้อไวรัสอื่นๆ ที่พบในค้างคาว โดยให้เหตุผลที่น่าเชื่อถือว่า ค้างคาวนั้นอาจจะเป็น พาหะดั้งเดิมของเชื้อไวรัสโคโรนา ก่อนที่จะผ่านพาหะตัวกลางอื่นๆ ก่อนที่เชื้อไวรัสนั้นจะแพร่กระจายมาสู่มนุษย์ โดยในงานวิจัยชิ้นที่ 2 ได้ตั้งข้อสงสัยว่า พาหะตัวกลางก่อนที่จะแพร่เชื้อไวรัสโคโรนามาสู่คนนั้น มีความเป็นไปได้สูงว่าอาจจะเป็นงู หรือสัตว์ป่าอื่นๆ และเมื่อเราไปสัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ป่าเรานี้ ก็อาจทำให้เราได้รับเชื้อมาเช่นกัน

    ค้างคาวแหล่งพาหะนำเชื้อโรคตัวสำคัญ

    มีงานวิจัยที่พบว่า ค้างคาวหลากหลายชนิดทั่วโลกนั้นสามารถตรวจพบเจอไวรัสมากกว่า 60 ชนิด และหลายชนิดนั้นสามารถก่อให้เกิดโรคในคนได้

    เชื้อไวรัสที่อาจก่อให้เกิดโรคในคนที่พบได้ในค้างคาว ได้แก่

  • ไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies Virus)  
  • ไวรัสลิสซา (Lyssaviruses) ไวรัสที่เกี่ยวข้องกับไวรัสโรคพิษสุนัขบ้า
  • ไวรัสนิปาห์ (Nipah)
  • ไวรัสซาร์ส (SARS)
  • ไวรัสอีโบลา (Ebola)
  • ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (Corona) ที่ภายหลังได้ถูกตั้งชื่อว่า โควิด-19 (COVID-19)
  • ไวรัสเหล่านี้ สามารถก่อให้เกิดโรคที่อันตรายกับมนุษย์ได้ แต่ค้างคาวที่มีเชื้อไวรัสเหล่านี้ มักจะไม่แสดงอาการผิดปกติใดๆ ให้เห็นเลย หรืออาจจะมีอาการเพียงเล็กน้อยเท่านั้น เนื่องจากภูมิคุ้มกันภายในตัวของค้างคาวนั้นดีมาก จึงทำให้เชื้อไวรัสเหล่านี้ไม่สามารถทำอันตรายอะไรกับค้างคาวได้ แม้ว่าในบางกรณีอาจจะมีเชื้อไวรัสที่สามารถทำให้ค้างคาวป่วยตายได้ แต่ก็เป็นเพียงแค่ส่วนน้อยเท่านั้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 18/05/2021

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา