backup og meta

ตดเหม็น เกิดจากอะไร และควรแก้ไขอย่างไร

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 26/03/2023

    ตดเหม็น เกิดจากอะไร และควรแก้ไขอย่างไร

    การผายลมหรือตด เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งตดเกิดจากแก๊สในลำไส้ถูกส่งออกทางทวารหนักเป็นระยะ ๆ โดยเฉลี่ยคนเราจะตดประมาณ 14 ครั้ง/วัน และส่วนใหญ่จะไม่มีกลิ่นและเสียง แต่บางคนอาจเกิดข้อสงสัยว่า ตดเหม็น เกิดจากอะไร สำหรับกลิ่นที่ไม่พึ่งประสงค์ที่ออกมาพร้อมกับตด อาจเกิดจากอาหารที่รับประทาน เช่น อาหารที่มีไฟเบอร์สูง นอกจากนี้ กลิ่นตดยังอาจเกิดจากความผิดปกติของระบบย่อยอาหารบางอย่าง เช่น โรคมะเร็งลำไส้ โรคลำไส้แปรปรวน

    สาเหตุที่ทำให้ผายลมหรือตด

    การผายลมหรือตด เกิดจากแก๊สในร่างกายมีปริมาณสูง จึงถูกส่งออกทางทวารเป็นระยะ ๆ ซึ่งโดยเฉลี่ยคนเราจะตดประมาณ 14 ครั้ง/วัน นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

    • การสูดอากาศ เนื่องจากร่างกายสูดเอาอากาศเข้าสู่ร่างกายวันละหลาย ๆ ครั้ง ไม่ว่าจะเป็นตอนดื่มน้ำ ตอนกำลังเคี้ยวอาหาร หรือแม้แต่ตอนพูด ก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผายลมหรือตดได้
    • แบคทีเรียในลำไส้เล็กมากเกินไป ปัญหานี้อาจเกิดจากสุขลักษณะนิสัยในการรับประทานอาหาร นอกจากนี้ ยังอาจเกิดจากโรคประจำตัวหรือโรคแทรกซ้อน เช่น
  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • โรคตับ
  • โรคลำไส้อักเสบ
  • โรคแพ้กลูเตน (Coeliac Disease) 
  • คาร์โบไฮเดรตยังไม่ถูกย่อย ในบางครั้งคาร์โบไฮเดรตไม่ได้ถูกย่อยด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็ก เมื่อคาร์โบไฮเดรตถูกลำเลียงผ่านไปถึงลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียที่อยู่ในอาหารประเภทนั้นก็จะกลายเป็นแก๊สไฮโดรเจนและแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
  • โดยแก๊สเหล่านั้นล้วนแล้วแต่ต้องการการลำเลียงออกไปยังที่ใดที่หนึ่ง แก๊สบางส่วนอาจถูกดูดซึมโดยร่างกาย แต่หากมีปริมาณของแก๊สในลำไส้ใหญ่มากจนเกินไป ก็จะทำให้เกิดแรงกดต่อผนังลำไส้ ทำให้รู้สึกเจ็บปวดในท้องน้อย หรือหน้าอก ทำให้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และตดออกมานั่นเอง

    ตดเหม็น เกิดกจาอะไร

    สาเหตุของตดมีที่มาจากการที่ร่างกายมีแก๊สมากจนเกินไป แล้วถ้าตดเหม็นล่ะอาจเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ดังนี้

    • รับประทนอาหารที่มีไฟเบอร์สูง

    การรับประทานผักและผลไม้ หรืออาหารที่มีไฟเบอร์สูงเป็นสิ่งที่ดีและเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการขับถ่าย แต่หากอาหารประเภทนี้อยู่ในร่างกายมากจนเกินไปก็จะทำให้ย่อยยาก และใช้ระยะเวลานานในการขับถ่ายจนกระทั่งสะสมเกิดเป็นแก๊สที่มีกลิ่นเหมือนกับไข่เน่า เนื่องจากอาหารที่มีไฟเบอร์สูงมีกำมะถันและซัลเฟอร์ธรรมชาติสูง เมื่อถูกสะสมเอาไว้มาก ๆ จึงเกิดเป็นแก๊สที่มีกลิ่นเหม็นนั่นเอง

    • แพ้อาหาร

    อาการตดเหม็นอาจมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายแพ้อาหารบางชนิด เช่น ผู้ที่มีอาการแพ้แลคโตส ซึ่งเป็นผลให้ร่างกายไม่สามารถย่อยคาร์โบไฮเดรตได้ เมื่อคาร์โบไฮเดรตถูกลำเลียงไปยังลำไส้ใหญ่อาจทำให้แบคทีเรียเหล่านั้นกลายเป็นแก๊สสะสม หรืออาจเกิดจากการแพ้กลูเตนในระดับรุนแรง จนกระทั่งเป็นโรคแพ้กลูเตน ทำให้เกิดการบาดเจ็บและอักเสบในลำไส้ ส่งผลให้การย่อยอาหารมีความผิดปกติ เกิดเป็นแก๊สสะสมในลำไส้และทำให้ตดเหม็น

    • รับประทานยารักษาโรค

    การรับประทานยารักษาโรคบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดได้ ยาปฏิชีวนะสำหรับฆ่าเชื้อโรคอาจทำลายแบคทีเรียชนิดดีที่ช่วยทำหน้าที่ในการย่อยอาหาร หากแบคทีเรียชนิดดีถูกกำจัดออกไปก็อาจทำให้ระบบย่อยอาหารมีปัญหาเเละย่อยยากขึ้น ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารและลำไส้

  • อาการท้องผูก
  • อาการท้องผูก เป็นการบ่งชี้ว่าร่างกายมีของเสียตกค้างอยู่ภายในลำไส้ใหญ่ เมื่อระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายมีปัญหาจึงทำให้มีทั้งแบคทีเรียและแก๊สที่ส่งออกมาจากร่างกายกลิ่นเหม็น

    • การสะสมของแบคทีเรียและการติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร

    ในตอนที่ร่างกายย่อยอาหาร สารอาหารจะถูกลำเลียงและส่งต่อไปยังกระแสเลือด ในขณะที่ของเสียก็จะถูกลำเลียงไปที่ลำไส้ใหญ่ ดังนั้น ถ้าหากเกิดการรบกนระบบการย่อยอาหาร เช่น ติดเชื้อในระบบทางเดินอาหาร ติดเชื้อในลำไส้ ก็อาจทำให้เป็นการเพิ่มจำนวนแบคทีเรีย และแก๊สต่าง ๆ มากขึ้น จนอาจทำให้ตดเหม็นมากขึ้นตามไปด้วย

    • มะเร็งลำไส้ใหญ่

    ในบางครั้ง อาการตดเหม็นก็อาจเกิดจากโรคร้ายแรงต่าง ๆ เช่น โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ตดเหม็นที่พบได้ยาก แต่เมื่อเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ก็อาจทำให้บริเวณลำไส้ใหญ่มีเนื้องอกเกิดขึ้นมา และอุดตันลำไส้ ระบบย่อยอาหารจึงทำงานได้ยาก ส่งผลทำให้เกิดแก๊สและมีอาการท้องอืดเกิดขึ้น  

    ตดเหม็น แก้ไขได้อย่างไร

    สำหรับวิธีการแก้ไขปัญหาตดเหม็อาจทำได้ด้วยการปรับพฤติกรรมบางอย่าง ดังนี้

    • รับประทานอาหารชิ้นเล็ก ๆ และพยายามเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกลิ่นแรง
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนทำให้ตดเหม็น เช่น อาหารที่มีไฟเบอร์สูง รวมถึงไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ย่อยยาก
    • ดื่มน้ำให้มากขึ้น
    • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม โยเกิร์ต รวมถึงอาหารที่อุดมไปด้วยโพรไบโอติกส์ (Probiotics)

    หากมีอาการท้องอืด ท้องผูกเรื้อรัง ท้องเฟ้อ จนทำให้ตดมีกลิ่นเหม็น ควรไปพบกับคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย Khongrit Somchai · แก้ไขล่าสุด 26/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา