backup og meta

ปวดหัวไมเกรนมากจนทนไม่ไหว ลองวิธี นวดแก้ปวดหัวไมเกรน ด้วยตัวเอง กันดีกว่า

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 24/09/2023

    ปวดหัวไมเกรนมากจนทนไม่ไหว ลองวิธี นวดแก้ปวดหัวไมเกรน ด้วยตัวเอง กันดีกว่า

    ไมเกรน (Migraine) อาการปวดหัวที่รุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จัดเป็นปัญหาสำคัญที่สามารถพบได้บ่อยโดยเฉพาะกับคนวัยทำงาน ซึ่งไมเกรนอาจมีสาเหตุมาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความเครียดสะสม พักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งหลายคนมักจะต้องรับประทานยา หรือวางงานทุกอย่างลงแล้วพักผ่อน เพื่อให้อาการปวดหัวทุเลาลง แต่วิธีการเหล่านี้ต่างก็กินเวลาไม่น้อย วันนี้ Hello คุณหมอ จะมาแนะนำวิธีการ นวดแก้ปวดหัวไมเกรน ที่สามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเองกันค่ะ

    การนวด ส่งผลอย่างไรต่ออาการปวดหัวไมเกรน

    ดร. ดอว์น บุส (Dawn Buse) รองศาสตราจารย์จากคณะแพทยศาตร์ วิชาประสาทวิทยา แห่งวิทยาลัยการแพทย์อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein College of Medicine) ได้กล่าวไว้ว่า ในปัจจุบันนี้ งานวิจัยและข้อมูลเกี่ยวกับการนวดและอาการปวดหัวไมเกรนนั้นยังคงมีอยู่อย่างจำกัด แต่ก็แสดงให้เห็นถึงข้อมูลเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้น่าพึงพอใจ

    ในปี 2006 งานวิจัยชิ้นหนึ่ง ได้ทำการทดลองโดยการให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหัวไมเกรนสุ่มเข้ารับการบำบัดด้วยการนวด พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการนวดบำบัดเพื่อลดอาการปวดหัวไมเกรน จะมีอาการไมเกรนกำเริบน้อยกว่า และสามารถนอนหลับได้ดีกว่าปกติ โดยงานวิจัยนั้นได้พบว่า การนวดสามารถช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนได้อย่างมีนัยสำคัญ

    วิธีการ นวดแก้ปวดหัวไมเกรน ด้วยตัวเอง

    นวดแก้ไมเกรน ในบริเวณใบหน้า

    1. เริ่มจากใช้นิ้วโป้ง กดลงไปที่โหนกแก้ม ใกล้กับบริเวณหูทั้งสองข้าง
    2. ใช้นิ้วชี้ กดลงไปเบา ๆ ที่บริเวณกระหม่อม นวดวนเบา ๆ โดยใช้ความแรงที่คงที่
    3. ค่อย ๆ ลากนิ้วชี้ทั้งสองข้างขึ้นไปตามไรผม จนมาบรรจบกันที่บริเวณกลางหน้าผาก จากนั้นจึงนวดวนให้ทั่วทั้งบริเวณหน้าผากและกระโหลกศีรษะ

    การนวดกดจุดระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง

    การนวดกดจุดในบริเวณฝ่ามือ จุดเชื่อมต่อระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง เพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน โดยสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

    1. เริ่มจากการใช้นิ้วชี้และนิ้วโป้งของมืออีกข้าง กดบีบลงที่จุดตรงกลางระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วโป้ง กดลงไปแรงๆ แต่ไม่ต้องให้ถึงกับรู้สึกเจ็บ ค้างไว้ประมาณ 10 วินาที แล้วจึงปล่อยออก
    2. ใช้นิ้วโป้งที่กดจุดนั้น กดหมุนเป็นวงกลมในบริเวณเดิม หมุนตามเข็มนาฬิกา 10 วินาที แล้วหมุนทวนเข็มนาฬิกาอีก 10 วินาที
    3. ทำขั้นตอนที่ 1 และ 2 ที่มืออีกข้างหนึ่ง

    การ นวดแก้ไมเกรน ด้วยวิธีนี้ จะช่วยลดอาการตึงเครียดของกล้ามเนื้อในบริเวณศีรษะและคอ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวไมเกรน

    การนวดกดจุดหัวคิ้ว

    การนวดกดจุดหัวคิ้วหมายถึง การนวดในบริเวณที่ดั้งจมูกมาบรรจบกับบริเวณคิ้วทั้งสองข้าง โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. ใช้นิ้วชี้ทั้งสองข้าง กดลงไปในจุดหัวคิ้วทั้งสอง พร้อม ๆ กัน
    2. กดค้างไว้นานประมาณ 10 วินาที
    3. ปล่อยมือออก แล้วกดลงไปซ้ำอีกครั้ง ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งรู้สึกว่ามีอาการดีขึ้น

    การนวดกดจุดในบริเวณนี้ จะช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรน ที่เกิดจากแรงดันและความตึงเครียดในบริเวณดวงตาและไซนัส ทำให้อาการปวดหัวทุเลาลงได้

    การนวดกดจุดที่ท้ายทอย

    การ นวดแก้ไมเกรน โดยการกดจุดในบริเวณท้ายทอย ส่วนฐานของกะโหลกศีรษะที่ติดกับคอ ที่ขนาดระหว่างกล้ามเนื้อคอทั้งสองข้าง โดยมีขั้นตอนดังนี้

    1. ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลาง กดลงไปในจุดที่ท้ายทอยทั้งของข้างพร้อม ๆ กัน
    2. กดค้างไว้ประมาณ 10 วินาที ก็ปล่อยออก แล้วจึงทำซ้ำอีก
    3. ทำซ้ำจนกว่าจะรู้สึกว่าอาการดีขึ้น

    การนวดในบริเวณนี้ สามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนที่เกิดจากอาการคอตึง หรือความเมื่อยล้าที่บริเวณคอได้

    ใครบ้างที่ไม่ควรทำการ นวดแก้ไมเกรน

    แม้ว่าการ นวดแก้ไมเกรน อาจสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนได้จริง แต่การนวดเพื่อช่วยลดอาการปวดหัวไมเกรนนั้นก็ไม่ได้เหมาะสมกับทุกคนเสมอไป ยังมีคนบางกลุ่มที่อาจจะมีปัจจัยที่ทำให้ควรหลีกเลี่ยงการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรน เช่น

    • ผู้ที่เป็นโรคหวัด หรือไข้หวัดใหญ่
    • ผู้ที่มีอาการบาดเจ็บ
    • ผู้ที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบการไหลเวียนของเลือด เช่น ลิ่มเลือด
    • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคผิวหนัง หรือโรคติดต่อทางการสัมผัส
    • ผู้ที่เพิ่งรับการผ่าตัด
    • ผู้ที่มีอาการกระดูกหัก

    นอกจากนี้ ผู้ที่ตั้งครรภ์ก็ควรที่จะศึกษาข้อมูล และได้รับความยินยอมจากแพทย์ ก่อนที่จะเข้ารับการนวดหรือการบำบัดอื่น ๆ และควรทำความคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญอย่างเคร่งครัด เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อแม่และทารกในครรภ์ได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 24/09/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา