สุขภาพตา

คุณรู้หรือเปล่าว่า ดวงตา คือหนึ่งในอวัยวะรับสัมผัส ที่พัฒนามากที่สุดในร่างกายของมนุษย์ เราจำเป็นต้องพึ่งการมองเห็นในการใช้ชีวิตประจำวันอย่างเป็นปกติ ดังนั้น การดูแลรักษา สุขภาพดวงตา ให้ดี จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เรียนรู้เกี่ยวกับ สุขภาพตา และการดูแลรักษาสุขภาพดวงตาของคุณ ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพตา

ตาบอดสีรู้ได้อย่างไร ทดสอบตาบอดสี มีอะไรบ้าง

ตาบอดสี เป็นภาวะบกพร่องของประสาทสัมผัสการรับรู้สึก อาจเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ทำให้มีการมองเห็นสีที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด แต่ก็อาจเกิดได้จากสาเหตุอื่น การ ทดสอบตาบอดสี ทำได้ด้วยการทำแบบทดสอบแยกสีในแผ่นกระดาษ ในหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือการใช้เครื่องมือแยกสี โดยส่วนใหญ่แล้ว อาการตาบอดสีไม่สามารถรักษาให้หายได้ ยกเว้นภาวะที่เกิดจากการใช้ยาหรือเกิดจากปัญหาของดวงตาที่เพิ่งมีขึ้นในภายหลัง คุณหมออาจวางแผนการรักษาให้การมองเห็นสีดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] ตาบอดสี คืออะไร ภาวะตาบอดสี (Color Blindness) คือ ความผิดปกติของดวงตาในการตอบสนองต่อความยาวคลื่นแสงต่าง ๆ โดยทั่วไป แสงที่มีความยาวคลื่นของทุกสีจะเดินทางเข้าสู่ดวงตาทางกระจกตาผ่านทางเลนส์ตาและวุ้นตาเข้าไปยังเซลล์รูปกรวยในดวงตาที่อยู่บริเวณจุดรับภาพของจอประสาทตาหรือเรตินา (Retina) เซลล์รูปกรวยจะมีความไวต่อแสงความยาวคลื่นสั้น (สีน้ำเงิน) ปานกลาง (สีเขียว) หรือยาว (สีแดง) ที่ทำให้สามารถรับรู้สีได้ตามปกติ แต่หากเซลล์รูปกรวยขาดสารเคมีที่ไวต่อความยาวคลื่นอย่างน้อย 1 ชนิด ก็จะส่งผลให้การรับรู้สีแตกต่างไปจากคนทั่วไป ตาบอดสี เกิดจากอะไร ตาบอดสี เป็นความผิดปกติที่สืบทอดทางพันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นตาบอดสีมักจะมีโอกาสเป็นตาบอดสีได้มากกว่าคนทั่วไป และมักมีภาวะนี้ตั้งแต่กำเนิดและส่งผลต่อดวงตาทั้ง 2 ข้าง ตามปกติแล้วความรุนแรงจะไม่เพิ่มขึ้นตามอายุที่มากขึ้นและพบได้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง สำหรับผู้ที่มีภาวะนี้ในภายหลังอาจเกิดได้เมื่อสมองหรือดวงตาได้รับความเสียหาย ซึ่งทำให้การมองเห็นสีเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตาบอดสีมักทำให้สับสนในการแยกแยะสีในชีวิตประจำวันและมองเห็นสีบางสีที่ไม่สดใสเท่าผู้ที่มีสายตาปกติ คนส่วนใหญ่ที่ตาบอดสีไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวบางเฉดได้ ในบางกรณีซึ่งพบได้ไม่บ่อย คนตาบอดสีจะไม่สามารถแยกความแตกต่างระหว่างเฉดสีฟ้าและสีเหลืองได้ ทั้งนี้ ผู้ที่ตาบอดสีไม่ได้มีความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นหรือตาบอด ประเภทของตาบอดสี ตาบอดสี อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ ตาบอดสีแดง-เขียว เป็นลักษณะที่พบได้บ่อยที่สุด โดยผู้ที่ตาบอดสีจะแยกความแตกต่างระหว่างสีแดงและสีเขียวได้ยากกว่าปกติ […]

หมวดหมู่ สุขภาพตา เพิ่มเติม

ความบกพร่องทางการมองเห็นและตาบอด

สำรวจ สุขภาพตา

การดูแลสุขภาพตา

ตรวจตา เพื่อสุขภาพการมองเห็นที่ดี

ตรวจตา เป็นการทดสอบสุขภาพดวงตา โดยใช้อุปกรณ์หรือวิธีการตรวจเฉพาะทางเพื่อช่วยประเมินการมองเห็น ตรวจหาโรคตา และสุขภาพโดยรวมของดวงตา การตรวจตามีความสำคัญเนื่องจากปัญหาสายตาบางประเภทอาจไม่มีอาการที่ชัดเจน จึงทำให้ผู้ป่วยอาจไม่ทราบถึงปัญหาสุขภาพที่กำลังตามมา การตรวจตาเป็นประจำจึงอาจช่วยปกป้องดวงตาให้มีสุขภาพดียาวนานได้ ตรวจตา คืออะไร ตรวจตา คือ การทดสอบสุขภาพดวงตาด้วยอุปกรณ์ทดสอบเฉพาะทาง เพื่อประเมินสุขภาพดวงตา การมองเห็นและตรวจหาโรคตาที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการตรวจตาจะช่วยตรวจปัญหาสายตาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อทำการรักษาได้อย่างทันท่วงที หรือหาแนวทางในการปรับปรุงการมองเห็น เพื่อให้สามารถใช้ชีวิตได้ดีขึ้น ประโยชน์ของการตรวจตา การตรวจตาทำให้พบปัญหาทางสายตาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น และได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที การตรวจพบโรคทางตาในระยะเริ่มต้นอาจทำให้การรักษาเป็นไปได้ง่ายขึ้น การตรวจตาช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรคทางกายที่อาจส่งผลต่อดวงตา เช่น โรคเบาหวาน นอกจากนี้ อาจช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคทางกายได้ การตรวจตาอาจช่วยยืนยันความผิดปกติของสมองบางประการได้ เช่น ความผิดปกติของพัฒนาการทางระบบประสาท ต้องตรวจตาบ่อยแค่ไหน การตรวจตาอาจขึ้นอยู่กับอายุ ปัญหาสายตา สุขภาพ ปัญหาสุขภาพของคนภายในครอบครัว รวมถึงความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อสายตา เช่น อาชีพ การตรวจตาจึงควรเริ่มต้น ดังนี้ ตรวจตาตั้งแต่แรกเกิดถึงอายุ 3 ปี เพื่อดูพัฒนาการของตา และตรวจปัญหาสายตาที่พบบ่อย เช่น ตาขี้เกียจ ตาขวาง หรือตาไม่ตรง และอาจตรวจอย่างครอบคลุมมากขึ้นในช่วงอายุ 3-5 ปี เพื่อดูตำแหน่งดวงตาและปัญหาการมองเห็น เด็กวัยเรียนและวัยรุ่น ตรวจการมองเห็นก่อนเข้าเรียนเพื่อไม่ให้ส่งผลต่อการเรียน และคุณหมออาจนัดตรวจเพิ่มเติม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับสายตาของแต่ะคนและการพิจารณาของคุณหมอ ผู้ใหญ่ หากมีอายุน้อยกว่า 40 ปี และไม่มีปัญหาสุขภาพหรือปัญหาสายตา คุณหมออาจแนะนำให้ตรวจตาเป็นประจำทุก 2 ปี […]


สุขภาพตา

ตาแพ้แสง อาการ สาเหตุ การรักษา

ตาแพ้แสง เป็นอาการที่ดวงตาเกิดการระคายเคืองเมื่อสัมผัสกับแสงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแสงแดดจากดวงอาทิตย์ แสงจากหลอดไฟ อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตา แสบตา ตาแดง โดยผู้ที่มีอาการแพ้แสงอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่อาจมักมาจากโรคไมเกรน นอกจากนั้น ตาแพ้แสงอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยาหยอดตา ตาอักเสบ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด คำจำกัดความตาแพ้แสง คืออะไร ตาแพ้แสง ไม่ใช่โรคชนิดใดชนิดหนึ่งแต่อาจเป็นเพียงอาการหรือภาวะเจ็บป่วยจากโรคต่าง ๆ เช่น ไมเกรน ตาแห้ง ซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงกับเซลล์ในดวงตาและเส้นประสาทที่ส่งไปยังสมอง ทำให้ดวงตาอาจเกิดการระคายเคืองเมื่อสัมผัสกับแสงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น แสงแดดจากดวงอาทิตย์ แสงจากหลอดไฟ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตา แสบตา ตาแดง รวมถึงอาจมีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย นอกจากนั้น ตาแพ้แสงยังอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น การใช้ยาหยอดตา ตาอักเสบ ผลข้างเคียงจากการใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด อาการอาการของตาแพ้แสง อาการที่อาจพบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ตาแพ้แสง มีดังต่อไปนี้ ปวดตา แสบตา หรือน้ำตาไหลออกจากดวงตา เมื่อดวงตาสัมผัสกับแสง อาจต้องหรี่ตาหรือกระพริบตาถี่ ๆ ตาแดง เวียนศีรษะ คลื่นไส้และอาเจียน ผู้ที่มีอาการตาแพ้แสงอาจมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล รวมถึงความแตกต่างจากอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการตาแพ้แสงร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น มีอาการปวดศีรษะร่วมด้วย สาเหตุสาเหตุของตาแพ้แสง สาเหตุที่อาจพบได้บ่อยของตาแพ้แสง อาจเกิดจากปวดศีรษะไมเกรนมากถึง 80% ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจมีอาการปวดศีรษะไมเกรนร่วมกับอาการตาแพ้แสง […]


โรคตา

ปวดตา อาการ สาเหตุ และการรักษา

ปวดตา หมายถึงอาการเจ็บตา หรือระคายเคืองที่ดวงตาหรือรอบ ๆ ดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง ที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สายตามากเกินไป และปัจจัยอื่น ๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบ การติดเชื้อในดวงตา การดูแลดวงตาจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากมีอาการปวดตาอย่างต่อเนื่อง ควรเข้ารับการตรวจอย่างละเอียดในทันที คำจำกัดความปวดตา คืออะไร ปวดตา เป็นอาการเมื่อยล้าของดวงตาที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้งานดวงตาอย่างหนัก เช่น มองหน้าจอคอมพิวเตอร์หรืออ่านหนังสือเป็นเวลานาน หรืออาจเป็นอาการของโรคอื่น ๆ เช่น เยื่อบุตาอักเสบ การติดเชื้อในดวงตา โดยส่วนใหญ่แล้วอาการปวดตามักจะไม่ส่งผลรุนแรง และอาจเกิดขึ้นเพียงแค่ชั่วคราว หากหยุดพักสายตาสักระยะอาการก็อาจบรรเทาลงได้ แต่หากมีอาการปวดตาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคอื่น ควรเข้ารับการตรวจดวงตาเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด และทำการรักษาให้เร็วที่สุด อาการอาการปวดตา อาการปวดตา สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังต่อไปนี้ แสบตา เจ็บตา และคันตา ตาแดง ตาแห้ง หรือตาแฉะ น้ำตาไหล เนื่องจากต่อมน้ำตาอาจผลิตน้ำตาออกมา เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของดวงตา ปวดศีรษะ คอ ไหล่ และหลัง อาจเป็นเพราะจากการนั่ง หรืออยู่ในท่าเดิมนาน ๆ มองเห็นวัตถุสิ่งรอบตัวเป็นภาพซ้อน ตาไวต่อแสง ลืมตายากขึ้น อาการปวดตาระดับรุนแรง ที่ควรเข้าพบคุณหมอ ได้แก่ มีไข้ขึ้นสูง ปวดศีรษะอย่างรุนแรง อาเจียน เปลือกตาบวมแดง รูม่านตาไม่ตอบสนองต่อแสง และตาไวต่อแสงผิดปกติ การมองเห็นเปลี่ยนแปลง หรือสูญเสียการมองเห็นกะทันหัน เห็นรัศมีรอบดวงไฟ ลืมตาไม่ขึ้น มีเลือดออกจากดวงตา สาเหตุสาเหตุที่ทำให้ปวดตา ส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการใช้สายตาเป็นเวลานาน เช่น การนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ และการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลอื่น ๆ เนื่องจากการสนใจในสิ่งที่อยู่ตรงหน้าจอเป็นเวลานาน […]


การดูแลสุขภาพตา

อาหารบำรุงสายตา มีอะไรบ้าง

หลายคนมักเชื่อว่าสายตาหรือการมองเห็นอาจเปลี่ยนไปตามอายุที่มากขึ้น หรือเกิดจากความผิดปกติของดวงตา แต่ในความเป็นจริงวิถีการใช้ชีวิตก็อาจส่งผลต่อสุขภาพดวงตาได้เช่นกัน เช่น การสูบบุหรี่ การใช้สายตามากเกินไป การรับประทาน อาหารบำรุงสายตา จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่อาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น และชะลอ หรือลดการเกิดโรคตา เช่น ต้อกระจก ต้อหิน ต้อเนื้อ ต้อลม จอตาเสื่อม  อาหารบำรุงสายตา มีอะไรบ้าง  ปัญหาสุขภาพตา อาจเกิดจากสาเหตุ เช่น การติดเชื้อจากไวรัสหรือแบคทีเรีย จอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก ต้อหิน ภาวะเบาหวานขึ้นตา ตาพร่า แผลในกระจกตา รวมถึงอุบัติเหตุต่าง ๆ อาจที่ส่งผลให้ดวงตาบาดเจ็บ อย่างไรก็ตาม วิทยาลัยจักษุวิทยาแห่งสหรัฐอเมริกา (AAO) แนะนำสารอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา ซึ่งสามารถหารับประทานได้ง่าย ดังนี้ น้ำ เป็นสิ่งที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะหากร่างกายขาดน้ำอาจส่งผลให้ตาแห้งได้ ไข่ อุดมไปด้วยลูทีน ซีแซนทีน วิตามินซี วิตามินอี และสังกะสี ที่อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงในการสูญเสียการมองเห็นที่เกี่ยวข้องกับอายุที่เพิ่มขึ้น เนื้อสัตว์ เช่น เนื้อไก่ เนื้อหมู มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และสังกะสี ที่อาจช่วยให้การมองเห็นดีขึ้นได้ในระยะยาว ทั้งยังช่วยชะลอการสูญเสียการมองเห็น และอาการขาดน้ำที่ทำให้ตาแห้ง […]


โรคตา

สายตาสั้น อาการ สาเหตุ และการรักษา

สายตาสั้น เกิดจากความผิดปกติของดวงตาที่ไม่สามารถการหักเหแสงได้อย่างถูกต้อง ทำให้การมองเห็นวัตถุ หรือสิ่งรอบตัวในระยะไกลพร่ามัว ไม่ชัดเจนเท่ากับการมองในระยะใกล้ โดยปกติอาจได้รับการแก้ไขด้วยการใส่แว่นตา คอนแทคเลนส์ หรือผ่าตัดทำเลสิก คำจำกัดความสายตาสั้น คืออะไร สายตาสั้น คือ ปัญหาทางสายตาที่ทำให้การมองเห็นวัตถุสิ่งต่าง ๆ รอบตัวไม่ชัดเจน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ สายตาสั้นธรรมดา เป็นภาวะสายตาสั้นที่ส่งผลไม่รุนแรง สามารถแก้ไขได้ด้วยการสวมแว่นตา หรือใส่คอนแทคเลนส์ตามที่คุณหมอกำหนด สายตาสั้นระดับสูง เป็นภาวะสายตาสั้นที่เสื่อมลงตามช่วงอายุ และอาจก่อให้เกิดโรคตาอื่น ๆ ได้ เช่น จอประสาทตาลอก ต้อกระจก ต้อหิน สายตาสั้นมากผิดปกติ อาจทำให้เกิดปัญหากระทบต่อจอตาเพิ่มเติม เช่น จอประสาทตาเสีย จอประสาทตาลอก จุดโฟกัสมีรอยแผลที่อาจนำไปสู่จุดบอด อาการอาการสายตาสั้น อาการสายตาสั้น สามารถสังเกตได้จากสัญญาณเตือน ดังนี้ มองเห็นวัตถุรอบตัวไม่ชัดเมื่ออยู่ในระยะไกล โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืน ปวดตา ตาล้า มีอาการตาเหล่เล็กน้อย กระพริบตาถี่ ขยี้ตาบ่อย อาการปวดหัวที่เกิดจากอาการปวดตา สาเหตุสาเหตุสายตาสั้น สาเหตุที่ทำให้สายตาสั้นเกิดจากโครงสร้างของดวงตาภายในผิดปกติ ทำให้กระจกตามีความโค้งสูงจนเกินไป ส่งผลให้แสงที่เข้ามาในดวงตาหักเหผิดปกติ ไม่อาจโฟกัสเป็นภาพได้ชัดเจน ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงสายตาสั้น ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้สายตาสั้น มีดังนี้ พันธุกรรม ที่อาจส่งต่อจากคนในครอบครัวที่มีประวัติสายตาสั้น พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น อ่านหนังสือ มองหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน ภาวะทางสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดสูง การวินิจฉัย และการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยสายตาสั้น คุณหมออาจทดสอบด้วยการให้อ่านตัวอักษรตามระยะที่กำหนด เพื่อเช็กความคมชัดของภาพที่ผู้ป่วยมองเห็น และใช้เครื่องมือทดสอบโรคตาที่เรียกว่า Phoropter […]


การดูแลสุขภาพตา

ตรวจตา มีวิธีการอย่างไร

ตรวจตา คือ การทดสอบสายตาเพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในดวงตา เช่น ประสิทธิภาพในการมองเห็น ต้อกระจก ต้อหิน และ การทดสอบมีหลายรูปแบบโดยจักษุแพทย์อาจเลือกใช้มากกว่าหนึ่งวิธี เพื่อหาสาเหตุ และทำการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของการตรวจตา การเข้ารับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำอาจทำให้ทราบถึงปัญหาสายตา หรือโรคตาที่เกิดขึ้น เช่น ปัญหาสายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง ตาเหล่ ตาพร่า ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม การตรวจตาสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีอาจทำให้คุณหมอช่วยรักษาภาวะต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันท่วงที เพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการที่รุนแรง หรือเสี่ยงต่อการสูญเสียการมองเห็น ควรตรวจตาเมื่อใด การตรวจตา สามารถทำได้ทุกวัยโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดอาการปกติ อาจขอรับการตรวจตาตามเกณฑ์อายุ ดังต่อไปนี้ ทารกแรกเกิด เป็นช่วงวัยแรกที่ควรได้รับการตรวจหาการติดเชื้อที่ตา ทารก 6 เดือน ควรตรวจสุขภาพตาโดยรวม และพัฒนาการในด้านการมองเห็น เด็กอายุไม่เกิน 3 ปี เด็กในช่วงวัยนี้อาจเสี่ยงเผชิญกับปัญหาตาขี้เกียจ ตาขวาง ตาเหล่ จึงควรพาเด็ก ๆ เข้ารับการตรวจตาเป็นประจำ เด็กอายุ 3-5 ปี ขึ้นไป อาจเข้ารับการตรวจตาเพื่อทดสอบด้านการมองเห็น และตำแหน่งของดวงตาเป็นประจำทุกปี ช่วงอายุ 20–39 ปี ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพตาทุก ๆ 5-10 ปี โดยเฉพาะผู้ที่ใส่คอนแทคเลนส์ ใช้สายตามากในชีวิตประจำวัน หรือมีปัญหาทางสายตา […]


โรคตา

ตาพร่า อาการ สาเหตุ การรักษาและป้องกัน

ตาพร่า เป็นภาวะสายตาที่พบได้บ่อย เกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น สายตาสั้น การจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือมากเกินไป ทำให้ตาเห็นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้ไม่ชัดเจน เป็นภาพเบลอ การทราบสาเหตุ และการรักษาที่เหมาะสม อาจช่วยให้รับมือกับอาการตาพร่าได้อย่างถูกต้อง คำจำกัดความตาพร่า คืออะไร ตาพร่า หรือ ตามัว คือภาวะที่การมองเห็นของดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างเปลี่ยนแปลง ทำให้มองวัตถุรอบตัวไม่ชัด โดยอาจเกิดจากความผิดปกติของสายตา เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง รวมถึงสภาวะจากโรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดในสมอง ไมเกรนที่ตา โรคหลอดเลือดแดงอักเสบ อาการอาการตาพร่า อาการตาพร่า สามารถสังเกตได้จากการมองเห็นไม่ชัดเจน มองเห็นวัตถุรอบตัวเป็นภาพซ้อน แต่หากมีอาการอื่น ๆ ร่วมกับอาการตาพร่า เช่น ปวดศีรษะกะทันหัน หน้าซีด หน้าชา พูดไม่ชัด สูญเสียการควบคุมกล้ามเนื้อ หมดสติ ควรพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาฉุกเฉินในโรงพยาบาลทันที เพราะอาจเป็นอาการแทรกซ้อนรุนแรงจากโรคเรื้อรัง สาเหตุสาเหตุตาพร่า สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการตาพร่า อาจมาจากปัญหาสุขภาพตาและโรคเรื้อรัง ดังนี้ เรตินาหรือจอประสาทตาลอก เมื่อเรตินาหรือจอประสาทตาแยกออกจากกัน อาจทำลายเส้นประสาท และส่งผลให้ตาพร่ามัว จอประสาทตาเสื่อมตามอายุ เป็นโรคที่ส่งผลต่อเรตินาในดวงตา ทำให้การมองเห็นพร่ามัว พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ไมเกรนที่ตา อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นบางส่วนหรือทั้งหมดได้นานถึง 30 […]


การดูแลสุขภาพตา

ยาหยอดตา ใช้อย่างไรให้ปลอดภัย

ยาหยอดตา เป็นสารละลายที่นำมาใช้เพื่อบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในดวงตา เช่น ใช้เพิ่มความชุ่มชื้นเมื่อตาแห้ง บรรเทาอาการเจ็บตา แสบตาหลังจากการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม ควรใช้ยาหยอดตาให้ตรงตามจุดประสงค์และคำแนะนำของคุณหมอหรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยของดวงตา ยาหยอดตา ใช้เพื่ออะไร ยาหยอดตา อาจช่วยบรรเทาอาการที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ ตาแห้ง เป็นภาวะที่ทำให้ตาแดง แสบตา การมองเห็นเปลี่ยนแปลง อาจเกิดจากต่อมน้ำตาผลิตน้ำตาไม่เพียงพอ พบได้บ่อยเมื่ออายุมากขึ้น เพราะร่างกายอาจผลิตน้ำตาได้น้อยลง หรือน้ำหล่อเลี้ยงในลูกตาระเหยเร็วเกินไป เป็นต้น โรคต้อหิน โรคต้อหินมักเกิดจากความดันและของเหลวในดวงตาเพิ่มขึ้นอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้เส้นประสาทตาเสียหาย และสูญเสียการมองเห็นได้ การใช้ยาหยอดตาอาจช่วยลดปริมาณของเหลว หรือขับของเหลวออกจากดวงตา เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยที่มีความดันในตาสูงเสี่ยงเป็นต้อหิน การติดเชื้อที่ตา การติดเชื้อที่ตาอาจเกิดจากไวรัส ส่งผลให้เจ็บบริเวณพื้นผิวดวงตา หรือบริเวณเปลือกตา และทำให้กระจกตาอักเสบได้ การรักษาด้วยการใช้ยาหยอดตาอาจช่วยต้านไวรัส และป้องกันความเสียหายต่อดวงตาที่เกิดขึ้น กระจกตาติดเชื้อ ภาวะกระจกตาติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการสวมใส่คอนแทคเลนส์อย่างไม่เหมาะสม เช่น คอนแทคเลนส์ไม่สะอาด สวมใส่คอนแทคเลนส์นานเกินไป จนนำไปสู่การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อปรสิต หากมีอาการในระดับเบา ยาหยอดตาบางชนิดที่คุณหมอแนะนำอาจช่วยต้านเชื้อดังกล่าวได้ แต่สำหรับอาการติดเชื้อรุนแรง อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือการผ่าตัด หลังการผ่าตัดตา หลังเข้ารับการผ่าตัดตา เช่น การผ่าตัดต้อกระจก การทำเลสิก คุณหมออาจให้ผู้ป่วยใช้ยาหยอดตาด้วยเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ และป้องกันการปฏิเสธเนื้อเยื่อในกรณีที่ผ่าตัดปลูกถ่ายกระจกตา ประเภทของยาหยอดตา ประเภทของยาหยอดตา แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. น้ำตาเทียม ส่วนใหญ่น้ำตาเทียมอาจใช้เพื่อช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดวงตาเมื่อตาแห้ง โดยน้ำตาเทียมมีให้เลือกใช้ 2 รูปแบบ […]


โรคตา

ตาเหล่

ตาเหล่ ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างเคลื่อนไหวไม่สอดคล้องกัน อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงวัย 6 เดือนแรกหลังคลอด และจะมีอาการที่ชัดเจนเรื่อย ๆ ตามการเจริญเติบโต โดยสังเกตได้จากลูกตาที่ไม่สามารถมองตรงไปข้างหน้าพร้อมกันได้ คำจำกัดความตาเหล่ คืออะไร ตาเหล่ คือ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็น เนื่องจากลูกตาทั้งสองข้างไม่สามารถมองไปที่จุดใดจุดหนึ่งในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งปกติดวงตาจะมีกล้ามเนื้อยึดติดเพื่อควบคุมการเคลื่อนไหวให้ไปในทิศทางเดียวกัน แต่หากกล้ามเนื้อนั้นทำงานผิดปกติ ก็จะเกิดเป็นอาการตาเหล่ขึ้น ตาเหล่สามารถแบ่งประเภทตามตำแหน่งของลูกตา ดังนี้ ตาเหล่ขึ้นไปด้านบน (Hypertropia) ตาเหล่ลงด้านล่าง (Hypotropia) ตาเหล่เข้าด้านใน (Esotropia) ตาเหล่ออกด้านนอก (Exotropia) อาการอาการของตาเหล่ อาการตาเหล่ที่พบบ่อย อาจสังเกตได้จาก ลักษณะของดวงตาที่ไม่สมส่วน และมีการเคลื่อนไหวดวงตาที่ไม่พร้อมเพรียงกัน กระพริบตา หรือหรี่ตาบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อเจอแสงจ้า เอียงศีรษะขณะดูสิ่งของรอบตัว มองเห็นไม่ชัด เดินชนสิ่งของ สาเหตุสาเหตุที่ส่งผลให้ตาเหล่ ยังไม่มีสาเหตุแน่ชัดที่ส่งผลให้เกิดอาการตาเหล่ แต่อาจมีความเชื่อมโยงเกี่ยวกับระบบประสาทส่วนที่ควบคุมกล้ามเนื้อตา หรือผลข้างเคียงจากปัญหาทางสายตา เช่น สายตายาว สายตาสั้น สายตาเอียง รวมถึงโรคตาเรื้อรัง และการติดเชื้อไวรัสบางชนิด ที่เข้าไปสร้างความเสียหายแก่หลอดเลือด เส้นประสาท ปัจจัยเสี่ยงปัจจัยเสี่ยงของภาวะตาเหล่ ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้ตาเหล่ ทั้งในเด็ก และผู้ใหญ่ ได้แก่ ประวัติของบุคคลในครอบครัวที่เคยมีหรือกำลังมีอาการตาเหล่ สายตาผิดปกติ อาจทำให้เกิดอาการตาเหล่ได้ เนื่องจากต้องเพ่งสายตาเพื่อมองเห็นสิ่งรอบตัวได้ชัดเจนขึ้น โรคอื่น ๆ เช่น ดาวน์ซินโดรม สมองพิการ โรคหลอดเลือดในสมอง โรคต้อหิน โรคต้อกระจก โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ การวินิจฉัยและการรักษาข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม การวินิจฉัยภาวะตาเหล่ คุณหมออาจวินิจฉัยหาสาเหตุของ ภาวะตาเหล่ และความผิดปกติของลูกตาด้วยการทดสอบต่าง ๆ ดังนี้ สอบถามประวัติผู้ป่วยถึงอาการ ยาที่ใช้ […]


ต้อหิน

ผ่าตัดต้อหิน ความเสี่ยงหลังการผ่าตัด และการดูแลตัวเอง

ต้อหิน เป็นกลุ่มอาการตาที่ทำลายเส้นประสาทตา ที่อาจเกิดจากความดันภายในลูกตาสูงผิดปกติ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่อาจส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป การ ผ่าตัดต้อหิน จึงอาจเป็นวิธีการรักษาที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการมองเห็น หากการรักษาด้วยยาหยอดตาให้ผลไม่ชัดเจน ผ่าตัดต้อหิน ด้วยวิธีใดได้บ้าง การรักษาต้อหินขึ้นอยู่กับประเภท และสาเหตุของต้อหิน คุณหมออาจเลือกวิธี การผ่าตัดต้อหิน ที่เหมาะสม ดังต่อไปนี้ เจาะรูระบายน้ำภายในลูกตา (Trabeculectomy) คุณหมอจะทำการเจาะรูขนาดเล็กในลูกตาเพื่อเพิ่มช่องทางการระบายของเหลวออก ทำให้ความดันในดวงตาลดลง การผ่าตัดใส่อุปกรณ์ระบายของเหลว โดยการใส่ท่อระบายน้ำขนาดเล็กในดวงตา เพื่อระบายน้ำส่งต่อไปยังบริเวณใต้เยื่อบุลูกตา นำไปสู่การดูดซึมเข้าสู่หลอดเลือดตามธรรมชาติของระบบการทำงานของร่างกาย การผ่าตัดต้อกระจก เป็นการผ่าตัดเปิดเลนส์ตา เพื่อช่วยลดความดันในตา เนื่องจากโรคต้อหินมีม่านตาและกระจกตาที่อยู่ใกล้กันเกินไป ส่งผลให้ไม่สามารถระบายของเหลวได้ ดังนั้นการผ่าตัดด้วยวิธีนี้อาจสร้างระยะห่างของม่านตา และกระจกตาที่ช่วยให้ระบายของเหลวออกจากตาได้มากขึ้น นอกจาก การผ่าตัดต้อหิน ยังมีการรักษาด้วยเลเซอร์ในรูปแบบต่าง ๆ ที่อาจช่วยลดความดันในตา และระบายของเหลวของจากดวงตาได้ ถึงอย่างไรการเลือกวิธีการรักษาต้องผ่านการตรวจและประเมินอาการเบื้องต้น เพื่อลดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยอาจเผชิญได้หลังการผ่าตัด ความเสี่ยงหลังการผ่าตัด การผ่าตัดต้อหิน อาจทำให้เกิดความเสี่ยงบางอย่างหลังจากการผ่าตัด หรือระหว่างการพักฟื้นดวงตาได้ ดังนี้ ปวดตา ตาแดง ตาบวม ระคายเคืองดวงตา เลือดออกในตา การติดเชื้อ และการอักเสบ ความดันในตาอยู่ในระดับต่ำ หรือระดับสูงจนเกินไป ตาพร่ามัวเป็นเวลานาน ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง หรืออาจสูญเสียการมองเห็น การดูแลตัวเองหลัง การผ่าตัดต้อหิน หลังการผ่าตัดต้อหินควรงดทำกิจกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันในช่วง 2-3 สัปดาห์แรก ได้แก่ งดอ่านหนังสือ ดูโทรทัศน์ เล่นโทรศัพท์ หรือใช้สายตากับหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน งดออกกำลังกาย และยกของหนัก หลีกเลี่ยงการสวมใส่คอนแทคเลนส์ งดใช้เครื่องสำอางและสกินแคร์บริเวณใบหน้า เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อแบคทีเรีย ไม่ควรขับขี่ยานพาหนะจนกว่าตาจะหายดี

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน