backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

ตาเข (Strabismus)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 22/03/2021

ตาเข (Strabismus)

ตาเข (Strabismus) เป็นภาวะดวงตาที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กทารก ดวงตาทั้ง 2 ข้างไม่สามารถมองในจุดเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ โดยดวงตาข้างหนึ่งจะมองไปด้านข้าง และดวงตาอีกข้างหนึ่งอาจมองไปทางซ้ายหรือขวา 

คำจำกัดความ

ตาเข (Strabismus) คืออะไร

ตาเข (Strabismus) เป็นภาวะดวงตาที่พบได้บ่อยที่สุดในเด็กทารก ดวงตาทั้ง 2 ข้างไม่สามารถมองในจุดเดียวกันในเวลาเดียวกันได้ โดยดวงตาข้างหนึ่งจะมองไปด้านข้าง และดวงตาอีกข้างหนึ่งอาจมองไปทางซ้ายหรือขวา 

อย่างไรก็ตาม อาการตาเข อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะ มองเห็นไม่ชัด หากไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่น ๆ อาจส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นบางส่วนไปได้ 

พบได้บ่อยเพียงใด

โดยส่วนใหญ่มักพบผู้ป่วยที่มี อาการตาเข ตั้งแต่กำเนิด แต่จะได้รับการการยืนยันการวินิจฉัยโรคเมื่ออายุครบ 3 เดือน 

อาการ

อาการของ อาการตาเข 

อาการตาเข เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อรอบดวงตาไม่ทำงานประสานกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการ ดังต่อไปนี้ 

  • ตาเขหรือตาเหล่
  • สายตายาว
  • รู้สึกเจ็บบริเวณรอบดวงตา
  • ปวดศีรษะ
  • มีอาการตามัว เห็นภาพไม่ชัด 

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของ อาการตาเข 

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของ อาการตาเข โดยส่วนใหญ่มักเป็นโดยกำเนิด รวมถึงสาเหตุและปัจจัยอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • สายตา ในผู้ที่มีสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง การที่ต้องใช้สายตาในการมองวัตถุที่ค่อนข้างสูงอาจส่งผลต่อการมองเห็นและอาจเสี่ยงต่อ อาการตาเข ได้ 
  • การติดเชื้อ เช่น โรคหัด โรคเรติโนบลาสโตมา
  • พันธุกรรม เช่น มีพัฒนาการเจริญเติบโตช้า กลุ่มอาการดาวน์หรือดาวน์ซินโดรม 
  • อื่น ๆ เช่นปัญหาเกี่ยวกับด้านสมองหรือเส้นประสาท 

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์ทุกครั้งเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

การวินิจฉัย อาการตาเข

เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่เหมาะสม คุณหมออาจทำการตรวจดังต่อไปนี้

  • ตรวจร่างกาย รวมถึงการตรวจดวงตาอย่างละเอียด
  • ตรวจสมองและระบบประสาท
  • ทดสอบแสงสะท้อนจากแก้วตา
  • ตรวจแบบเปิดตา/ปิดตา
  • ตรวจจอตา
  • ตรวจดวงตาขั้นพื้นฐาน
  • ตรวจวัดสายตา

การรักษา อาการตาเข

วิธีการรักษา อาการตาเข มีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับวิสัยทัศน์การมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น ในกรณีกลุ่มผู้ใหญ่ที่มี อาการตาเข เพียงเล็กน้อย ซึ่งอาจจะเป็น ๆ หาย ๆ แพทย์อาจแก้ปัญหาได้ด้วยการสวมใส่แว่นตาและบริหารกล้ามเนื้อดวงตา เพื่อทำให้ดวงตาไม่เข แต่ถ้ามีอาการรุนแรงมากขึ้น อาจต้องเข้ารับผ่าตัดเพื่อปรับสมดุลให้ดวงตาอีกครั้ง หากอาการตาเหล่เกิดขึ้นจากภาวะตามัว ก็จำเป็นต้องแก้ปัญหาเรื่องตามัวก่อน การผ่าตัดรักษาอาการตาเหล่ถึงจะประสบผลสำเร็จ รวมถึงวิธีการรักษาด้านอื่น ๆ ดังต่อไปนี้

  • ในกรณีเด็กที่มีสายตายา แพทย์อาจแนะนำให้ใส่แว่นตาเพื่อปรับสายตาให้มองเห็นได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • บริหารสายตา การออกกำลังกาย จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อบริเวณต่าง ๆ ภายในร่างกายเคลื่อนไหวได้ดี อาจช่วยให้ดวงตาทำงานร่วมกันได้ดียิ่งขึ้น
  • การผ่าตัด แพทย์อาจผ่าตัดซ่อมแซมกล้ามเนื้อตา เพื่อให้ดวงตามองเห็นได้อย่างถูกต้อง 

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเอง

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อบรรเทาอาการตาเข

การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการดูแลรักษาตัวเองดังต่อไปนี้ จะช่วยให้รับมือกับอาการตาเขได้ดียิ่งขึ้น

  • บริหารดวงตาตามคำแนะนำจากจักษุแพทย์ เพื่อเสริมความแข็งแรงและเพิ่มสมดุลให้กับดวงตา
  • ใช้ที่คาดตาปิดตาข้างที่ใช้งานได้ดีไว้ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กับดวงตาข้างที่อ่อนแอ
  • สวมใส่แว่นตาที่สั่งตัดเป็นพิเศษ เพื่อปรับการมองเห็นให้ชัดเจน
  • จัดการกับความเครียดเรื้อรังในชีวิต
  • ออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 22/03/2021

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา