backup og meta

ยาสอดแก้ตกขาว มีอะไรบ้าง และวิธีสังเกตสีของตกขาวที่ผิดปกติ

ยาสอดแก้ตกขาว มีอะไรบ้าง และวิธีสังเกตสีของตกขาวที่ผิดปกติ

ตกขาว เป็นอาการปกติที่พบได้ในผู้หญิง แต่หากมีตกขาวที่สีเปลี่ยนไป ร่วมกับอาการคันในช่องคลอด เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ ความผิดปกติ ซึ่งอาจจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อรักษา หรือใช้ ยาสอดแก้ตกขาว ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการใช้ยาสอดแก้ตกขาวอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัดเสียก่อน ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง

[embed-health-tool-ovulation]

สีของตกขาว แบบไหนผิดปกติ

ตกขาวเกิดได้จากการที่ผนังด้านในช่องคลอดสร้างสารเมือก คล้ายกับแป้งเปียกเพื่อออกมาในร่างกายของผู้หญิง โดยมีหน้าที่ช่วยหล่อลื่นช่องคลอด ขับสิ่งแปลกปลอม อีกทั้งปรับสภาพความเป็นกรดด่างในช่องคลอด ในภาวะปกติ ตกขาวจะไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่คัน และไม่มีกลิ่น ตกขาวจึงสามารถบ่งบอกสุขภาพร่างกาย ได้ดังนี้

  • ตกขาวเป็นน้ำหรือเมือกใส : อาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน โดยเฉพาะช่วงที่มีการตกไข่ ซึ่งจะมีปริมาณตกขาวมาก
  • ตกขาวเป็นก้อนสีขาว : เกิดจากการติดเชื้อราที่มีชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) ส่งผลให้ตกขาวมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวข้น มีกลิ่นเหม็นแต่ไม่คาว อาจทำให้แสบคันในบางครั้ง
  • ตกขาวสีเหลือง : สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัสและการติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม การติดเชื้อรา การติดเชื้อหนองใน และการติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด
  • ตกขาวสีเขียว : เกิดจากการติดเชื้อพยาธิประเภทโปรโตซัว ที่มีชื่อว่า ทริโคโมแนส วาจินาลิส (Trichomonas Vaginalis) ซึ่งมักเกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว เป็นฟอง มีอาการคันและแสบแดงที่บริเวณอวัยวะเพศ
  • ตกขาวสีเทา : เกิดจากการลดลงของแบคทีเรีย ชนิด แลคโตบาซิลไล (Lactobacilli) ทำให้แบคทีเรียก่อโรค มีจำนวนเพิ่มขึ้นจนช่องคลอดเกิดการอักเสบ มีกลิ่นเหม็นคล้ายกับกลิ่นปลาเค็ม
  • ตกขาวสีชมพู : พบได้มากในหญิงหลังคลอด ซึ่งเกิดจากการลอกของเยื่อบุโพรงมดลูก
  • ตกขาวสีน้ำตาล : อาจเกิดจากเลือดออกผิดปกติปนออกมากับตกขาว เช่น อาการเลือดออกจากการตกไข่หลังมีประจำเดือนวันแรก โดยอาจมีอาการปวดท้องน้อยร่วมด้วย และอาการเลือดออกจากประจำเดือนที่มาช้าหรือมาไม่ตรงรอบ

ยาสอดแก้ตกขาว มีอะไรบ้าง 

การรักษาตกขาวผิดปกติ สามารถทำได้ทั้งการใช้ยาสำหรับช่องคลอด หรือยาสอดแก้ตกขาว

ยาสอดแก้ตกขาวที่ใช้สำหรับช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย

ยาสอดแก้ตกขาวที่ใช้สำหรับช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น  

  • Metronidazole gel 0.75% ครั้งละ 5 กรัม โดยบีบยาเต็ม Applicator ที่ให้มา แล้วสอด Applicator พร้อมยาเข้าไปข้างในช่องคลอดให้ลึกที่สุด แต่ไม่รู้สึกเจ็บ ค่อย ๆ กดแกนกลางของ Applicator เพื่อปล่อยยาเข้าช่องคลอด สอดยาวันละครั้ง ก่อนนอน เเป็นเวลา 5 วัน
  • Clindamycin cream 2% ครั้งละ 5 กรัม สอดเข้าช่องคลอด โดยใช้ Applicator วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 7 วัน
  • Clindamycin ovules 100 g สอดเข้าช่องคลอด วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 3 วัน

ยาสอดแก้ตกขาวที่ใช้สำหรับช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อรา

ยาสอดแก้ตกขาวที่ใช้สำหรับช่องคลอดอักเสบจากการติดเชื้อรา เช่น

  • Butoconazole 2% cream ครั้งละ 5 กรัม สอดเข้าช่องคลอดโดยใช้ Applicator วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 3 วัน
  • Clotrimazole 1% cream ครั้งละ 5 กรัม สอดเข้าช่องคลอดโดยใช้ Applicator วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 7–14 วัน
  • Clotrimazole 100 มก. สอดช่องคลอด วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 7 วัน
  • Clotrimazole 100 มก. vaginal tablet สอดเข้าช่องคลอด วันละ 2 เม็ด ก่อนนอน เป็นเวลา 3 วัน
  • Clotrimazole 500 มก. vaginal tablet สอดเข้าช่องคลอด 1 เม็ดครั้งเดียว
  • Miconazole 2% cream ครั้งละ 5 กรัม สอดเข้าช่องคลอดโดยใช้ Applicator วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 7 วัน
  • Miconazole 100 มก. vaginal suppository สอดช่องคลอด วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 7 วัน
  • Miconazole 200 มก. vaginal suppository สอดช่องคลอดวันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 3 วัน
  • Miconazole vaginal ovule 1200 มก. สอดช่องคลอดครั้งเดียว
  • Miconazole 400 มก. สอดช่องคลอด วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 3 วัน
  • Tioconazole 6.5% ointment 5 กรัมครั้งเดียว สอดเข้าช่องคลอดโดยใช้ Applicator
  • Terconazole 0.4% cream ครั้งละ 5 กรัม สอดเข้าช่องคลอดโดยใช้ Applicator วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 7 วัน
  • Terconazole 0.8% cream ครั้งละ 5 กรัม สอดเข้าช่องคลอดโดยใช้ Applicator วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 3 วัน
  • Terconazole 80 มก. vaginal suppository ใส่ช่องคลอด วันละครั้ง ก่อนนอน เป็นเวลา 3 วัน

การใช้ยาสอดแก้ตกขาว ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือเข้ารับการตรวจรักษา เพื่อใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/312/%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3/ 

https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/faculties/student-extern-intern/extern-intern-corner/learning-manual-for-extern/4690/ 

https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/939/Candidiasis 

https://www.rama.mahidol.ac.th/obgyn/th/article/23112020-1131-th 

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/07/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตกขาวมีเลือดปน เกิดจากอะไร และอาการที่ควรเข้าพบคุณหมอ

วิธีรักษาตกขาวปนเลือด ทำได้อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 21/07/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา