backup og meta

อัตลักษณ์ทางเพศ นิยาม และข้อเท็จจริง

อัตลักษณ์ทางเพศ นิยาม และข้อเท็จจริง

อัตลักษณ์ทางเพศ หมายถึง นิยามเกี่ยวกับเพศของตนเองโดยอาจอ้างอิงจากรสนิยมทางเพศหรือลักษณะเพศทางกายภาพโดยกำเนิด ทั้งนี้ บางคนอาจทราบว่าอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองคืออะไรตั้งแต่อายุยังน้อย อย่างไรก็ตาม อัตลักษณ์ทางเพศอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่ออายุมากขึ้น

[embed-health-tool-bmr]

อัตลักษณ์ทางเพศคืออะไร

อัตลักษณ์ทางเพศหรือ Sexual Identity หมายถึง นิยามต่อเพศของตัวเอง ของคน ๆ หนึ่งซึ่งมักสัมพันธ์กับรสนิยมทางเพศของคน ๆ นั้น หรือความรู้สึกดึงดูดทางเพศหรือความต้องการที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเพศใดเพศหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งเพศ

สำหรับอัตลักษณ์ทางเพศที่ปรากฏอยู่ในสังคมปัจจุบัน ได้แก่

  • สเตรท (Straight) หมายถึง ผู้ที่ชอบและต้องการมีเพศสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม กล่าวคือ ผู้ชายที่ชอบผู้หญิง และผู้หญิงที่ชอบผู้ชาย
  • เลสเบี้ยน (Lesbian) หมายถึง ผู้หญิงที่ชอบผู้หญิงด้วยกัน
  • เกย์ (Gay) หรือผู้ชายที่ชอบผู้ชายด้วยกัน ทั้งนี้ เกย์ วูแมน (Gay Woman) ยังเป็นคำเรียกหนึ่งของเลสเบี้ยนด้วย
  • ไบเซ็กชวล (Bisexual) หมายถึง ผู้ที่ชอบทั้งเพศตรงข้ามและเพศเดียวกัน
  • เอเซ็กชวล (Asexual) หรือผู้ที่ไม่ฝักใฝ่เรื่องเพศใด ๆ
  • แพนเซ็กชวล (Pansexual) หมายถึง ผู้ที่รู้สึกดึงดูดได้กับทุกเพศ ไม่ว่าจะเพศเดียวกับตัวเอง เพศตรงข้าม หรือเพศทางเลือก

อัตลักษณ์ทางเพศ และความสัมพันธ์ต่อเพศกำเนิด

อัตลักษณ์ทางเพศ อาจสอดคล้องกับเพศกำเนิดหรือไม่สอดคล้องก็ได้ โดยผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศสอดคล้องกับเพศกำเนิดจะเรียกว่า ซิสเจนเดอร์ (Cisgender) หรือผู้ที่เกิดมาเป็นเพศชายหรือเพศหญิงและนิยามตัวเองว่าเป็นเพศชายหรือเพศหญิง ส่วนผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศไม่ตรงกับเพศกำเนิดอาจเลือกนิยามตัวเอง ดังต่อไปนี้

  • ทรานส์เจนเดอร์ (Transgender) หรือบุคคลข้ามเพศ หมายถึงคนที่มองว่าเพศของตัวเองตรงข้ามกับเพศกำเนิดเช่น ผู้ชายที่มองว่าเพศของตัวเองคือผู้หญิง ผู้หญิงที่มองว่าเพศของตัวเองคือผู้ชาย
  • เอเจนเดอร์ (Agender) หมายถึง ผู้ที่ไม่นิยามตัวเองภายใต้คำอธิบายของอัตลักษณ์ทางเพศแบบใดแบบหนึ่ง หรือเป็นผู้ที่มองว่าตัวเองมีเพศที่ไม่ชัดเจน
  • ไบเจนเดอร์ (Bigender) หมายถึง ผู้ที่มองว่าตัวเองเป็นทั้งเพศหญิงและชายในเวลาเดียวกัน และไม่เหมือนกับไบเซ็กชวล
  • เจนเดอร์ ฟลูอิด (Gender Fluid) หมายถึง ผู้ที่มีอัตลักษณ์ทางเพศลื่นไหล ไม่ตายตัว บางวันนิยามว่าตนเองเป็นผู้ชาย ขณะที่บางช่วงเวลานิยามตนเองเป็นผู้หญิง

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ทางเพศ

ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตลักษณ์ทางเพศ มีดังนี้

  • บางคนอาจทราบถึงอัตลักษณ์ทางเพศของตัวเองตั้งแต่เด็ก หรือตั้งแต่อายุ 2-3 ปี
  • อัตลักษณ์ทางเพศอาจสอดคล้องกับพฤติกรรมที่คน ๆ หนึ่งแสดงออกมาหรือไม่สอดคล้องกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับรสนิยมความชอบส่วนตัวหรือบริบทของสังคมแวดล้อม
  • อัตลักษณ์ทางเพศไม่ใช่ตัวเลือก แต่เป็นความยินดีหรือสบายใจที่จะนิยามตัวเองตามแบบที่ตัวเองเป็น
  • อัตลักษณ์ทางเพศอาจคงเดิมตลอดชีวิต หรือเปลี่ยนไปเมื่ออายุมากขึ้น ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนไปของอัตลักษณ์ทางเพศไม่ได้หมายความว่าคน ๆ นั้นกำลังสับสน แต่หมายความว่าคน ๆ นั้นได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวเองและรู้จักตัวเองมากขึ้น
  • Gender Identity เป็นอีกคำหนึ่งที่แปลเป็นภาษาไทยว่า อัตลักษณ์ทางเพศเช่นเดียวกับ Sexual Identity แต่ Gender Identity มักหมายถึง นิยามเกี่ยวกับเพศของตัวเองซึ่งสัมพันธ์กับเพศสภาพ ในขณะที่ Sexual Identity หมายถึง คำนิยามเกี่ยวกับเพศของตนเองรวมทั้งรสนิยมทางเพศด้วย

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Sexual Identity. https://kidshelpline.com.au/teens/issues/sexual-identity. Accessed November 24, 2022

Sexual Orientation and Gender Identity Definitions. https://www.hrc.org/resources/sexual-orientation-and-gender-identity-terminology-and-definitions. Accessed November 24, 2022

Sex and Gender Identity. https://www.plannedparenthood.org/learn/gender-identity/sex-gender-identity. Accessed November 24, 2022

Sexuality and Gender Identity Definitions. http://religiousinstitute.org/resources/sexuality-gender-definitions/. Accessed November 24, 2022

What Does Genderqueer Mean?. https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-does-genderqueer-mean. Accessed November 24, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/12/2022

เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

LGBTQ คืออะไร ข้อเท็จจริงและความเข้าใจผิด ๆ

LGBTQ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ธนชาติ จึงแย้มปิ่น · แก้ไขล่าสุด 09/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา