backup og meta

เริมที่อวัยวะเพศหญิง สาเหตุ การรักษา และการป้องกัน

เริมที่อวัยวะเพศหญิง สาเหตุ การรักษา และการป้องกัน

เริมที่อวัยวะเพศหญิง เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex) หรือที่เรียกว่าไวรัสเริม ซึ่งอาจแบ่งออกเป็นชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ส่งผลให้มีตุ่มพุพองในบริเวณอวัยวะเพศ รู้สึกเจ็บแสบช่องคลอด และคันอวัยวะเพศอย่างรุนแรง ดังนั้น จึงควรป้องกันด้วยการสวมถุงยางอนามัยทุกก่อนมีเพศสัมพันธ์ ไม่ควรเปลี่ยนคู่นอนหลายคน และตรวจสุขภาพทางเพศเพื่อคัดกรองโรคเป็นประจำ

[embed-health-tool-ovulation]

สาเหตุที่ทำให้เกิด เริมที่อวัยวะเพศหญิง

เริมที่อวัยวะเพศหญิงเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเริม ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้

1. ไวรัสเริมชนิดที่ 1 (HSV-1)

อาจทำให้เป็นโรคเริมในช่องปาก ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านน้ำลาย หรือการให้แผลสัมผัสกับสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัส อีกทั้งยังสามารถทำให้เกิดเริมที่อวัยวะเพศได้หากมีเพศสัมพันธ์ทางปากโดยไม่ป้องกัน

อาการของการติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 1 อาจสังเกตได้ดังนี้

  • รู้สึกแสบร้อนบริเวณรอบ ๆ ปาก ช่องคลอด อวัยวะเพศ หรือทวารหนัก
  • มีอาการคัน มีรอยแดงที่ปาก ช่องคลอด ทวารหนัก หรืออวัยวะเพศ
  • มีตุ่มพุพองในช่องปาก ช่องคลอด ปากมดลูก ทวารหนัก อวัยวะเพศ หรือก้น ซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเปิดเมื่อตุ่มพุพองแตก
  • แผลเป็นสะเก็ดแข็ง และอาจหายเป็นปกติภายใน 4-6 วัน

2. ไวรัสเริมชนิดที่ 2 (HSV-2)

มักเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ ซึ่งสามารถแพร่กระจายผ่านการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันและอาจแพร่กระจายต่อไปยังอีกบุคคลหนึ่งด้วยการสัมผัสผ่านทางผิวหนัง ซึ่งอาจส่งผลให้เชื้ออยู่ในร่างกายตลอดชีวิตและรักษาไม่หาย

การติดเชื้อไวรัสเริมชนิดที่ 2 มักไม่ค่อยแสดงอาการ แต่บางคนอาจมีอาการ ดังนี้

  • มีอาการคัน ตุ่มแดง แผล และสะเก็ดแผลเริม บริเวณต้นขา ก้น ทวารหนัก อวัยวะเพศ ช่องคลอด หรือปากมดลูก
  • มีไข้
  • ปวดเมื่อยตามร่างกาย
  • ต่อมน้ำเหลืองโต

วิธีรักษาเริมที่อวัยวะเพศหญิง

เริมที่อวัยวะเพศหญิงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่คุณหมออาจให้รับประทานยาต้านไวรัส เช่น อะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) วาลาไซโคลเวียร์ (Valacyclovir) เพื่อช่วยลดความรุนแรงของการติดเชื้อ ลดความถี่การเกิดซ้ำ ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นเมื่อติดเชื้อครั้งแรก และลดการแพร่กระจายไวรัสไปยังผู้อื่น

สำหรับสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเริมที่อวัยวะเพศ อาจส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพทารกในครรภ์ได้ คุณหมออาจแนะนำให้รับประทานยาต้านไวรัสถ้ามีการตรวจพบรอยโรค และแนะนำให้ผ่าตัดคลอดแทนการคลอดแบบธรรมชาติ เพื่อลดความเสี่ยงการแพร่เชื้อไวรัสไปยังทารก ถ้ามีรอยโรคที่อวัยวะเพศหรือช่องทางคลอด

นอกจากนี้ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อช่วยบรรเทาอาการเริม ดังนี้

  • ใช้น้ำเปล่าหรือน้ำเกลือล้างอวัยวะเพศ อีกทั้งขณะปัสสาวะอาจฉีดน้ำล้างอวัยวะเพศเพื่อช่วยบรรเทาอาการแสบ
  • ประคบเย็นเมื่อรู้สึกเจ็บปวดแผล แต่ไม่ควรใช้น้ำแข็งประคบเย็นที่อวัยวะเพศโดยตรง ควรใช้ผ้าสะอาดห่อน้ำแข็งก่อนแล้วจึงค่อยประคบ
  • ทายาแก้ปวด หรือปิโตรเลียมเจล เพื่อลดอาการเจ็บแสบละช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณแผลเริม
  • หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้า และกางเกงชั้นในที่รัดแน่น เพื่อลดการระคายเคืองของผิว
  • ไม่ควรนำมือไปสัมผัสกับแผลหรือตุ่มพุพอง ยกเว้นเวลาที่ทาครีมแก้ปวด เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด หรือทวารหนักจนกว่าแผลจะหาย และไม่ควรมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวมถุงยางอนามัยป้องกัน

การป้องกันเริมที่อวัยวะเพศหญิง

การป้องกันเริมที่อวัยวะเพศหญิง อาจทำได้ดังนี้

  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์
  • หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหากสังเกตว่ามีแผลพุพอง หรืออาการคันอวัยวะเพศ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ
  • ไม่แบ่งปันของใช้ร่วมกัน เช่น เซ็กส์ทอย ผ้าขนหนู
  • งดการสูบบุรี่ ดื่มสุรา เพราะอาจส่งผลให้อาการเริมกำเริบอีกครั้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Genital herpes. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/genital-herpes/symptoms-causes/syc-20356161. Accessed March 14, 2022      

Genital Herpes. https://www.cdc.gov/std/herpes/stdfact-herpes.htm. Accessed March 14, 2022      

Genital Herpes. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/herpes-hsv1-and-hsv2/genital-herpes. Accessed March 14, 2022      

Genital herpes. https://www.nhs.uk/conditions/genital-herpes/. Accessed March 14, 2022      

Herpes simplex virus.https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/herpes-simplex-virus. Accessed March 14, 2022     

Herpes Simplex Virus: HSV-1 & HSV-2.https://www.webmd.com/genital-herpes/pain-management-herpes#1. Accessed March 14, 2022     

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/06/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

LGBTQ และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

ทำความรู้จักกับ เชื้อไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลนครพิงค์


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 29/06/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา