สุขภาพทางเพศ

สุขภาพทางเพศ คืออีกหนึ่งส่วนสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข Hello คุณหมอ จึงอยากนำเสนอเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับสุขภาพทางเพศ ทั้งการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ไปจนถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ให้ผู้อ่านได้มีสุขภาพทางเพศที่ดีมากยิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

สุขภาพทางเพศ

หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร

บทความนี้ Hello คุณหมอ จะพาทุกคนมาดูข้อแตกต่างระหว่าง หนองในเทียม และ หนองในแท้ แบบเข้าใจง่าย กันค่ะ จะมีลักษณะอาการที่แตกต่างกันอย่างไร และจะมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ เลยค่ะ หนองในเทียม และ หนองในแท้ แตกต่างกันอย่างไร หนองในเทียม และ หนองในแท้มีข้อแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้ สาเหตุ หนองในเทียม (Non Gonococcal Urethritis) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า คลามัยเดีย ทราโคมาทิส (Chlamydia trachomatis) หนองในแท้ (Gonorrhoea) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อเรียกว่า ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhea) ระยะการฟักตัว หนองในเทียม มีระยะการฟักตัวค่อนข้างนาน โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวมากกว่า 1-3 สัปดาห์ หนองในแท้ มีระยะการฟักตัวค่อนข้างสั้น โดยส่วนใหญ่มักมีระยะการฟักตัวภายใน 1-5 วัน อาการของโรคหนองใน อาการโรคหนองในเทียมในเพศชาย ในระยะแรก ๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกคันที่บริเวณท่อปัสสาวะ และมีน้ำสีใส ๆ หรือขุ่น ๆ ไหลออกมาจากปลายองคชาต อาการโรคหนองในแท้ในเพศชาย […]

หมวดหมู่ สุขภาพทางเพศ เพิ่มเติม

สำรวจ สุขภาพทางเพศ

โรคติดเชื้อเอชพีวี

ตารางเปรียบเทียบชนิด วัคซีน HPV

ตารางเปรียบเทียบชนิด วัคซีน HPV กลุ่มเป้าหมายหลักที่แนะนำให้ฉีด วัคซีน HPV วัคซีน HPV หรือวัคซีนมะเร็งปากมดลูกสามารถเริ่มฉีดให้ทุกคนทั้งเพศหญิง และเพศชาย ได้ตั้งแต่อายุ 9 ปีเป็นต้นไป ดังนี้ อายุ 9-15 ปี ฉีด 2 เข็ม ที่ 0, 6-12 เดือน จากการฉีดเข็มแรก อายุมากกว่า 15 ปี ฉีด 3 เข็ม โดยฉีดแต่ละเข็มในเดือนที่ 0, 2 และ 6 จากการฉีดเข็มแรก กลุ่มอื่นที่แนะนำให้ฉีดวัคซีน คือ หญิงและชายที่มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ติดเชื้อเอชไอวี หญิงที่เคยมีผล Pap smear หรือ HPV testing ผิดปกติหรือ เคยเป็นรอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูก หรือเคยเป็นหูดหงอนไก่มาก่อน ทั้งนี้ สำหรับกล่มุหญิงอายุ 26-45 ปีหรือหญิงที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว แพทย์จะพิจารณาการฉีดวัคซีนเป็นราย ๆไป โดยตัดสินใจร่วมกันกับผู้ต้องการฉีดวัคซีนหลังทราบข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวีและประโยชน์ของการฉีดวัคซีน TH-GSL-00271 05/2023


การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

one night stand คือ ความสัมพันธ์แบบไหน มีข้อควรระวังอย่างไร

ความสัมพันธ์แบบ one night stand คือ ความสัมพันธ์ชั่วข้ามคืน หรือการมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ผูกมัด ซึ่งควรได้รับความยินยอมพร้อมใจของทั้ง 2 ฝ่าย อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย และควรใช้ถุงยางอนามัย เพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่าง ๆ และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม [embed-health-tool-ovulation] one night stand คือ อะไร ความสัมพันธ์แบบข้ามคืนหรือ one night stand คือการมีเพศสัมพันธ์กันโดยไม่ผูกมัด เป็นความสัมพันธ์แค่คืนเดียวเท่านั้น โดยความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นนี้ควรได้รับความยินยอมพร้อมใจของทั้ง 2 ฝ่าย ที่ตกลงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ โดยทั่วไป one night stand คือความสัมพันธ์กับคนแปลกหน้า หรือคนที่เพิ่งรู้จักกันได้ไม่นาน จึงควรจะมีข้อตกลงร่วมกันและมีข้อควรระวังที่ต้องรู้ก่อนตัดสินใจ สิ่งที่ควรตกลงกันก่อนมี one night stand  การมีความสัมพันธ์แบบ one night stand ควรมีข้อตกลงร่วมกันหรือพูดคุยกันก่อน เพื่อให้มีความเข้าใจที่ตรงกัน เช่น พูดคุยกันถึงรสนิยม : ก่อนตัดสินใจ one night stand ควรตกลงเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ว่า ทั้ง 2 ฝ่ายเต็มใจทำสิ่งไหน […]


สุขภาพทางเพศ

ยาปรับฮอร์โมน เป็นอย่างไร ชนิดเดียวกับยาคุมกำเนิดหรือไม่

ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จนถึงวัยหมดประจำเดือน มักจะมีปัญหาเรื่องฮอร์โมนภายในร่างกาย เพียงแต่ปัญหานั้นแตกต่างกันไปตามช่วงอายุ ยาปรับฮอร์โมน เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ฮอร์โมนในร่างกายกลับมาปกติ [embed-health-tool-ovulation] ยาปรับฮอร์โมน คืออะไร ยาปรับฮอร์โมนเป็นยาที่ช่วยปรับฮอร์โมนในร่างกายให้กลับมาสมดุล หรือที่เรียกกันว่า ยาคุมกำเนิด ดังนั้น ยาปรับฮอร์โมนจะช่วยให้ประจำเดือนมาปกติ ปรับความสมดุลของฮอร์โมนในร่างกาย ลดอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน อีกทั้งยังช่วยคุมกำเนิดได้ด้วย  ยาคุมกำเนิดชนิดรับประทาน มีคุณสมบัติในการช่วยปรับฮอร์โมนในหญิงวัยเจริญพันธุ์และช่วยในการคุมกำเนิด โดยยาคุมกำเนิด ประกอบด้วย ฮอร์โมนสังเคราะห์ที่คล้ายกับฮอร์โมนเพศหญิง 2 ชนิด ได้แก่ Ethinyl Estradiol ชนิดนี้คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายผู้หญิง และ Progestin ชนิดนี้คล้ายกับฮอร์โมนโพรเจสเตอโรน  ยาปรับฮอร์โมน ใช้เพื่ออะไร นอกจากการช่วยคุมกำเนิดแล้ว ยาปรับฮอร์โมนจะช่วยบรรเทาอาการที่ผู้หญิงมักจะเกิดขึ้นก่อนการมีประจำเดือน เช่น บรรเทาอาการปวดท้องน้อย ช่วยลดการเกิดสิวหรือหน้ามัน  ทำให้ประจำเดือนมาปกติและสม่ำเสมอ อารมณ์คงที่ ไม่ค่อยหงุดหงิดง่าย ลดอาการบวมน้ำ ปรับฮอร์โมนให้สมดุล ลดฮอร์โมนเพศชาย จึงช่วยเรื่องปัญหาขนดกที่เกิดขึ้น ประเภทของยาปรับฮอร์โมน ยาปรับฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดมี 2 แบบ ยาปรับฮอร์โมนหรือยาคุมกำเนิดแบบ 28 เม็ด ประกอบด้วย ยาฮอร์โมน 21 เม็ดและเม็ดแป้ง 7 เม็ด โดยจะเรียงลำดับตั้งแต่ 1-28 ควรเริ่มกินเม็ดแรกในวันที่มีรอบเดือนวันแรก จากนั้นให้กินยาเรียงตามตัวเลขไปเรื่อย […]


การมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย

แตกในทำไม ไม่ป้องกัน เสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้จริงเหรอ

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน อาจเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ได้ ในรายที่ใช้ยาคุมกำเนิดหรือยาคุมกำเนิดฉุกเฉินนั้นจะช่วยลดความเสี่ยงการตั้งครรภ์ได้จริง แต่วิธีคุมกำเนิดด้วยยาไม่อาจป้องกันโรคได้ การแตกในหรือหลั่งอสุจิภายในช่องคลอดจึงมีความเสี่ยง แล้ว แตกในทำไม ถึงอันตราย นอกจากท้องได้แล้วยังเสี่ยงต่อโรคร้ายที่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ด้วย [embed-health-tool-ovulation] แตกในทำไม ถึงอันตราย การแตกใน คือ การมีเพศสัมพันธ์ เมื่อผู้ชายถึงจุดสุดยอด ร่างกายจะหลั่งน้ำอสุจิออกมา การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกันด้วยการใช้ถุงยางอนามัยจึงทำให้สัมผัสได้ทั้งน้ำหล่อลื่นของฝ่ายชายและเชื้ออสุจิ ซึ่งการแตกในนั้นเพิ่มความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ด้วย  โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่อาจติดได้เมื่อ แตกใน โรคเอดส์ (AIDS) กลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาวที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค หลังจากภูมิคุ้มกันต่ำลงจะทำให้ร่างกายติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่าย ทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรควัณโรค โรคปอดบวม โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ และโรคมะเร็ง ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยโรคเอดส์จะเสี่ยงต่อการเกิดอาการที่รุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสียชีวิตได้ โรคติดเชื้อไวรัสเอชพีวี (HPV) หรือไวรัสฮิวแมนแพพพิลโลมา (Human Papillomavirus หรือ HPV) โรคนี้ติดต่อได้ง่ายผ่านทางเพศสัมพันธ์ เชื้อไวรัสชนิดนี้เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ แต่มีเชื้อไวรัส HPV มากถึง 14 สายพันธุ์ ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก โรคมะเร็งช่องคลอด และโรคมะเร็งปากช่องคลอด   โรคหูดหงอนไก่ (Condyloma acuminata) เกิดจากเชื้อไวรัส HPV มีลักษณะเป็นติ่งเนื้ออ่อน […]


สุขภาพทางเพศ

วิธี ลดอาการปวดหัว ประจำเดือน ด้วยตัวเอง

อาการปวดหัวขณะเป็นประจำเดือนเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จนทำให้มีอาการปวดหัวตุบ ๆ คลื่นไส้ เหนื่อยล้า เป็นต้น ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในทุกเดือน ๆ  วิธี ลดอาการปวดหัว ประจำเดือน ด้วยตัวเอง อาจทำได้ด้วยการพักผ่อนให้เพียงพอ พยายามไม่เครียดมากเกินไป ปรับขนาดยาคุมกำเนิด กินยาบรรเทาอาการเช่น ยากลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) [embed-health-tool-ovulation] อาการปวดหัว ประจำเดือน คืออะไร อาการปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือนหรือไมเกรนขณะมีประจำเดือน เป็นอาการปวดหัวจากฮอร์โมน (Hormone headache) ที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนเป็นประจำเดือนหรือขณะเป็นประจำเดือน และอาจเกิดขึ้นได้ทุก ๆ เดือน หลายคนอาจมีอาการปวดหัวที่มักเกิดก่อนประจำเดือนมาประมาณ 2 วันและปวดต่อเนื่องไปอีกประมาณ 3 วัน ซึ่งอาการอาจแย่ลงได้เมื่อถูกกระตุ้นด้วยการเคลื่อนไหว แสง กลิ่น หรือเสียง โดยอาการอาจเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง หรือบางคนก็อาจปวดหัวนานเป็นวัน สาเหตุที่ เป็นประจําเดือนแล้วปวดหัว เวียนหัว  อาการปวดหัวช่วงเป็นประจำเดือนเกิดจากการเปลี่ยนแแปลงของฮอร์โมนในช่วงเป็นประจำเดือน ซึ่งฮอร์โมนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ได้แก่ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) ที่ผลิตมาจากรังไข่ และทำหน้าที่สร้างลักษณะทางกายภาพของผู้หญิง ช่วยในการสืบพันธุ์ ควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ควบคุมการมีประจำเดือน รักษาสุขภาพกระดูก หัวใจ ผิวหนัง กระดูก สมอง และเนื้อเยื่ออื่น ๆ  ตามปกติแล้วร่างกายจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณสูงสุดในช่วงกลางของรอบเดือน และจะมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำสุดในช่วงเป็นประจำเดือน […]


สุขภาพทางเพศ

ยาสอดแก้ตกขาว มีอะไรบ้าง และวิธีสังเกตสีของตกขาวที่ผิดปกติ

ตกขาว เป็นอาการปกติที่พบได้ในผู้หญิง แต่หากมีตกขาวที่สีเปลี่ยนไป ร่วมกับอาการคันในช่องคลอด เป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการติดเชื้อ ความผิดปกติ ซึ่งอาจจำเป็นต้องรับประทานยาเพื่อรักษา หรือใช้ ยาสอดแก้ตกขาว ดังนั้น จึงควรศึกษาวิธีการใช้ยาสอดแก้ตกขาวอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังควรปรึกษาคุณหมอเพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัดเสียก่อน ไม่ควรซื้อยามาใช้เอง [embed-health-tool-ovulation] สีของตกขาว แบบไหนผิดปกติ ตกขาวเกิดได้จากการที่ผนังด้านในช่องคลอดสร้างสารเมือก คล้ายกับแป้งเปียกเพื่อออกมาในร่างกายของผู้หญิง โดยมีหน้าที่ช่วยหล่อลื่นช่องคลอด ขับสิ่งแปลกปลอม อีกทั้งปรับสภาพความเป็นกรดด่างในช่องคลอด ในภาวะปกติ ตกขาวจะไม่ทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่คัน และไม่มีกลิ่น ตกขาวจึงสามารถบ่งบอกสุขภาพร่างกาย ได้ดังนี้ ตกขาวเป็นน้ำหรือเมือกใส : อาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงทุกคน โดยเฉพาะช่วงที่มีการตกไข่ ซึ่งจะมีปริมาณตกขาวมาก ตกขาวเป็นก้อนสีขาว : เกิดจากการติดเชื้อราที่มีชื่อว่า แคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida albicans) ส่งผลให้ตกขาวมีลักษณะเป็นก้อนสีขาวข้น มีกลิ่นเหม็นแต่ไม่คาว อาจทำให้แสบคันในบางครั้ง ตกขาวสีเหลือง : สามารถเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัสและการติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคเริม การติดเชื้อรา การติดเชื้อหนองใน และการติดเชื้อพยาธิในช่องคลอด ตกขาวสีเขียว : เกิดจากการติดเชื้อพยาธิประเภทโปรโตซัว ที่มีชื่อว่า ทริโคโมแนส วาจินาลิส […]


สุขภาพทางเพศ

ประจำเดือนเลื่อน นานสุด กี่วัน ถึงจะเรียกว่าผิดปกติ

ประจำเดือนเลื่อน นานสุด กี่วัน คำตอบคือ ปกติรอบเดือนจะอยู่ที่ประมาณ 21-35 วัน หากมาช้ากว่า 35 วันในรอบเดือนนั้นโดยที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อาจเป็นสัญญาณว่ามีภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือตั้งครรภ์ แต่หากตรวจแล้วไม่พบว่าตั้งครรภ์ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การพักผ่อนอย่างเพียงพอ การออกกำลังกายที่เหมาะสมเป็นประจำ การจัดการความเครียด แต่หากประจำเดือนยังมาไม่ปกติ ควรไปพบคุณหมอเพื่อหาสาเหตุต่อไป [embed-health-tool-ovulation] ประจำเดือนเลื่อน นานสุด กี่วัน โดยปกติรอบเดือนของผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์จะมาทุก ๆ 21-35 วัน โดยอาจช้าหรือเร็วกว่ารอบเดือนปกติที่มาเป็นประจำทุกเดือนประมาณ 3-7 วัน แต่หากพบว่าประจำเดือนมาช้ากว่า 35 วัน แสดงว่ามีภาวะประจำเดือนมาไม่ปกติ (Amenorrhea) ซึ่งอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนเลื่อน สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนเลื่อน อาจมีดังนี้ การตั้งครรภ์ สำหรับผู้ที่มีประจำเดือนมาช้ากว่าปกติไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และในช่วงก่อนหน้านี้ไม่ได้ใช้อุปกรณ์คุมกำเนิดขณะมีเพศสัมพันธ์ แสดงว่าอาจตั้งครรภ์ อย่างไรก็ตาม ควรตรวจครรภ์เพื่อยืนยันผลการตั้งครรภ์ และไปฝากครรภ์ที่คลินิกหรือโรงพยาบาลโดยเร็ว ความเครียด เมื่อมีความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนแห่งความเครียดในปริมาณมาก ซึ่งมักส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบสืบพันธุ์และทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ น้ำหนักลดกะทันหัน น้ำหนักที่ลดลงอย่างรวดเร็วอาจทำให้ประจำเดือนมาช้ากว่าปกติได้ เนื่องจากร่างกายมีไขมันไม่เพียงพอเพื่อใช้เป็นพลังงานสำหรับการทำงานของระบบสืบพันธุ์ตามปกติ ส่งผลให้ร่างกายหยุดผลิตฮอร์โมนที่จำเป็นสำหรับการตกไข่และการมีประจำเดือน น้ำหนักเกินมาตรฐาน ผู้มีน้ำหนักเกินเกณฑ์อาจส่งผลให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนไม่สมดุลซึ่งอาจทำให้ประจำเดือนเลื่อนได้ […]


สุขภาพทางเพศ

ทำยังไงให้ประจำเดือนมา ประจำเดือนไม่มาเกิดจากอะไร

ทำยังไงให้ประจำเดือนมา ? หากประจำเดือนไม่มาตามปกติ โดยทั่วไป มักเกิดจากฮอร์โมนแปรปรวน ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างซึ่งอาจช่วยให้ประจำเดือนมาตามปกติได้ เช่น หากิจกรรมผ่อนคลายความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเป็นประจำแต่ไม่หักโหม ทั้งนี้ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วประจำเดือนยังไม่มา ควรไปพบคุณหมอเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างตรงจุด [embed-health-tool-bmi] ประจำเดือนไม่มาเกิดจากอะไร ภาวะขาดประจำเดือน (Amenorrhea) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อผู้หญิงประจำเดือนไม่มาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป ซึ่งอาจเกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนี้ สาเหตุตามธรรมชาติ การตั้งครรภ์ เมื่อตั้งครรภ์ ร่างกายจะหยุดผลิตไข่จากรังไข่ตลอดการตั้งครรภ์ และเตรียมมดลูกให้พร้อมสำหรับรองรับการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกไม่สลายตัวไปเป็นประจำเดือน การให้นมบุตร หลังคลอด ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนโปรแลคติน (Prolactin) ที่ทำหน้าที่สร้างน้ำนมซึ่งยับยั้งไม่ให้ไข่ตก ทำให้ในช่วงนี้ไม่เป็นประจำเดือน วัยหมดประจำเดือน เมื่ออายุประมาณ 50 ปีจะถือว่าเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเพศจะลดลงตามธรรมชาติ ประจำเดือนจะมาน้อยลงหรือมาไม่ปกติ จนกระทั่งรังไข่ไม่ผลิตไข่ และทำให้ประจำเดือนไม่มาอีกต่อไป สาเหตุจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ทำให้ฮอร์โมนเพศสูงอยู่แทบจะตลอดเวลาแทนที่จะขึ้นลงตามรอบเดือน ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ อาจมีทั้งประจำเดือนไม่มาติดต่อกันหลายเดือน ประจำเดือนมาน้อยหรือมามากกว่าปกติ เนื้องอกต่อมใต้สมอง เนื้องอกอาจไปรบกวนการควบคุมฮอร์โมนเพศ ส่งผลให้ประจำเดือนไม่มาตามปกติ ไทรอยด์ทำงานผิดปกติ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน ภาวะพร่องต่อมไทรอยด์ อาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติหรือประจำเดือนไม่มาเลยได้ ภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัยอันควร (Premature […]


สุขภาพทางเพศ

เป็นประจําเดือน ปวดหัว เกิดจากอะไร ดูแลตัวเองยังไง

ผู้หญิงหลายคนอาจสังเกตว่าตัวเอง เป็นประจําเดือน ปวดหัว และต้องการทราบว่าเกิดจากอะไรและต้องดูแลตัวเองอย่างไร โดยทั่วไป อาการที่เกิดขึ้นช่วงเป็นประจำเดือน เช่น ปวดหัว ปวดหลัง เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว มักเกิดจากระดับฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวน โดยเฉพาะระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่ลดลงอย่างรวดเร็ว ควรดูแลตัวเองเบื้องต้นด้วยการกินยาบรรเทาปวด พักผ่อนให้เพียงพอ เปลี่ยนยาคุมกำเนิดที่อยู่ใช้ หากิจกรรมผ่อนคลายและลดความเครียด เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] เป็นประจําเดือน ปวดหัว เกิดจากอะไร เป็นประจําเดือน ปวดหัวหรือที่เรียกว่าไมเกรนประจำเดือน (Menstrual migraine) เป็นอาการที่สัมพันธ์กับการเป็นประจำเดือน โดยในช่วงก่อนที่ร่างกายจะเริ่มมีประจำเดือนในแต่ละรอบเดือน ระดับฮอร์โมนเพศเอสโตรเจนจะลดลงอย่างกะทันหัน ส่งผลให้มีอาการปวดหัว นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้ปวดหัวได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการกินยาคุมกำเนิด หรือการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อบรรเทาอาการวูบวาบในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งจะส่งผลให้ระดับฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง อาการ เป็นประจําเดือน ปวดหัว อาการไมเกรนขณะมีประจำเดือนจะเหมือนกับอาการปวดหัวไมเกรน ดังนี้ อาการปวดหัวที่มีความรุนแรงไม่มากไปจนถึงรุนแรง เหงื่อออกเยอะ หนาวสั่น ร่างกายมีความไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่น ปวดตึงบริเวณหนังหัว ไม่อยากอาหาร วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว ตัวซีด เหนื่อยล้า คลื่นไส้ อาเจียน ท้องไส้ปั่นป่วน ปวดท้อง ท้องเสีย หรือมีไข้ (พบได้ไม่บ่อย) อาการร่วมอื่น […]


สุขภาพทางเพศ

เมนส์มาน้อย ผิดปกติหรือไม่ ประจำเดือนมาน้อย เสี่ยงโรคอะไรบ้าง

เมนส์มาน้อยหรือประจำเดือนมาน้อย อาจเป็นอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ หรือเป็นเพราะร่างกายส่งสัญญาณอันตราย ความเสี่ยงต่อโรคที่ต้องพบคุณหมอเพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด [embed-health-tool-ovulation] เมนส์ คืออะไร ประจำเดือนหรือเมนส์ คือ การหลุดลอกตัวของผนังเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อเตรียมไว้สำหรับรับการฝังตัวของตัวอ่อน แต่เมื่อไม่มีการฝังตัว ผนังเยื่อบุโพรงมดลูกจะผลัดออกมาตามการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ปรากฎเป็นเลือดออกมาทางช่องคลอดเป็นประจำทุกเดือน โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะเริ่มมีประจำเดือนช่วงอายุ 12 ปี  ประจำเดือนแบบไหนปกติ เมนส์มาปกติควรมาไม่เกิน 7 วันต่อรอบเดือน มาเพียงเดือนละ 1 ครั้ง ยกเว้นผู้หญิงที่มีเมนส์ช่วงต้นเดือน อาจมาอีกครั้งในช่วงปลายเดือนก็ได้ รอบเดือนแต่ละครั้งจะห่างกัน 28 วันโดยเฉลี่ย แต่อาจเป็นประจำเดือนได้ตั้งแต่ 21 ถึง 35 วัน ผู้ที่เริ่มมีรอบเดือนในช่วงปีแรก ๆ และวัยใกล้หมดประจำเดือน อาจพบว่า เมนส์มาไม่สม่ำเสมอได้ ปริมาณของประจำเดือน ไม่ควรเกิน 80 ซีซี ปกติแล้วค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 35 ซีซีต่อรอบ เปรียบเทียบปริมาณได้กับผ้าอนามัยประมาณ 3-4 ผืนต่อวัน หากเมนส์มาน้อยกว่านี้อาจพบความผิดปกติได้ สาเหตุที่ทำให้เมนส์มาน้อย ประจำเดือนมาไม่ปกติเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยสาเหตุที่ทำให้เมนส์มาน้อย เช่น ภาวะเครียดหรือวิตกกังวล : ความเครียดจากทั้งการเรียน การทำงาน และปัญหาส่วนตัว ล้วนส่งผลต่อฮอร์โมนในร่างกายที่ผิดปกติ เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เมนส์มาน้อย […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน