backup og meta

เล็บฉีก วิธีปฐมพยาบาล และวิธีป้องกัน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 14/06/2023

    เล็บฉีก วิธีปฐมพยาบาล และวิธีป้องกัน

    เล็บฉีก อาจเกิดจากการขาดสารอาหาร เล็บได้รับบาดเจ็บ หรือภาวะอื่น ๆ อาจส่งผลให้เล็บไม่แข็งแรง ดังนั้น การดูแลเล็บด้วยวิธีการที่ถูกต้องจึงถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะการละเลยสุขภาพเล็บอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าได้ เช่น การติดเชื้อรา

    เล็บฉีก เกิดจากอะไร

    เล็บฉีกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุและหลายปัจจัยด้วยกัน เช่น การขาดสารอาหาร เล็บขาดความชุ่มชื้น การได้รับบาดเจ็บ ซึ่งหากปล่อยเอาไว้ อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ร้ายแรงกว่าได้ เช่น เมื่อเล็บฉีก เชื้อโรคอย่างเชื้อราอาจเข้าสู่แผล ทำให้ติดเชื้อราได้ การดูแลสุขภาพเล็บให้แข็งแรงอยู่เสมอจึงไม่เพียงแต่จะช่วยป้องกันเล็บเปราะฉีก แต่ยังอาจช่วยส่งเสริมสุขภาพโดยรวมได้ด้วย

    อาหารบำรุงเล็บที่อาจช่วยป้องกัน เล็บฉีก

    การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ดังต่อไปนี้ อาจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยบำรุงสุขภาพเล็บให้แข็งแรง ป้องกันเล็บฉีกหรือเปราะง่าย

    • ปลา อุดมไปด้วยโปรตีนมีโอเมก้า 3 (Omega 3) และกรดไขมันปลา ซึ่งอาจช่วยบำรุงสุขภาพเล็บให้ชุ่มชื้น เพิ่มความอ่อนนุ่ม ป้องกันเล็บบาง
    • ไข่ นอกจากจะอุดมไปด้วยโปรตีนแล้ว ยังมีวิตามินบี 12 ธาตุเหล็ก และไบโอติน มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความหนาให้เล็บ
    • ถั่วลันเตา อุดมไปด้วยโปรตีน เบต้าแคโรทีน และวิตามินซี อาจช่วยในการเสริมสร้างเนื้อเล็บ และกระตุ้นการเจริญเติบโตของเล็บ
    • ผักใบเขียว ผักอุดมไปด้วยแคลเซียม เหล็ก มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันเล็บเปราะได้

    วิธีป้องกันเล็บฉีก เล็บหักอื่น ๆ

    การรับประทานอาหารที่อาจช่วยบำรุงเล็บให้แข็งแรงขึ้นได้ร่วมกับการปฏิบัติวิธีดังต่อไปนี้ อาจช่วยป้องกันไม่ให้เล็บฉีก เปราะบาง หรือเล็บหักง่ายได้

  • หลังจากล้างมือ ควรเช็ดให้แห้งอยู่เสมอ และหมั่นทาครีมชุ่มชื้นหลังล้างมือ
  • ไม่กัดเล็บหรือแคะเล็บ
  • หากต้องทำงานบ้าน หรือต้องสัมผัสสารเคมีน้ำยาต่างๆเป็นเวลานานควรใส่ถุงมือยางป้องกัน
  • หากทำเล็บ ควรเลือกร้านที่สะอาด ได้มาตรฐาน ผ่านการตรวจสอบด้านความปลอดภัยจากภาครัฐ
  • ไม่ควรตัดหนังจมูกเล็บ
  • อย่าติดเล็บปลอมหรือใช้น้ำยาล้างเล็บบ่อยจนเกินไป
  • วิธีปฐมพยาบาลเมื่อเล็บฉีก

    หากเล็บฉีกแบบไม่รุนแรง เช่น ไม่มีอาการบวมแดง หรือติดเชื้อ อาจไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาที่สถานพยาบาล แต่สามารถปฐมพยาบาลเองได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    1. ใช้กรรไกรค่อย ๆ ตัดเศษเล็บออก
    2. ใช้ผ้าชุบน้ำซับบริเวณเล็บเบา ๆ เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอม และสิ่งสกปรก รอให้แห้ง
    3. ทาปิโตรเลียมเจล หรือครีมนีโอมัยซิน (Neomycin) แล้วปิดด้วยผ้าพันแผลเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรค

    อย่างไรก็ตาม หากสังเกตพบว่า อาการเล็บฉีกมีภาวะอื่น ๆ แทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อที่โคนเล็บ ผิวรอบ ๆ เล็บบวมแดง เป็นหนอง ควรรีบเข้ารับคำปรึกษาและการวินิจัยฉัยจากคุณหมอ คุณหมอจะได้หาสาเหตุและวิธีการรักษาที่เหมาะสม

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย จินดารัตน์ สิริวิจักษณ์ · แก้ไขล่าสุด 14/06/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา