backup og meta

ปลูกผม มีกี่วิธี พร้อมผลข้างเคียงและวิธีดูแลหลังปลูกผม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/05/2022

    ปลูกผม มีกี่วิธี พร้อมผลข้างเคียงและวิธีดูแลหลังปลูกผม

    การ ปลูกผม นับว่าเป็นวิธีแก้ปัญหาอีกหนทางหนึ่ง ที่สามารถเรียกความมั่นใจของคุณให้กลับมาดังเดิมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีเส้นผมลักษณะบาง และขาดหลุดร่วงง่ายจากการแพ้แชมพู ทำสี หรือแม้แต่มาจากพันธุกรรม ซึ่งวันนี้ Hello คุณหมอ ก็ได้นำบทความดี ๆ เกี่ยวกับนวัตกรรมการปลูกผมมาฝากกันในบทความนี้ให้ผู้ที่สนใจได้ลองทำการศึกษาเบื้องต้นเพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนเข้ารับการปลูกผมกันค่ะ

    มารู้จักกับนวัตกรรมการ ปลูกผม กันเถอะ

    การปลูกผม หรือ ปลูกผมถาวร (Hair Transplant) ถือเป็นการผ่าตัดอย่างหนึ่งที่แพทย์ทำการปลูกถ่าย หรือเคลื่อนย้ายเนื้อเยื่อส่วนที่มีเส้นผมหนาของหนังศีรษะไปยังบริเวณส่วนที่บอบบาง ซึ่งผู้ที่เหมาะกับการแก้ไขด้วยวิธีนี้มักเป็นผู้ที่กำลังประสบกับปัญหาหนังศีรษะล้าน ผมบางขาดหลุดร่วงทั้งในรูปแบบธรรมชาติ และการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ

    แต่ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ร่วมด้วยว่าหนังศีรษะของคุณเหมาะสมกับการใช้เทคนิคปลูกผมหรือไม่ เพราะเนื่องจากยังมีวิธีอื่นอีกมากมาย อย่างการใช้แชมพูสระผมลดอาการขาดหลุดร่วงของเส้นผม หรือการใช้วิตามินบำรุงหนังศีรษะ เพื่อลดอาการเจ็บปวดในกรณีที่แพทย์เห็นว่ายังไม่จำเป็นต้องรับการผ่าตัดปลูกผม

    เทคนิคการ ปลูกผม ส่วนใหญ่ที่แพทย์นิยมใช้

    ก่อนที่จะทำการผ่าตัดคุณจำเป็นต้องบอกรายละเอียดเกี่ยวกับปัญหาของหนังศีรษะคุณให้ศัลยแพทย์ให้ทราบเสียก่อน เพื่อให้ทางทีมแพทย์ได้เลือกเทคนิคในการผ่าตัดที่เหมาะสมกับคุณ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักมีอยู่ 2 เทคนิคด้วยกัน ดังนี้

    • การปลูกถ่ายแบบ Follicular (FUT)

    เทคนิคนี้เป็นเทคนิคดั้งเดิมที่ได้รับการผ่าตัดแก้ไขปัญหาหนังศีรษะของผู้ใช้บริการมาอย่างยาวนาน ซึ่งทีมศัลยแพทย์นั้นมักจะทำตามลำดับขั้นตอนเหล่านี้

  • ทำการผ่าตัดหนังศีรษะที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าชิ้นเนื้อส่วนนี้เป็นส่วนที่ผมบนหนังศีรษะของคุณหนาดกดำมากที่สุดออกมา เช่น หลังศีรษะ ท้ายทอย เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วจะมีความยาวประมาณ 6-10 นิ้ว
  • จากนั้นทำการเย็บแผลส่วนที่นำออกมาให้ติดกัน เพื่อเตรียมนำชิ้นส่วนที่ได้มาไปปลูกถ่ายบริเวณที่หนังศีรษะของคุณประสบปัญหา
  • แพทย์จะทำการตัดชิ้นหนังที่นำออกมาให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ และเริ่มใช้เข็ม หรือใบมีดผ่าตัดเจาะเป็นรูขนาดเล็กบนบริเวณหนังศีรษะที่จะทำการแก้ไขปัญหา
  • จากนั้นจึงจะทำการนำชิ้นเนื้อเหล่านี้เข้าไปปลูกถ่าย
  • เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัดแพทย์จะทำการนำอุปกรณ์ครอบแผล เช่น ผ้าก๊อซ มาพันปิดปากแผลของคุณไว้โดยรอบ
    • การปลูกผมไร้แผลเย็บ (Follicular unit extraction ; FUE)

    เป็นการผ่าตัดที่อาจถูกใจหลาย ๆ คน เนื่องจากเป็นวิธีที่ไร้การเย็บแผล และลดโอกาสการเกิดแผลเป็นบนหนังศีรษะได้น้อยที่สุด ดังขั้นต่อไปนี้

  • แพทย์ของคุณจะทำการใช้อุปกรณ์เจาะเก็บรากผมที่ได้ทำการวิเคราะห์ และกำหนดไว้เบื้องต้นออก
  • จากนั้นแพทย์จะทำการเจาะรูเล็ก ๆ บนหนังศีรษะที่ควรได้รับการแก้ไขปัญหา และทำการ ปลูกถ่ายรากผมเข้าไปภายในรูที่เจาะไว้ คล้ายกับเทคนิค FUT
  • เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนแพทย์จะทำการคลุมศีรษะคุณไว้ด้วยผ้าพันแผลเช่นเดียวกัน
  • ในการผ่าตัดทั้งสองเทคนิค คนส่วนใหญ่อาจเห็นการพัฒนาการเจริญเติบโตของเส้นผมที่ชัดเจน ภายในระยะเวลาไม่กี่เดือน หรือราว ๆ ประมาณ 6-9 เดือน ซึ่งจะสังเกตเห็นได้ชัดเจนถึงผมใหม่ที่เกิดขึ้นได้มากถึง 60% เลยทีเดียว

    หลังการผ่าตัด ปลูกผม ควรดูแลตนเองอย่างไรบ้าง

    หลังจากที่ยาชาหมดฤทธิ์ คุณอาจรู้สึกถึงความเจ็บปวดเล็กน้อยจากแผลผ่าตัดทั่วทั้งหนังศีรษะ ซึ่งคุณจำเป็นต้อง ดูแลแผลผ่าตัดให้ดี ตามที่ทางแพทย์แนะนำ เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อนำไปสู่อาการอักเสบรุนแรง ดังนี้

    • หลีกเลี่ยงการสระผมในทันที ให้ทิ้งระยะประมาณ 2-3 วัน หลังการผ่าตัด โดยใช้แชมพูที่มีค่าความเป็นกรด-ด่างที่อ่อนโยนต่อหนังศีรษะ
    • อย่าหวีผมแรง หรือกดหวีลงไปบริเวณแผลผ่าตัดประมาณ 3 สัปดาห์
    • งดสวมหมวก หรืออุปกรณ์คลุมหนังศีรษะจนกว่าจะได้รับการอนุญาตจากแพทย์
    • งดกิจกรรมการใช้แรงหนัก หรือการออกกำลังกายประมาณ 1 สัปดาห์
    • รับประทานยาตามใบสั่งแพทย์ เช่น ยาแก้ปวด (ไอบูโพรเฟน ; Ibuprofen) ยาปฏิชีวนะฆ่าเชื้อ  ยาลดอาการบวมอักเสบ ยากระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นผมที่ปลูกถ่าย เช่น ไมนอกซิดิล (Minoxidil)

    ผลข้างเคียงของการ ปลูกผม ที่คุณควรรู้

    ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นหลังจากการที่คุณผ่าตัดปลูกผมไปประมาณ 1-2 สัปดาห์ หรืออยู่ในช่วงพักฟื้นตัว ได้แก่

    • การติดเชื้อ
    • น้ำเหลือง หรือมีหนองไหลรอบ ๆ แผลผ่าตัด
    • รู้สึกคันระคายเคืองหนังศีรษะ และหนังศีรษะอักเสบ
    • เส้นผมของคุณอาจยังมีการหลุดร่วงอยู่บ้าง
    • เลือดออกตามรูขุมขนบนหนังศีรษะ
    • วิงเวียนศีรษะ มึนงง

    หากผลข้างเคียงเหล่านี้มีความรุนแรงขึ้นจากเดิม โปรดเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ในทันที เพื่อที่คุณจะได้รับการรักษาอาการอื่น ๆ ร่วมได้อย่างเท่าทัน ก่อนเกิดอันตรายรุนแรงต่อสุขภาพตามมา

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    เนตรนภา ปะวะคัง


    เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/05/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา