backup og meta

ไขข้อสงสัยทำไม ทาครีมแล้วแสบหน้า และวิธีเลือกครีมให้เหมาะกับผิว

ไขข้อสงสัยทำไม ทาครีมแล้วแสบหน้า และวิธีเลือกครีมให้เหมาะกับผิว

ทาครีมแล้วแสบหน้า ส่วนใหญ่เกิดจากการระคายเคือง การแพ้สารบางชนิดในครีมทาหน้า สภาพผิวแห้งและผิวอ่อนแอ ส่งผลให้เกิดอาการแสบหน้า บวม แดง คัน เป็นผื่น หรือบางคนอาจรุนแรงถึงขั้นเป็นแผลถลอก ผิวลอก ดังนั้น จึงควรเลือกครีมทาหน้าให้เหมาะกับผิว และควรทดสอบความระคายหรือหรืออาการแพ้ก่อนเริ่มใช้ครีมกับใบหน้า

[embed-health-tool-bmr]

ทาครีมแล้วแสบหน้า เกิดจากอะไร

ปัญหาทาครีมแล้วแสบหน้าส่วนใหญ่อาจเกิดจาก 3 สาเหตุ ดังนี้

  1. การระคายเคือง เป็นอาการทางผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดในผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ซึ่งการระคายเคืองอาจทำให้เกิดอาการแสบร้อน ผิวแดง คันและมีรอยแดงเกิดขึ้นบริเวณใบหน้า อาจจะเกิดจากสารเคมีประเภทแอลกอฮอล์ กรดต่างๆที่ผสมลงไป
  2. การแพ้ เป็นอาการแพ้ส่วนผสมบางชนิดในครีมทาผิว เช่น น้ำหอม ที่อาจทำให้เกิดรอยแดง แสบ บวม คัน หรือเกิดผื่นแดงลอก มีน้ำเหลืองได้
  3. สภาพผิว โดยเฉพาะหากปล่อยให้ผิวแห้ง อ่อนแอ หรือผิวหนังอักเสบจากการดูแลผิวไม่ดี ไม่ว่าจะใช้ครีมตัวเก่าที่เคยใช้อยู่ในปัจจุบัน หรือใช้ครีมตัวไหนก็ตามก็อาจทำให้เกิดอาการแสบหน้าได้

วิธีเลือกครีมให้เหมาะกับผิว

การเลือกครีมให้เหมาะกับผิวอาจช่วยป้องกันอาการแสบหน้าได้ ซึ่งวิธีการเลือกครีมอาจทำได้ ดังนี้

  • สังเกตตัวเอง ควรหมั่นสังเกตตัวเอง ตรวจสอบสภาพผิวและจดบันทึกว่ามีอาการแพ้สารในครีมชนิดไหนบ้าง เพื่อป้องกันการซื้อครีมที่มีสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้
  • เลือกครีมให้เหมาะกับสภาพผิว ควรตรวจสอบสภาพผิวของตัวเองว่ามีลักษณะแบบไหน เช่น ผิวแห้ง ควรเลือกใช้ครีมที่มีส่วนผสมของน้ำมันและให้ความชุ่มชื้นสูง เพื่อช่วยลดผิวแห้ง ลอก เป็นขุย และป้องกันอาการแสบหน้า
  • อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนซื้อ โดยเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมน้อยที่สุด ไม่มีน้ำหอม ไม่มีสารที่กระตุ้นให้เกิดอาการแพ้และระคายเคือง
  • ทดสอบครีมก่อนใช้ ด้วยการทาครีมปริมาณเล็กน้อยบริเวณข้อพับแขน จากนั้นรอประมาณ 48-72 ชั่วโมง หากไม่มีรอยแดง บวม คันหรือแสบร้อน แสดงว่าอาจจะไม่เกิดอาการแพ้สามารถใช้ครีมได้
  • เลือกครีมที่มีสารบำรุง เช่น มอยเจอร์ไรเซอร์ เซรั่ม เพราะผลิตภัณฑ์เหล่านี้ส่วนใหญ่อ่อนโยนต่อผิว ซึ่งอาจช่วยฟื้นบำรุงผิวให้แข็งแรงและสุขภาพดี รวมถึงยังอาจช่วยป้องกันและบรรเทาอาการแสบหน้าได้

ส่วนผสมในครีมที่ควรหลีกเลี่ยง เพราะอาจทำให้แสบหน้า

ส่วนผสมบางอย่างอาจทำให้ผิวระคายเคืองและแพ้จนทำให้แสบหน้าได้ ดังนี้

  • แอลกอฮอล์ สี และน้ำหอม ผิวบางคนอาจเกิดความระคายเคืองกับแอลกอฮอล์ สี และน้ำหอมที่เป็นส่วนผสมในครีม ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแสบหน้าได้
  • กรดที่มากเกินไป ครีมบางชนิดอาจมีส่วนผสมกรด เช่น กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids หรือ AHA) กรดไกลโคลิก (Glycolic Acid) กรดเรติโนอิก (Retinoic Acid) กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) ที่มีคุณสมบัติผลัดเซลล์ผิวในปริมาณมาก จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย
  • ส่วนผสมของสเตียรอยด์มากเกินไป เนื่องจากสเตียร์รอยอาจทำให้ผิวบางลง แห้งลอก ระคายเคืองจนเกิดอาการแสบหน้าได้หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป

นอกจากนี้ อาการแสบหน้ายังอาจเกิดขึ้นได้เมื่อผิวหน้าสัมผัสกับสารเคมีในผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น สบู่อาบน้ำ ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม ผงซักฟอก เครื่องสำอาง แชมพู สีย้อมผม จึงควรระมัดระวังในการใช้งานไม่ให้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สัมผัสกับผิวหน้า เพราะอาจทำให้อาการแสบหน้ารุนแรงขึ้นจนกลายเป็นปัญหาผิวในอนาคตได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

How to Choose Skin-Friendly Beauty Products. https://www.webmd.com/beauty/skin-reactions#:~:text=Irritation.,its%20natural%20protection%20against%20irritants. Accessed March 2, 2023

Choosing the Right Moisturizer for Your Skin. https://www.webmd.com/beauty/features/moisturizers. Accessed March 2, 2023

Dry skin. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/dry-skin/symptoms-causes/syc-20353885#:~:text=Living%20in%20cold%2C%20windy%20conditions,oils%20from%20your%20skin%20too. Accessed March 2, 2023

Why Does My Skin Itch and Burn?. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/eczema/eczema-why-does-skin-and-burn. Accessed March 2, 2023

Skin Allergy Types and Triggers. https://www.webmd.com/allergies/skin-allergy-types-triggers. Accessed March 2, 2023

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/10/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อยู่บ้าน จำเป็นต้องทาครีมกันแดด ด้วยหรือไม่

ครีมกันแดดผู้ชาย ควรเลือกอย่างไร จึงจะเหมาะสม


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 10/10/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา