backup og meta

ฝ้า กระ เกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร

ฝ้า กระ เกิดจากอะไร และรักษาอย่างไร

ฝ้า กระ เป็นปัญหาผิวหนังที่ส่งผลให้ผิวเป็นจุดด่างดำเล็ก ๆ หรืออาจเป็นปื้นใหญ่ พบได้บ่อยบริเวณแก้ม หน้าผากและจมูก ฝ้าและกระอาจเกิดจากความผิดปกติของเม็ดสีเมลานิน ซึ่งมักไม่ส่งผลรุนแรงต่อสุขภาพร่างกายและไม่พัฒนาเป็นก้อนเนื้อมะเร็ง แต่อาจทำให้รู้สึกขาดความมั่นใจเมื่อพบเจอผู้คนได้

[embed-health-tool-ovulation]

ฝ้า กระ เกิดจากอะไร

ฝ้าและกระ อาจเกิดจากการทำงานที่ผิดปกติของเมลาโนไซต์ (Melanocyte) ซึ่งเป็นเซลล์ผิวหนังที่ทำหน้าที่ผลิตเม็ดสีเมลานิน ก่อให้เกิดฝ้าและกระปรากฏบนใบหน้าหรือตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยมีปัจจัยเสี่ยงบางอย่างเป็นตัวกระตุ้น เช่น

นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจนเตอโรนในระหว่างการตั้งครรภ์หรือรับประทานยาคุมกำเนิด อาจกระตุ้นให้เมลาโนไซต์ผลิตเม็ดสีเมลานินให้เพิ่มขึ้น และก่อให้เกิดฝ้า กระ ที่สังเกตได้จากจุดสีน้ำตาลเล็ก ๆ บนผิวหนัง

ฝ้า และ กระ ต่างกันอย่างไร

ฝ้าและกระอาจแตกต่างกันที่ลักษณะของรอยที่ปรากฏบนผิวหนัง โดยฝ้ามักมีลักษณะเป็นปื้นใหญ่สีน้ำตาลหรือเทาที่เข้มกว่าสีผิวปกติ ส่วนใหญ่มักพบบริเวณแก้ม หน้าผาก และริมฝีปากบน แต่กระจะมีลักษณะเป็นจุดกลม ๆ สีน้ำตาลขนาดเล็กและมีขอบชัดเจน พบได้มากบริเวณแก้ม สันจมูก หน้าผาก คอ หน้าอกและหลัง

วิธีรักษาฝ้า กระ

วิธีรักษาฝ้าและกระ มีดังนี้

  • กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha hydroxy acids: AHA) ที่เป็นส่วนประกอบในครีมและโลชั่น ใช้เพื่อช่วยลดรอยจุดด่างดำของฝ้าและกระ โดยควรเลือกที่มีความเข้มข้นไม่เกิน 10% เพื่อป้องกันการระคายเคืองผิวและผิวแสบร้อน โดยใช้ทาผิวบริเวณที่ได้รับผลกระทบวันละ 1-2 ครั้ง หรือตามคำแนะนำของคุณหมอ สำหรับการทาช่วงเช้าควรทาครีมกันแดดร่วมด้วยเพื่อป้องกันรังสียูวีจากแสงแดดที่อาจส่งผลให้ฝ้าและกระมีสีเข้มขึ้น
  • ไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) มีในรูปแบบครีมทาเฉพาะที่ ใช้เพื่อช่วยลดจุดด่างดำจากกระและฝ้า โดยควรทาวันละ 2 ครั้ง หรือตามที่คุณหมอแนะนำ แต่ควรทดสอบอาการแพ้ก่อนทาด้วยการบีบครีมเล็กน้อยและป้ายลงบนผิวจุดใดจุดหนึ่งและทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง หากไม่มีอาการแพ้สามารถใช้ได้ตามปกติ แต่หากสังเกตว่ามีอาการคัน ผิวบวม ผิวแดง ควรล้างออกและหยุดใช้ทันที อีกทั้งควรแจ้งให้คุณหมอทราบเพื่อปรับเปลี่ยนยารักษาฝ้าและกระชนิดใหม่
  • กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) มีในรูปแบบเจล ที่ช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าออกทำให้รอยฝ้าและกระดูจางลง โดยควรทาบริเวณที่ได้รับผลกระทบ วันละ 1-2 ครั้ง ก่อนทายาควรทำความสะอาดผิวและซับให้แห้งสนิท หากสังเกตว่ามีอาการคัน ระคายเคือง ผื่นขึ้น แสบร้อนผิวหนัง ควรแจ้งให้คุณหมอทราบทันที
  • การเลเซอร์ คือการใช้ลำแสงที่มีความเข้มข้นสูงยิงเข้าสู่ผิวหนังบริเวณที่ได้รับผลกระทบ เพื่อช่วยลดรอยจุดด่างดำ และทำให้รอยฝ้าและกระดูจางลง แต่อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาบ่อยครั้งและต่อเนื่องตามดุลพินิจของคุณหมอ

วิธีป้องกันฝ้า กระ

วิธีป้องกันฝ้าและกระ อาจทำได้ดังนี้

  • ควรทาครีมกันแดดที่มีค่า SPF 50 ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง
  • หลีกเลี่ยงการตากแดด โดยเฉพาะช่วงเวลา 10.00-16.00 น. เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่แดดจัด หรือควรสวมเสื้อผ้าที่ปกคลุมผิวหนัง หมวกปีกกว้าง แว่นตากันแดด เพื่อช่วยป้องกันรังสียูวีจากแสงแดด
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและสบู่ ที่มีส่วนประกอบของน้ำหอม เพื่อลดการระคายเคืองผิว
  • หลีกเลี่ยงการโกนขน แว็กซ์ขน และการขัดผิวรุนแรงบ่อยครั้ง เพราะอาจส่งผลให้ผิวอักเสบและระคายเคือง และอาจทำให้อาการของฝ้าและกระที่เป็นอยู่แย่ลงได้
  • หยุดรับประทานยาคุมเมื่อสังเกตว่าเริ่มมีฝ้า กระขึ้นหลังจากรับประทานยา และควรเข้าพบคุณหมออย่างรวดเร็ว

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

What Are Freckles?. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/freckles-skin-spots.Accessed October 28, 2022

Melasma. https://medlineplus.gov/ency/article/000836.htm.Accessed October 28, 2022

Melasma. https://dermnetnz.org/topics/melasma.Accessed October 28, 2022

Unmasking the causes and treatments of melasma. https://www.health.harvard.edu/womens-health/unmasking-the-causes-and-treatments-of-melasma.Accessed October 28, 2022

MELASMA: CAUSES. HTTPS://WWW.AAD.ORG/PUBLIC/DISEASES/A-Z/MELASMA-CAUSES.Accessed October 28, 2022

ALPHA HYDROXY ACIDS. https://www.rxlist.com/alpha_hydroxy_acids/supplements.htm.Accessed October 28, 2022

Hydroquinone Cream – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-1347/hydroquinone-topical/details.Accessed October 28, 2022

Salicylic Acid Gel – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-18-193/salicylic-acid-topical/salicylic-acid-for-acne-topical/details.Accessed October 28, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

01/12/2022

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ทาสกินแคร์ อย่างไรให้ถูกต้อง เพื่อบำรุงผิวหน้า

วิธีลดรอยดําจากสิว เพื่อผิวหน้ากระจ่างใส


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 01/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา