backup og meta

แชมพู รักษา เชื้อรา ใช้เมื่อไร มีผลข้างเคียงอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา · โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


เขียนโดย Duangkamon Junnet · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

    แชมพู รักษา เชื้อรา ใช้เมื่อไร มีผลข้างเคียงอย่างไร

    แชมพู รักษา เชื้อรา เป็นผลิตภัณฑ์รักษาการติดเชื้อราที่หนังศีรษะ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคผิวหนังอย่างกลาก เกลื้อน และผื่นแพ้ต่อมไขมัน ทั้งนี้ การสระผมด้วยแชมพูรักษาเชื้อรา อาจส่งผลให้หนังศีรษะมีอาการระคายเคืองหรือเป็นตุ่มคล้ายสิวได้ ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง

    แชมพู รักษา เชื้อรา ใช้เมื่อไร

    แชมพูรักษาเชื้อรา เป็นผลิตภัณฑ์ที่มียาต้านเชื้อราอย่างคีโตโคนาโซลเป็นส่วนผสม ในอัตรา 1-2 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์นี้มักใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแคนดิดา (Candida) บริเวณศีรษะ รวมถึงการเป็นโรคกลาก เกลื้อน หรือผื่นแพ้ต่อมไขมันในบริเวณเดียวกัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากเชื้อรากลุ่มมาลาสซีเซีย (Malassezia)

    ทั้งนี้ อาการที่เป็นสัญญาณของการติดเชื้อรารูปแบบต่าง ๆ มีดังต่อไปนี้

    การติดเชื้อแคนดิดา

  • ตุ่มแดง คัน
  • หนังศีรษะเป็นสีขาว ลอก
  • หนังศีรษะบางส่วนนุ่มและชื้น
  • ผมร่วง
  • โรคกลาก

    • ผื่นวงแหวนบนศีรษะ
    • ผมร่วงเป็นหย่อม ๆ จนเห็นหนังศีรษะ
    • ก้อนกลัดหนองบนหนังศีรษะ

    โรคเกลื้อน

    • ผื่นวงกลมสีออกขาวหรือสีเข้มกว่าหนังศีรษะส่วนอื่น ๆ
    • หนังศีรษะคัน ลอก

    โรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน

    แชมพู รักษา เชื้อรา ใช้อย่างไร

    การใช้แชมพูรักษาเชื้อรา มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

    1. ใช้น้ำสะอาดล้างเส้นผมและหนังศีรษะให้ทั่ว
    2. ชโลมแชมพูลงบนศีรษะ ตามที่คุณหมอแนะนำหรือตามที่ฉลากผลิตภัณฑ์ระบุไว้
    3. นวดผมและหนังศีรษะเบา ๆ ทิ้งไว้ 3-5 นาที
    4. ครบกำหนดแล้วจึงล้างออกด้วยน้ำสะอาด จนสะอาดหมดจด
    5. เช็ดหรือเป่าผมให้แห้งสนิท

    ข้อควรรู้ในการใช้แชมพู รักษา เชื้อรา

    ก่อนใช้แชมพูรักษาเชื้อรา ควรระมัดระวังในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    • ระหว่างสระผม ไม่ควรปล่อยให้แชมพูเข้าตา หากเข้าตา ควรรีบล้างตาด้วยน้ำสะอาด
    • ไม่ควรใช้แชมพูขณะที่หนังศีรษะอักเสบหรือเป็นแผล
    • แชมพูรักษาเชื้อราอาจมีผลข้างเคียง ได้แก่ ผิวหนังระคายเคือง เกิดตุ่มคล้ายสิวบนหนังศีรษะ นอกจากนี้ ในบางราย หนังศีรษะหรือเส้นผมอาจมันหรือแห้งกว่าปกติ
    • แชมพูรักษาเชื้อรา อาจเป็นสาเหตุของอาการแพ้รุนแรงได้ โดยสังเกตตนเอง ดังนี้ มีผื่นขึ้น รู้สึกวิงเวียน หายใจลำบาก คันบริเวณหนังศีรษะอย่างรุนแรง และใบหน้า ลิ้น และคอบวม
    • หากแพ้ยากลุ่มอาโซล เช่น โคลไตรมาโซล (Clotrimazole) อีโคนาโซล (Econazole) ไมโคนาโซล (Miconazole) ควรแจ้งคุณหมอหรือเภสัชกร
    • หญิงตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกร ก่อนตัดสินใจใช้ผลิตภัณฑ์แชมพูรักษาเชื้อรา
    • วิธีการเก็บรักษาแชมพูรักษาเชื้อรา จะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อของแชมพูและความเข้มข้นของคีโตโคนาโซลที่ผสมอยู่

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงเกศอร ป้องอาณา

    โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลสุขุมวิท


    เขียนโดย Duangkamon Junnet · แก้ไขล่าสุด 05/04/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา