backup og meta

วิธีรักษาสะเก็ดเงิน ด้วยวิธีทางการแพทย์ มีอะไรบ้าง

วิธีรักษาสะเก็ดเงิน ด้วยวิธีทางการแพทย์ มีอะไรบ้าง

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคผิวหนังที่พบได้ทั่วไป อาจเกิดจากกรรมพันธุ์ ระบบภูมิคุ้มกันมีการทำงานผิดปกติ พฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น ความเครียด การสูบบุหรี่ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษาด้วย วิธีรักษาสะเก็ดเงิน ทางการแพทย์ ร่วมกับการดูแลตัวเองอย่างถูกวิธี อาจช่วยให้ควบคุมโรคได้และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วย

[embed-health-tool-bmr]

โรคสะเก็ดเงิน ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนใดบ้าง

หากคุณเป็นโรคสะเก็ดเงิน โรค และอาการแทรกซ้อนที่คุณอาจเผชิญร่วมด้วยนั้น มีดังนี้

วิธีรักษาสะเก็ดเงิน ด้วยเทคนิคทางการแพทย์

ก่อนการรักษาคุณหมออาจมีการสอบถามทางด้านภาวะสุขภาพ และมีการนำชิ้นผิวหนังส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณหนังศีรษะ เล็บ ไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ เพื่อหาสาเหตุ และจำแนกประเภทของโรคสะเก็ด ให้ง่ายต่อการค้นหาวิธีรักษาที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยแพทย์อาจใช้เทคนิคในการช่วยรักษา ดังต่อไปนี้

  • คอร์ติโคสเตียรอยด์ เป็นประเภทยาที่ใช้ทาเฉพาะที่ หรือบริเวณใดบริเวณหนึ่งเท่านั้น และเป็นยาที่คุณหมอมักกำหนดให้ผู้ป่วยใช้มากที่สุด ในกรณีที่คุณเป็นสะเก็ดเงินระดับเบาจนถึงระดับปานกลางซึ่งตัวยาชนิดนี้มักอยู่ในรูปแบบโลชั่น ครีม และขี้ผึ้ง เป็นต้น
  • บำบัดด้วยแสง NBUVB มักนิยมใช้กับผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินระดับรุนแรง แต่ถึงอย่างไรก็คงก่อให้เกิดผลข้างเคียงบางอย่างในช่วงการบำบัด หรือหลังการบำบัดได้ ดังนี้ คลื่นไส้ อาการคัน ปวดศีรษะ
  • เลเซอร์ นับว่าเป็นการรักษาที่ใช้เวลาน้อยกว่าบำบัดด้วยแสงในรูปแบบอื่น ๆ เพราะแสงของเลเซอร์จะยิงตรงตามจุดสะเก็ดเงินโดยตรง แต่อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงมีผื่นแดง และผิวหนังพุพองได้เล็กน้อย
  • ยาในรูปแบบรับประทาน และแบบฉีด เหมาะสำหรับกับการรักษาผู้ที่เป็นโรคสะเก็ดเงินระดับปานกลาง อีกทั้งยาแต่ละชนิดที่แพทย์เลือกใช้มีดังนี้ สเตียรอยด์ (Steroids) เรตินอยด์ (Retinoids)เมโธเทรกเซท (Methotrexate) ไซโคลสปอริน (Cyclosporine) รวมไปถึงยาชนิดอื่น ๆ ที่เหมาะสมแต่ละอาการของผู้ป่วย

คำแนะนำจากคุณหมอ เกี่ยวกับการป้องกันสะเก็ดเงิน

เนื่องจากโรคสะเก็ดเงินมักเกิดจากสาเหตุที่ไม่แน่ชัด จึงทำให้การป้องกันอาจเป็นไปได้ยาก แต่ถึงอย่างไร คุณสามารถบรรเทาสะเก็ดเงินนี้ไม่ให้ลุกลามเพิ่มเติมได้ด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนแก่ผิวหนัง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์จำกัดไขมันที่พอดี หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และหมั่นอาบน้ำอย่างเป็นประจำไม่ควรปล่อยให้ร่างกายสกปรก

ที่สำคัญคุณควรได้รับการรักษา หรือการตรวจอาการสะเก็ดเงินจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญตามการนัดหมาย พร้อมรับประทานยาให้ตรงต่อเวลา หากกรณีที่คุณหมอมีการจ่ายยาให้เพิ่ม เพื่อให้ผลลัพธ์การรักษาโรคสะเก็ดเงินเป็นไปได้ด้วยดีอย่างไร้ข้อกังวล

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Treatment-Psoriasis https://www.nhs.uk/conditions/psoriasis/treatment/ . Accessed May 17, 2021

Psoriasis https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/psoriasis/diagnosis-treatment/drc-20355845 . Accessed May 17, 2021

Psoriasis Treatments: How To Get Rid of Psoriasis https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/psoriasis/understanding-psoriasis-treatment . Accessed May 17, 2021

PSORIASIS: CAUSES https://www.aad.org/public/diseases/psoriasis/what/causes . Accessed May 17, 2021

PSORIASIS https://www.medicinenet.com/psoriasis/article.htm . Accessed May 17, 2021

เวอร์ชันปัจจุบัน

30/03/2023

เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีรักษาสะเก็ดเงินที่เล็บ ง่าย ๆ ด้วยตัวคุณเอง

สะเก็ดเงิน กับเคล็ดลับเรื่องบนเตียงที่ควรรู้


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงภัทรีวัลย์ โรจนพันธุ์

โรคผิวหนัง · โรงพยาบาลวิภาวดี



เขียนโดย ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน · แก้ไขล่าสุด 30/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา