นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

ปกติน้ำปัสสาวะจะเป็นของเหลว ทั้งยังมีสารหลาย ๆ อย่างที่ละลายอยู่ในน้ำปัสสาวะ สารเหล่านี้สามารถตกตะกอนและกลายเป็นผลึก เมื่อมีผลึกเยอะขึ้นก็จะรวมตัวกลายเป็นก้อน จนทำให้เกิดเป็น นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ แล้วอย่างนี้จะต้องปฏิบัติตัว หรือดูแลอย่างไรเพื่อไม่่ให้เกิดปัญหานี้ ลองศึกษาได้จากข้อมูลที่เราได้รวบรวมมา

เรื่องเด่นประจำหมวด

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่ว อาการ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง และการป้องกัน

นิ่ว เกิดจากแร่ธาตุและสารอื่น ๆ เช่น แคลเซียม กรดยูลิก ออกซาเลต (Oxalate) ตกตระกอนรวมตัวกันเป็นก้อน อาจมีขนาดเล็กและหลุดออกไปเองได้ ไปจนถึงมีขนาดใหญ่จนอาจไปอุดตันอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้ นิ่วพบได้ในอวัยวะ เช่น ไต กระเพาะปัสสาวะ อาจทำให้เกิดอาการปัสสาวะน้อย ปัสสาวะมีสีขุ่น ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หากทราบวิธีป้องกันที่เหมาะสม อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดนิ่วได้  นิ่วคืออะไร  นิ่ว คือ ก้อนที่เกิดจากการรวมตัวหรือการตกตะกอนของแร่ธาตุและสารต่าง ๆ เช่น แคลเซียม ฟอสเฟต ออกซาเลต กรดยูริก โดยประเภทของนิ่วอาจสามารถแบ่งออกได้ดังนี้  นิ่วแคลเซียม เป็นประเภทที่พบได้บ่อย เกิดจากแคลเซียมรวมกับกรดออกซาลิกในปัสสาวะ ซึ่งอาจเกิดจากการได้รับของเหลวหรือแคลเซียมไม่เพียงพอ  นิ่วกรดยูริก เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีน (Purine) สูง เช่น เนื้อสัตว์ หอยบางชนิด มักเกิดขึ้นในผู้ที่สูญเสียของเหลวมากเกินไปจากอาการท้องร่วงเรื้อรัง นิ่วสตรูไวท์ เกิดจากการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และเป็นชนิดที่อันตราย เพราะก้อนนิ่วอาจขยายขนาดอย่างรวดเร็ว นิ่วซีสทีน เป็นนิ่วประเภทหายาก เกิดจากไตหลั่งกรดอะมิโนที่เรียกว่าซีสทีนออกมาทางปัสสาวะมากเกินไป ส่วนใหญ่มักเกิดจากการสืบทอดผ่านทางพันธุกรรม  อาการของนิ่ว  นิ่ว อาจมีอาการดังนี้  หนาวสั่น […]

สำรวจ นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในไต กับอาหารเพิ่มความเสี่ยงที่คุณควรหลีกเลี่ยง!

นิ่วในไต คือ ผลึกแข็งที่เกิดขึ้นในปัสสาวะ อาการปวดจากนิ่วในไตนั้น อาจจะปวดจนแทบไม่สามารถทนได้ และเกิดขึ้นเป็นระลอก ที่แย่ไปกว่านั้นคือ อาหารที่คุณรับประทานในแต่ละวัน ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดปัญหานี้ขึ้นมาได้ Hello คุณหมอ มีสาระเกี่ยวกับอาหารที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดนิ่วในไตที่คุณควรรับรู้เอาไว้ [embed-health-tool-bmr] นิ่วในไต กับอาหารที่มีโซเดียมสูง โซเดียมเป็นส่วนหนึ่งของเกลือ โซเดียมในอาหารที่คุณรับประทานเข้าไป อาจกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของนิ่วในไตได้ เนื่องจากไปเพิ่มปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะของคุณ โซเดียมสามารถพบได้ในอาหารกระป๋อง อาหารจานด่วน และอาหารสำเร็จรูป หรือพบได้ในเนื้อ และเครื่องปรุงรส ดังนั้น จึงควรปรึกษากับคุณหมอ หรือผู้ดูแลสุขภาพ เกี่ยวกับปริมาณของโซเดียมที่ควรใส่ในอาหารของคุณ อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ควรจำไว้ คือ การลดการบริโภคโซเดียมลง สามารถช่วยปกป้องสุขภาพหัวใจของคุณได้ เคล็ดลับบางอย่างที่จะช่วยให้คุณได้รับประทานอาหารที่มีโซเดียมต่ำ ควรรู้ปริมาณของโซเดียมอยู่เสมอ และระมัดระวังทุกครั้งโดยเฉพาะหากคุณรับประทานอาหารนอกบ้าน เมื่อคุณรับประทานอาหารนอกบ้าน พยายามหลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณโซเดียมที่มากจนเกินไป โดยคุณสามารถสอบถามกับร้านอาหารได้ หยุดรับประทานประเภทซุปกระป๋อง เนื้อกระป๋อง ผักกระป๋อง อาหารจานด่วน และอาหารสำเร็จรูป หันมาเลือกทานอาหารที่สดใหม่ เมื่อคุณซื้ออาหารที่ซูเปอร์มาร์เก็ต ให้ตรวจดูฉลากบรรจุภัณฑ์เสมอว่ามีส่วนผสมใดที่ควรหลีกเลี่ยงหรือไม่ ซึ่งคุณควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีส่วนผสมของ โซเดียมไบคาร์บอเนต, เบคกิ้งโซดา, เบคกิ้งพาวเดอร์, ไดโซเดียม ฟอสเฟต, โมโนโซเดียมกลูตาเมต, โซเดียมอัลจิเนต (Sodium Alginate), โซเดียมไนเตรต (sodium nitrate) หรือไนไตรท์ […]

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม