backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

โรคตับ (Liver disease)

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

โรคตับ (Liver disease)

โรคตับ สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม หรือเกิดจากปัจจัยหลายประการที่ทำร้ายตับ เช่น ไวรัสชนิดต่างๆ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วนยังสัมพันธ์กับความเสียหายของตับ

คำจำกัดความ

โรคตับคืออะไร

ตับเป็นอวัยวะ มีขนาดเท่าลูกฟุตบอลโดยประมาณ อยู่บริเวณใต้กระดูกซี่โครงทางด้านขวาของช่องท้อง ตับมีความสำคัญในการย่อยอาหารและการกำจัดสารพิษจากร่างกาย

โรคตับ (Liver Disease) สามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม หรือเกิดจากปัจจัยหลายประการที่ทำร้ายตับ เช่น ไวรัสชนิดต่างๆ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วนยังสัมพันธ์กับความเสียหายของตับ เมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายที่เกิดที่ตับทำให้เกิดภาวะตับแข็งซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะตับล้มเหลวซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

โรคตับพบบ่อยเพียงใด

โรคตับพบได้ค่อนข้างบ่อย โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

อาการ

อาการของโรคตับ

อาการทั่วไปของโรคตับ ได้แก่

  • ผิวหนังและตาเป็นสีเหลือง หรือดีซ่าน (jaundice)
  • มีอาการปวดและบวมในช่องท้อง
  • มีอาการบวมที่ขาและข้อเท้า
  • มีอาการคันที่ผิวหนัง
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม
  • อุจจาระมีสีจาง หรืออุจจาระมีเลือดปนหรือมีสีคล้ำ
  • มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • เบื่ออาหาร
  • เกิดแผลฟกช้ำได้ง่าย

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ควรไปพบหมอเมื่อใด

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม

โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ

สาเหตุ

สาเหตุของโรคตับ

โรคตับมีสาเหตุหลายประการ

การติดเชื้อ

ปรสิตและไวรัสสามารถทำให้ตับติดเชื้อ นำไปสู่การอักเสบซึ่งจะลดประสิทธิภาพการทำงานของตับ ไวรัสที่ทำให้ตับเสียหายสามารถแพร่กระจายผ่านทางเลือดหรือน้ำอสุจิ ปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำ หรืออาจติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ ประเภทของตับติดเชื้อที่พบได้มากที่สุด คือไวรัสตับอักเสบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน

อาการผิดปกติที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าโจมตีและทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือที่เรียกว่า “โรคภูมิต้านตนเอง” สามารถส่งผลกระทบต่อตับได้ ตัวอย่างของโรคตับประเภทภูมิต้านตนเอง ได้แก่

  • โรคตับอักเสบภูมิต้านตนเอง
  • โรคตับแข็งทางเดินน้ำดีปฐมภูมิ
  • ท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ

พันธุกรรม

ยีนผิดปกติที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ไม่ว่าจะจากคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนสามารถทำให้สารหลายชนิดก่อตัวขึ้นในตับซึ่งส่งผลให้ตับเสียหาย โรคตับทางพันธุกรรม ได้แก่

  • ภาวะธาตุเหล็กเกิน
  • ภาวะอ็อกซาเลตสูงในปัสสาวะและอ็อกซาโลซิส
  • โรควิลสัน (Wilson’s disease)

มะเร็งและการก่อตัวของเซลล์อื่นๆ

ตัวอย่าง ได้แก่

  • มะเร็งตับ
  • มะเร็งท่อน้ำดี
  • เนื้องอกที่ตับชนิดอะดีโนมา

สาเหตุอื่นๆ

สาเหตุอื่นๆ ของโรคตับที่พบได้ทั่วไป ได้แก่

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน
  • การสะสมของไขมันในตับ หรือโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

คำจำกัดความ

โรคตับคืออะไร 

ตับเป็นอวัยวะ มีขนาดเท่าลูกฟุตบอลโดยประมาณ อยู่บริเวณใต้กระดูกซี่โครงทางด้านขวาของช่องท้อง ตับมีความสำคัญในการย่อยอาหารและการกำจัดสารพิษจากร่างกาย 

โรคตับสามารถถ่ายทอดได้ทางพันธุกรรม หรือเกิดจากปัจจัยหลายประการที่ทำร้ายตับ เช่น ไวรัสชนิดต่างๆ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โรคอ้วนยังสัมพันธ์กับความเสียหายของตับ เมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายที่เกิดที่ตับทำให้เกิดภาวะตับแข็งซึ่งสามารถทำให้เกิดภาวะตับล้มเหลวซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต

โรคตับพบบ่อยเพียงใด 

โรคตับพบได้ค่อนข้างบ่อย โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม 

อาการ

อาการ

อาการทั่วไปของโรคตับ ได้แก่  

  • ผิวหนังและตาเป็นสีเหลือง (ดีซ่าน (jaundice) 
  • มีอาการปวดและบวมในช่องท้อง 
  • มีอาการบวมที่ขาและข้อเท้า 
  • มีอาการคันที่ผิวหนัง 
  • ปัสสาวะมีสีเข้ม
  • อุจจาระมีสีจาง หรืออุจจาระมีเลือดปนหรือมีสีคล้ำ
  • มีอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง 
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน 
  • เบื่ออาหาร
  • เกิดแผลฟกช้ำได้ง่าย  

อาจมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับอาการต่างๆ โปรดปรึกษาแพทย์  

ควรไปพบหมอเมื่อใด 

หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใดๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม

โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ 

สาเหตุ

สาเหตุ

โรคตับมีสาเหตุหลายประการ 

การติดเชื้อ

ปรสิตและไวรัสสามารถทำให้ตับติดเชื้อ นำไปสู่การอักเสบซึ่งจะลดประสิทธิภาพการทำงานของตับ ไวรัสที่ทำให้ตับเสียหายสามารถ

แพร่กระจายผ่านทางเลือดหรือน้ำอสุจิ ปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำ หรืออาจติดต่อผ่านการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ ประเภทของตับติดเชื้อที่พบได้มากที่สุดคือไวรัสตับอักเสบ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • ไวรัสตับอักเสบเอ 
  • ไวรัสตับอักเสบบี  
  • ไวรัสตับอักเสบซี

ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน 

อาการผิดปกติที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเข้าโจมตีและทำลายอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือที่เรียกว่า “โรคภูมิต้านตนเอง” สามารถส่งผลกระทบต่อตับได้ ตัวอย่างของโรคตับประเภทภูมิต้านตนเอง ได้แก่  

  • โรคตับอักเสบภูมิต้านตนเอง
  • โรคตับแข็งทางเดินน้ำดีปฐมภูมิ 
  • ท่อน้ำดีอักเสบแข็งปฐมภูมิ  

พันธุกรรม

ยีนผิดปกติที่ถ่ายทอดมาจากพ่อแม่ ไม่ว่าจะจากคนใดคนหนึ่งหรือทั้งสองคนสามารถทำให้สารหลายชนิดก่อตัวขึ้นในตับซึ่งส่งผลให้ตับเสียหาย โรคตับทางพันธุกรรม ได้แก่ 

  • ภาวะธาตุเหล็กเกิน 
  • ภาวะอ็อกซาเลตสูงในปัสสาวะและอ็อกซาโลซิส 
  • โรควิลสัน (Wilson’s disease)  

มะเร็งและการก่อตัวของเซลล์อื่นๆ

ตัวอย่าง ได้แก่  

  • มะเร็งตับ 
  • มะเร็งท่อน้ำดี
  • เนื้องอกที่ตับชนิดอะดีโนมา 

สาเหตุอื่นๆ 

สาเหตุอื่นๆ ของโรคตับที่พบได้ทั่วไป ได้แก่  

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นเวลานาน 
  • การสะสมของไขมันในตับ หรือโรคไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยความเสี่ยง

มีปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคตับมีหลายประการ เช่น 

  • การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก 
  • การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • การสักหรือการเจาะร่างกาย
  • การถ่ายเลือดก่อนปี พ.ศ.2535 
  • การสัมผัสเลือดหรือสารคัดหลั่งจากร่างกายของผู้อื่น
  • การมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน 
  • การสัมผัสสารเคมีหรือสารพิษบางชนิด 
  • โรคเบาหวาน 
  • โรคอ้วน
  • ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง

การวินิจฉัยและการรักษา

ข้อมูลที่นำเสนอมิได้ใช้แทนข้อแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม 

การวินิจฉัย

การหาสาเหตุและขอบเขตของโรคตับเป็นสิ่งสำคัญในการหาหนทางการรักษา โดยแพทย์อาจเริ่มต้นด้วยการซักประวัติสุขภาพและการตรวจร่างกายโดยละเอียด และอาจให้คำแนะนำดังต่อไปนี้  

  • การตรวจเลือด การตรวจเลือดที่เรียกว่าการตรวจการทำงานของตับ สามารถใช้วินิจฉัยโรคตับได้ หรืออาจมีการตรวจเลือดประเภทอื่นๆ เพื่อตรวจหาปัญหาเกี่ยวกับตับหรือโรคทางพันธุกรรมโดยเฉพาะ  
  • การทดสอบด้วยภาพถ่าย การตรวจด้วยซีทีสแกน เอ็มอาร์ไอ และอัลตราซาวด์ สามารถแสดงให้เห็นถึงความเสียหายที่ตับได้
  • การวิเคราะห์เนื้อเยื่อ การตรวจเนื้อเยื่อตัวอย่างจากตับ

    อาจช่วยวินิจฉัยโรคตับได้ การตรวจเนื้อเยื่อตับมักดำเนินการโดยใช้เข็มยาวสอดเข้าไปทางผิวหนังเพื่อนำตัวอย่างเนื้อเยื่อออกมา แล้วนำไปวิเคราะห์ในห้องปฎิบัติการ 

  • การรักษา

    โรคตับแต่ละชนิดจะมีแนวทางการรักษาเฉพาะต่างกันไป ตัวอย่างเช่น โรคตับอักเสบเอจำเป็นต้องได้รับการรักษาแบบประคับประคองเพื่อรักษาระดับน้ำในร่างกายในขณะที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานและรักษาการติดเชื้อ ขณะที่ผู้ป่วยที่เป็นนิ่วในถุงน้ำดีอาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดเพื่อนำถุงน้ำดีออกไป ส่วนโรคอื่นๆ อาจต้องได้รับการรักษาในระยะยาวเพื่อควบคุมและลดผลกระทบของโรคให้น้อยที่สุด 

    ในผู้ป่วยโรคตับแข็งและโรคตับระยะสุดท้าย อาจจำเป็นต้องใช้ยาเพื่อควบคุมปริมาณโปรตีนจากอาหาร ตับที่ได้รับผลกระทบจากโรคตับแข็งอาจไม่สามารถเผาผลาญของเสียได้ ส่งผลให้ระดับแอมโมเนียในเลือดเพิ่มสูงขึ้นซึ่งจะพัฒนากลายเป็นโรคสมองจากโรคตับ โดยจะมีอาการมึนงง สับสน หมดสติ จึงอาจจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีโซเดียมต่ำและ

    ใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดภาวะคั่งน้ำ 

    ในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องท้อง หรือมีของเหลวที่สะสมในช่องท้องในปริมาณมาก อาจต้องกำจัดน้ำส่วนเกินออกเป็นระยะโดยใช้เข็มและกระบอกฉีดยาผ่านกระบวนการการเจาะสารน้ำจากช่องท้อง โดยแพทย์จะใช้ยาชาเฉพาะที่ และสอดเข็มผ่านทางผนังช่องท้องและนำของเหลวออกมา

    น้ำในช่องท้องสามารถติดเชื้อได้ตามธรรมชาติ การเจาะสารน้ำจากช่องท้องยังสามารถใช้เในการวินิจฉัยเพื่อตรวจหาการติดเชื้อได้อีกด้วย 

    ในบางกรณี อาจจำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพื่อลดภาวะความดันโลหิตสูง

    ของหลอดเลือดดำที่เข้าสู่ตับไปสู่หัวใจและลดความเสี่ยงในการตกเลือดให้น้อยที่สุด 

    ส่วนการปลูกถ่ายตับเป็นทางเลือกสุดท้ายสำหรับผู้ป่วยโรคตับ 

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐาน

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการเยียวยาตัวเองเพื่อรับมือกับโรคตับ 

    การเปลี่ยนไลฟ์สไตล์และการปฏิบัติตนขั้นพื้นฐานดังต่อไปนี้จะช่วยให้รับมือโรคตับได้ 

    • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อย่างพอดี ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงในทุกช่วงอายุและผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปี ที่มีสุขภาพดี คือหนึ่งแก้วต่อวัน สำหรับผู้ชายอายุ 65 ปีหรือต่ำกว่า คือ สูงสุดสองแก้วต่อวัน ส่วนการดื่มที่ถือว่ามีความเสี่ยงสูงคือการดื่มมากกว่าสามแก้วต่อวันหรือมากว่าเจ็ดแก้วต่อสัปดาห์สำหรับผู้หญิงและผู้ชายอายุมากกว่า 65 ปี และมากกว่าสี่แก้วต่อวันหรือมากกว่า 14 แก้วต่อสัปดาห์สำหรับผู้ชายอายุ 65 ปีหรือต่ำกว่า   
    •  หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง หากคุณใช้ยาเสพติดฉีดเข้าทางเส้นเลือดควรเข้ารับการบำบัด

      และห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ควรใช้ถุงยางอนามัยในระหว่างมีเพศสัมพันธ์ และหากต้องการสักหรือเจาะร่างกาย

      ควรเลือกร้านที่คำนึงถึงความสะอาดและความปลอดภัยเสมอ

         
    • รับการฉีดวัคซีน หากคุณรู้สึกว่ามีความเสี่ยงมากในการติดเชื้อตับอักเสบหรือคุณติดเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่แล้ว ควรปรึกษาแพทย์

      เกี่ยวกับการเข้ารับวัคซีนตับอักเสบเอและตับอักเสบบี

       
    • ใช้ยาอย่างระมัดระวัง ควรใช้ยาตามแพทย์สั่งหรือยาที่ซื้อเองเท่าที่จำเป็น และควรใช้ยาในปริมาณที่แนะนำเท่านั้น ห้ามผสมยากับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยาร่วมกับอาหารเสริมสมุนไพรหรือยาอื่นๆ ทั้งตามที่แพทย์สั่งและที่ซื้อมาใช้เอง 
    • หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้อื่น ไวรัสตับอักเสบสามารถแพร่กระจายผ่านการสัมผัสถูกเข็มฉีดยาโดยบังเอิญหรือการทำความสะอาดเลือดหรือสารคัดหลั่งที่ไม่เหมาะสม  
    • ควรใช้สเปรย์ชนิดละอองอย่างระมัดระวัง โดยต้องมั่นใจว่าบริเวณห้องมีการระบายอากาศที่เหมาะสม และควรสวมใส่หน้ากากในขณะฉีดยาฆ่าแมลง ยาฆ่าเชื้อรา สี หรือสารเคมีมีพิษอื่นๆ และควรปฏิบัติตามคำแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์อย่างเคร่งครัด  
    • ปกป้องผิวหนัง เมื่อใช้ยาฆ่าแมลงหรือสารเคมีมีพิษอื่นๆ โดยการสวมใส่ถุงมือ เสื้อแขนยาว หมวก และหน้ากากให้มิดชิด
    • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสม เนื่องจากโรคอ้วนสามารถทำให้เกิดภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ 

    หากคุณมีข้อสงสัย โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ 

    Hello Health Group ม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด 

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    ทีม Hello คุณหมอ


    เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา