โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน หมายถึงอาการที่กรดภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับผ่านทางหลอดอาหารขึ้นมาจนถึงคอ ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว หรือหลอดอาหารอักเสบ สามารถพบได้บ่อยโดยเฉพาะคนในวัยทำงานที่ไม่ค่อยมีเวลาพักผ่อน เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ โรคกรดไหลย้อน ตั้งแต่สาเหตุ อาการ ตลอดไปจนถึงวิธีการรักษา และการป้องกัน ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคกรดไหลย้อน

วิธีรักษากรดไหลย้อนขึ้นคอ ทำได้อย่างไร ต่างจากโรคกรดไหลย้อนธรรมดาหรือไม่

โรคกรดไหลย้อน ภาวะความผิดปกติ โดยเกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวกับการมีกรดในกระเพาะอาหารไหลขึ้นมา ทำให้เกิดอาการแสบร้อนกลางอก อึดอัด เจ็บคอ กลืนลำบาก และรู้สึกเหมือนมีรสเปรี้ยวหรือรสขมในปาก การเรียนรู้เกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อนและ วิธีรักษากรดไหลย้อนขึ้นคอ อาจช่วยให้สามารถรับมือกับโรคได้อย่างเหมาะสม  [embed-health-tool-bmi] ประเภทของโรคกรดไหลย้อน โรคกรดไหลย้อน สาเหตุเกิดจากการทำหน้าที่ของกล้ามเนื้อหูรูดส่วนล่างของหลอดอาหารหย่อนตัวลง จนน้ำย่อยหรือกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ โดยปกติเมื่อกลืนอาหารแล้ว หูรูดจะคลายตัวเปิดทางให้อาหารไหลไปสู่กระเพาะอาหาร เมื่อผ่านลงไปแล้ว หูรูดจะหดรัดเพื่อปิดกั้นไม่ให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นไปที่หลอดอาหาร แต่ผู้ที่เป็นโรคนี้ กล้ามเนื้อหูรูดจะหย่อนตัวลงไม่สามารถปิดกั้นกรดไหลย้อนขึ้นมาได้ โดยโรคกรดไหลย้อน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ โรคกรดไหลย้อนธรรมดา (CLASSIC GERD) ลักษณะของโรคกรดไหลย้อนธรรมดา กรดจะไหลย้อนขึ้นมาสู่หลอดอาหาร  โรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง (Laryngopharyngeal Reflux: LPR) ลักษณะของโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง กรดจะไหลย้อนกลับ ขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนอย่างผิดปกติ เกิดการระคายเคืองของกรดบริเวณคอและกล่องเสียง  ความแตกต่างของกรดไหลย้อนขึ้นคอและกรดไหลย้อนธรรมดา โรคกรดไหลย้อนธรรมดา ลักษณะกรดที่ไหลย้อนขึ้นมาจะอยู่ภายในหลอดอาหาร มักเกิดในตอนกลางคืน ช่วงเวลาพักผ่อนนอนหลับ แต่กรดไหลย้อนขึ้นคอ หรือโรคกรดไหลย้อนขึ้นมาที่คอและกล่องเสียง จะเกิดที่คอ สายเสียงสามารถเกิดได้จากกรดเพียงเล็กน้อย เกิดได้ในขณะเดิน นั่ง หรือยืน ในเวลากลางวัน ซึ่งกรดที่ขึ้นมาที่คอและสายเสียง จะมีปริมาณน้อย ไม่ได้อยู่ในหลอดอาหารนาน อาการของกรดไหลย้อนขึ้นคอ  อาการของผู้ป่วยจะขึ้นอยู่กับอวัยวะที่ถูกระคายเคืองโดยกรด เช่น  รู้สึกคล้ายมีก้อนอยู่ในคอ อึดอัดแน่นคอ แสบร้อนกลางอก […]

สำรวจ โรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน

ขมิ้น สมุนไพรใกล้ตัว ใช้ บรรเทาอาการกรดไหลย้อน ได้หรือไม่

ขมิ้น สมุนไพรพื้นบ้าน ที่หลายๆ คนน่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี ขมิ้นนอกจากจะใช้ในครัวเรือนเพื่อการประกอบอาหารแล้ว หลายๆ บ้านยังใช้ขมิ้นสำหรับการบรรเทาอาการต่างๆ เช่น เป็นส่วนประกอบในลูกประคบสำหรับการนวดคลายปวด วันนี้ Hello คุณหมอ มีข้อมูลที่น่าสนใจของ ขมิ้น บรรเทาอาการกรดไหลย้อน มาฝากกันค่ะ ประโยชน์ของ ขมิ้น บรรเทาอาการกรดไหลย้อน ขมิ้น เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการใช่รักษาอาการต่างๆ มานาน ขมิ้นถูกใช้รักษาอาการต่างๆ เช่น ปวดข้อ รวมไปถึงโรคที่เกี่ยวข้องกับกระเพาะอาหารและระบบทางเดินอาหาร ถึงแม้จะมีหลักฐานมากมายว่าขมิ้นมีส่วนช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ แต่ยังมีงานวิจัยที่เชื่อถือได้อยู่น้อยมาก นอกจากหัวของขมิ้นที่มีการใช้อย่างแพร่หลายแล้ว ลำต้นของขมิ้นเมื่อนำมาตากแห้ง บดเป็นผง ซึ่งผงที่ได้จากการบดลำต้นนั้นสามารถนำมารับประทาน หรือใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารได้ แต่ว่าบางครั้งเมื่อเราใช้ขมิ้นมาประกอบอาหาร หรือชงเป็นชาดื่ม อาจจะไม่เพียงพอสำหรับใช้ในการบรรเทาอาการกรดไหลย้อน ดังนั้นวิธีการที่จะทำให้ร่างกายได้รับขมิ้นเพียงพอที่จะส่งผลต่อการบรรเทาอาการกรดไหลย้อนคือ การรับประทานในรูปแบบของสารสกัด ซึ่งจะทำให้ได้รับสารที่ช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้เพียงพอ นอกจากนี้หากต้องการให้ร่างกายสามารถดูดซึมสารเคอร์คูมิน (Curcumin) ที่มีอยู่ในขมิ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ควรรับประทานอาหารที่มีสารพิเพอรีน (piperine) ซึ่งเป็นสารที่พบมากในพริกไทยดำ เพราะสารตัวนี้จะช่วยทำให้ร่างกายดูดซึมสารเคอร์คูมินได้มากขึ้น งานวิจัยเกี่ยวกับ ขมิ้น บรรเทากรดไหลย้อน แม้จะมีงานวิจัยมากมายศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติทางยาของขมิ้น แต่ยังไม่มีงานวิจัยชิ้นใดที่ศึกษาเฉพาะเรื่องของ ขมิ้น บรรเทากรดไหลย้อน โดยรวมแล้วอาจจะยังมีหลักฐานรับรองสำหรับข้อมูลของขมิ้นในการบรรเทากรดไหลย้อนไม่เพียงพอ อาจจะยังต้องการงานวิจัยที่ศึกษาเฉพาะเรื่องนี้โดยเฉพาะเพิ่มเติม เพื่อให้มีผลการทดลองที่แน่ชัด จากการศึกษาในปี 2007 พบว่า โรคกรดไหลย้อนนั้นมีสาเหตุมาจากการอักเสบของร่างกาย […]


โรคกรดไหลย้อน

เปลี่ยนวิถีชีวิตง่ายๆ ป้องกันอาการกรดไหลย้อน

วิธี ป้องกันอาการกรดไหลย้อน  คุณเคยรู้สึกแสบร้อนบริเวณเหนือกระเพาะอาหารหรือไม่ โดยปกติแล้วอาการนี้มักเกิดขึ้นหลังจากรับประทานอาหารมีื้อใหญ่ที่ไม่สามารถย่อยได้ภายในหนึ่งชั่วโมง เช่นเดียวกับหลายๆคน อาการแสบร้อนนี้เรียกว่า อาการกรดไหลย้อน กรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้เมื่อไหร่ กรดไหลย้อนมักเกิดขึ้นภายหลังจากการรับประทานอาหาร เกิดขึ้นเมื่ออาหารในกระเพาะไหลย้อนกลับสู่หลอดอาหาร ก่อให้เกิดอาการปวดแสบภายในทรวงอก เมื่อคุณกลืนอาหารลงไปกล้ามเนื้อจำนวนหนึ่ง (หลอดอาหาร) จะคลายตัวเพื่อให้อาหารจากปากไหลลงสู่กระเพาะอาหาร จากนั้นจึงปิดตัวเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของอาหาร (กรดไหลย้อน) หากกล้ามเนื้อส่วนนี้ถูกทำลาย กรดจะไหลย้อนกลับได้ง่ายขึ้น นอกจากอาการปกติทั่วไป กรดไหลย้อนยังบ่งบอกถึงอาการรุนแรงอื่นๆที่ควรได้รับการรักษา กรดไหลย้อนไม่ใช่อาการที่ควรนิ่งเฉย หากทิ้งไว้นานและไม่รับการรักษา กรดไหลย้อนอาจเป็นสาเหตุให้กรดในกระเพาะอาหารทำลายทางเดินสำไส้ วันนี้ Hello คุณหมอ จึงมาพร้อมกับวิธี ป้องกันอาการกรดไหลย้อน วิธีการง่ายๆในการ ป้องกันอาการกรดไหลย้อน  คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตหมายถึงการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่คุณกำลังควบคุมอยู่ รวมไปถึงการหลีกเลี่ยงปัจจัยและสิ่งเร้าที่ทำให้อาการแย่ลง จะป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนโดยการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตได้อย่างไร กรดไหลย้อนเป็นอาการผิดปกติของกระเพาะอาหาร ดังนั้นโดยปกติคุณควรเปลี่ยนแปลงการกินของคุณเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดกรดไหลย้อน สิ่งสำคัญคือหลีกเลี่ยงการสร้างแรงดันในทางเดินอาหารและหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้น เช่น อย่ารับประทานมากเกินไปหรือเร่งรีบเกินไป การรับประทานเพียงเล็กน้อยหมายความว่ามีอาหารส่งไปยังกระเพาะอาหารน้อยลงเช่นกัน ซึ่งลดโอกาสในการเกิดกรดไหลย้อน ทำการจดบันทึกอาหารที่เป็นสาเหตุของกรดไหลย้อน อาหารที่เป็นตัวกระตุ้นโดยทั่วไป ได้แก่ หัวหอม เปปเปอร์มินต์ ช๊อคโกแลต เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ ส้มและน้ำส้ม มะเขือเทศ และอาหารไขมันสูงหรืออาหารรสจัด เลิกสูบบุหรี่และจำกัดการดื่มแอลกอฮอลล์ นิโคตินในบุหรี่มีผลกระทบต่อหลอดอาหาร ทำให้กรดในกระเพาะไหลเข้าสู่หลอดอาหารได้อย่างง่ายดาย หลีกเลี่ยงการสร้างแรงดันให้กับกระเพาะ คุณสามารถทำได้โดยสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม หรือไม่รัดกระเพาะอาหาร รวมถึงการลดน้ำหนัก ยิ่งมีน้ำหนักมากเท่าใดยิ่งเพิ่มแรงดันในทางเดินอาหาร หลีกเลี่ยงการนอนหลังมื้ออาหาร ลองนึกภาพถึงกระเพาะอาหารที่คล้ายกับขวดน้ำ เมื่อคว่ำลงก็มีโอกาสที่น้ำจะกระฉอกออกมาได้ ใช้หมอนรองคอเพื่อให้ตำแหน่งของหัวสูงกว่าร่างกายเล็กน้อยป้องกันการไหลย้อนของกรด หากวิธีนี้ไม่ได้ผล พยายามให้ร่างกายส่วนบนอยู่สูงกว่าระดับเอวลงมา ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อช่วยในการย่อยอาหาร […]


โรคกรดไหลย้อน

ปัจจัยที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน มาดูสิว่าจะมีอะไรบ้าง

กรดไหลย้อน นอกจากจะทำให้คุณรู้สึกไม่สบายท้องแล้ว ยังทำให้คุณมีอาการแสบร้อนกลางอก เจ็บคอ เสียงแหบ ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น และอื่น ๆ ได้อีกมาก อาการของ โรคกรดไหลย้อน เหล่านี้มักรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน และบางอาการ อย่างกลิ่นปาก ก็สามารถทำให้เราหมดความมั่นใจได้ด้วย หากใครไม่อยากเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือไม่อยากทำให้อาการที่เป็นอยู่แย่ลง ก็สามารถทำได้ด้วยการป้องกันหรือหลีกเลี่ยง ปัจจัยที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน ที่ Hello คุณหมอ นำมาฝากกันในบทความนี้ ปัจจัยที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อน การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้มากมาย รวมถึงโรคกรดไหลย้อนด้วย ยิ่งหากใครเป็นกรดไหลย้อนอยู่แล้ว ก็ยิ่งควรงดสูบบุหรี่ เพราะบุหรี่จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร และกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ทั้งยังลดปฏิกิริยาตอบสนองในลำคอและลดการหลั่งน้ำลาย เมื่อกระบวนการเหล่านี้ทำงานผิดปกติ จึงทำให้กรดในกระเพาะอาหารเสียสมดุล และส่งผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้น การกินอาหารมากเกินไป หรือกินมื้อดึก อาหารมื้อใหญ่เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดกรดไหลย้อนที่พบได้บ่อยที่สุด เพราะเมื่อคุณกินอาหารมากเกินไป ร่างกายก็จำเป็นต้องใช้เวลาในการย่อยอาหารนานขึ้น ยิ่งหากคุณกินอาหารมื้อใหญ่ในช่วงเย็น ช่วงก่อนนอน หรือชอบกินมื้อดึก พอคุณล้มตัวนอนทั้งที่กระเพาะอาหารยังย่อยอาหารไม่เสร็จ กรดในกระเพาะอาหารจึงไหลย้อนขึ้นมายังหลอดอาหารได้ คุณไม่ควรกินอะไรก่อนเข้านอน 3-4 ชั่วโมง และควรออกไปเดินเล่นหลังกินอาหารสัก 30 นาที หรือขยับร่างกายด้วยการล้างจาน กวาดบ้าน เป็นต้น เพื่อช่วยให้ร่างกายย่อยอาหารได้ดีขึ้น แต่ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายจริงจัง เพราะจะยิ่งส่งผลเสียต่อกระบวนการย่อยอาหาร การใช้ยาบางชนิด ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน (Aspirin) ไอบูโพรเฟน […]


โรคกรดไหลย้อน

12 เคล็ดลับดี ๆ ป้องกัน กรดไหลย้อนตอนนอน

คุณเคยสะดุ้งตื่นตอนกลางคืนเพราะมีอาการแสบร้อนกลางอกหรือไม่ อาการ กรดไหลย้อนตอนนอน อาจรบกวนการนอนหลับและทำให้ประสิทธิภาพในการเรียน หรือการทำงานในวันถัดไปของคุณแย่ลงได้ หากคุณมีอาการกรดไหลย้อนทุกวันและต้องการควบคุมการเกิดอาการเหล่านั้น เคล็ดลับต่อไปนี้จาก Hello คุณหมอ อาจช่วยคุณได้ วิธีป้องกัน กรดไหลย้อนตอนนอน รักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ หากคุณมีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคอ้วน คุณควรควบคุมน้ำหนักด้วยการ รับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพ ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำทุกวัน หากคุณไม่สามารถลดน้ำหนักได้ พยายามอย่าให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น เพราะอาจทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอาการ กรดไหลย้อนตอนนอน มากขึ้นได้ ใส่ใจการนอนหลับด้วยการปรับเปลี่ยนท่าทางในการนอน จำไว้ว่า คุณควรนอนตะแคงซ้ายเพื่อยกร่างกายส่วนบนให้สูงขึ้นในระหว่างนอนหลับ การนอนหลับโดยไม่หนุนหมอน หรือหนุนหมอนเตี้ยทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง เนื่องจากหลอดอาหารและกระเพาะอาหารของคุณอยู่ในระดับเดียวกัน ส่งผลให้กรดในกระเพาะไหลย้อนกลับไปยังหลอดอาหารได้อย่างง่ายดาย หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่คับ โดยเฉพาะบริเวณเอว การสวมใส่เสื้อผ้าคับ ๆ เป็นการเพิ่มแรงดันให้กับกระเพาะอาหาร นำไปสู่การเกิดกรดไหลย้อน การสวมใส่เสื้อผ้าที่หลวมหรือมีขนาดพอดีช่วยลดการสร้างแรงดันในกระเพาะอาหาร และทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารกระตุ้นกรดไหลย้อน แม้ว่าอาหารเหล่านี้จะให้ผลแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล แต่ก็ยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้อาการกรดไหลย้อนแย่ลง อาหารเหล่านั้นได้แก่ เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น น้ำอัดลม กาแฟ ชา อาหารรสจัด เช่น เปปเปอร์มิ้นต์ กระเทียม หัวหอม นม อาหารไขมันสูง อาหารเผ็ด อาหารที่มีรสชาติเลี่ยน หรืออาหารทอด และอาหารที่มีกรด เช่น ผลิตภัณฑ์จากส้ม มะเขือเทศ พยายามหลีกเลี่ยงอาหารมื้อดึกหรือมื้อใหญ่ แพทย์มักแนะนำให้งดรับประทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง […]


โรคกรดไหลย้อน

เคล็ดลับง่ายๆ ห่างไกลจากอาการกรดไหลย้อนตอนกลางคืน

นักวิจัยได้ทำแบบสอบถามประชาชนทั่วไปจำนวน 15,300 คน พบว่า 25% ในนั้นเคยเกิด อาการกรดไหลย้อนตอนกลางคืน สิ่งเหล่านี้กลายเป็นปัญหาซึ่งรบกวนการนอนหลับและอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพอื่นๆต่อไป กรดไหลย้อนสร้างความเสียหายให้แก่หลอดอาหาร กรดในกระเพาะอาจก่อให้เกิดรอยแผลเป็นและทำความเสียหายต่อระบบทางเดินอาหาร หรืออาจจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลอดอาหาร อาการกรดไหลย้อนตอนกลางคืน ทำให้เกิดการ ตกค้างของกรดในหลอดอาหารซึ่งสร้างความเสียหายได้มากมาย กรดไหลย้อนในตอนกลางคืนอาจเป็นสาเหตุของการนอนหลับไม่เพียงพอรวมไปถึงอาการนอนไม่หลับ คุณอาจตื่นขึ้นมากลางดึกด้วยความรู้สึกแสบร้อนกลางอกและไม่สามารถนอนหลับต่อได้ แม้ว่าจะรับประทานยาแก้ปวดไปแล้วก็ตาม ปกติแล้วคุณควรนอนหลับอย่างน้อย 7- 8 ชั่วโมงต่อวัน การนอนหลับไม่เพียงพอเป็นระยะเวลานานอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการต่อไปนี้ หาวบ่อยผิดปกติ มีปัญหาด้านความจำ เห็นภาพหลอน หลับใน ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง น้ำหนักเพิ่มขึ้น ความดันโลหิตสูง สมองทำงานช้าลง สมองเสี่อม อารมณ์เสีย ซึมเศร้า เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เป็นหวัดหรือไข้ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคเกี่ยวกับหัวใจ ต่อไปนี้เป็นเคล็ดลับในการป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนในตอนกลางคืน: ยกหัวให้สูง แพทย์แนะนำให้ปรับตำแหน่งของหัวให้สูงขึ้นอย่างน้อย 10 – 15 ซม. บางท่านอาจแนะนำให้ใช้หมอนที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มเพื่อยกลำตัวส่วนบนเหนือเอวให้สูงขึ้น 10 – 25 ซม. เพือป้องกันการเกิดกรดไหลย้อน วิธีการนี้เป็นวิธีการที่ได้ผลดี เนื่องจากแรงโน้มถ่วงจะช่วยทำให้อาหารไหลลงสู่กระเพาะ นอนตะแคงซ้าย คุณสามารถปรับท่าการนอนเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดกรดไหลย้อน การนอนตะแคงซ้ายช่วยลดการเกิดกรดไหลย้อน ลดน้ำหนัก งานวิจัยชี้ว่าการลดน้ำหนัก 1 กิโลกรัมช่วยลดการเกิดกรดไหลย้อน อาการกรดไหลย้อนมีแนวโน้มแย่ลงเมื่อน้ำหนักของคุณเพิ่มขึ้น สวมใส่เสื้อผ้าที่หลวม หากคุณสวมใส่เสื้อผ้าที่คับอาจเป็นการเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสื้อผ้าที่คับบริเวณเอว ก่อให้เกิดกรดไหลย้อน รับประทานอาหารด้วยภาชนะที่มีขนาดเล็ก การรับประทานอาหารด้วยภาชนะที่มีขนาดใหญ่หมายความว่ากระเพาะของคุณได้รับอาหารมากตามไปด้วย ซึ่งอาจใช้เวลานานในการย่อยและทำให้อาหารอยู่ในกระเพาะนานขึ้น ก่อให้เกิดกรดไหลย้อน หลีกเลี่ยงอาหารมื้อดึก เช่นเดียวกับการรับประทานอาหารในปริมาณมาก การรับประทานมื้อดึกกินเวลานานกว่าที่อาหารจะย่อย นอกจากนี้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารของคุณอาจอยู่ในตำแหน่งต่ำกว่าปกติ ซึ่งทำให้อาหารไหลย้อนกลับสู่หลอดอาหารได้ พยายามอย่ารับประทานอาหารในช่วงเวลา 3-4 ชั่วโมงก่อนเข้านอน มีวินัยในการรับประทานอาหาร ไม่ควรรีบเร่งรับประทานอาหาร ความเครียดเป็นสาเหตุให้กระเพาะหลั่งกรดออกมามากขึ้น นอกจากนี้ควรนั่งในท่าตรงหรืออย่าก้มตัวในขณะรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นตัวกระตุ้น หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดกรดไหลย้อน เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ ช๊อคโกแลต เปปเปอร์มิ้นต์ กาแฟ น้ำอัดลม […]


โรคกรดไหลย้อน

ทุกสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ โรคกรดไหลย้อน แบบกระชับ เข้าใจง่าย

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease – GERD) ถือเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารที่ส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่าง คนจำนวนมากต้องเผชิญกับโรคกรดไหลย้อน รวมถึงในหญิงตั้งครรภ์ ความจริงแล้ว โรคกรดไหลย้อน คือ ภาวะผิดปกติในทางเดินอาหารที่พบได้ทั่วไป ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการแสบหน้าอกและจุกเสียด รู้จักกับ โรคกรดไหลย้อน กรดไหลย้อน เกิดจากน้ำย่อยจากในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาเข้าสู่หลอดอาหาร ส่งผลให้เกิดความรู้สึกอึดอัด และอาจทำให้เยื่อเมือกของหลอดอาหารเกิดการบาดเจ็บ รวมทั้งกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างได้รับความเสียหาย เมื่อกล้ามเนื้อหูรูดไม่ได้ปิดอย่างที่ควรจะเป็น น้ำย่อยจึงไหลซึมย้อนกลับออกจากกระเพาะอาหารขึ้นสู่หลอดอาหาร หากท่านใดมีอาการก็ควรไปพบคุณหมอ หรือเข้ารับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณมีอาการอย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ หรืออาการจากกรดไหลย้อนส่งผล กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โรคกรดไหลย้อนสามารถรักษาได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ และรักษาได้ด้วยยาสามัญประจำบ้านบางชนิด แต่ในบางครั้ง อาจจำเป็นต้องใช้ยาที่แรงขึ้น รวมถึงอาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการ สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน สาเหตุหลักของโรคกรดไหลย้อน คือ การที่น้ำย่อยหรือน้ำดีรั่วซึมเข้าสู่หลอดอาหาร โดยทั่วไป อาหารและน้ำจะไหลลงเข้าสู่กระเพาะ เมื่อคนเรากลืนอาหาร กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่างบริเวณส่วนปลายของหลอดอาหาร จะคลายตัวเพื่อปล่อยอาหารลงสู่กระเพาะ หลังจากนั้นมันจะปิดตัว แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าตัวลิ้นปิดเปิดมีความผิดปกติหรือมีความอ่อนแอ ก็จะทำให้น้ำย่อยไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่หลอดอาหารได้ นี่คือภาวะที่มาของชื่อโรคกรดไหลย้อน เมื่อเกิดอาการกรดไหลย้อนขึ้นซ้ำๆ ก็อาจนำมาสู่อาการของโรคระบบทางเดินอาหารชนิดอื่นๆ ได้อีกด้วย ปัจจัยเสี่ยงของโรคกรดไหลย้อน ปัจจัยความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อน ประกอบด้วย โรคอ้วน โรคไส้เลื่อนกระบังลม ตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ปากแห้ง โรคหอบหืด โรคเบาหวาน  กระเพาะใช้เวลาย่อยอาหารนานกว่าปกติ โรคระบบเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (Connective tissue disorders) อย่างเช่น โรคผิวหนังแข็ง (scleroderma) อาการของโรคกรดไหลย้อน คุณอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้ รู้สึกแสบร้อนในหน้าอก บางครั้งก็ลามขึ้นมาที่คอ รวมทั้งรู้สึกถึงรสเปรี้ยวภายในปาก เจ็บหน้าอก กลืนอาหารลําบาก ไอแห้งๆ เจ็บคอหรือแสบคอ อาหารหรือน้ำย่อย ตีกลับขึ้นมาจากกระเพาะ รู้สึกว่ามีก้อนบางอย่างติดอยู่ในลำคอ การวินิจฉัยโรคกรดไหลย้อน คุณหมอจะดูอาการขั้นพื้นฐานเพื่อวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนหรือไม่ […]


โรคกรดไหลย้อน

รักษากรดไหลย้อน ได้ง่ายๆ ด้วย 6 วิธีต่อไปนี้

คุณกำลังมีอาการกรดไหลย้อนอยู่หรือเปล่า แล้วคุณก็กังวลถึงการรับประทานอาหารที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนอยู่ด้วยใช่ไหม ถูกแล้ว! อาหารบางประเภทกระตุ้นให้กระเพาะอาหารสร้างกรดเพิ่มมากขึ้น และนำไปสู่อาการกรดไหลย้อนได้ จริงๆ แล้ว การ รักษากรดไหลย้อน สามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง เช่น คุณควรรับประทานอาหารมื้อเล็ก และหลีกเลี่ยงการเอนหลังหรือนอนราบ หลังจากการรับประทานอาหาร นอกจากนี้ ยังมีวิธีอื่นๆ ที่คุณสามารถนำมาปรับใช้ได้ จะมีวิธีใดบ้างไปดูกัน รักษากรดไหลย้อน  ได้ด้วยวิธีใดบ้าง จำกัดปริมาณเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลมากเกินไป เป็นสาเหตุหลักของการเกิดอาการกรดไหลย้อน ซึ่งสามารถทุเลาลงได้อย่างง่าย เพียงแค่ลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตลง กรดในกระเพาะและคาร์โบไฮเดรตที่มากเกินไป เป็นที่ทราบกันว่าเป็นสาเหตุของอาการกรดไหลย้อน คาร์โบไฮเดรตอาจสะสมอยู่ในกระเพาะอาหารและสร้างแก๊ส จึงเป็นการเพิ่มความดันในกระเพาะอาหารและทำให้เกิดอาการท้องอืด ลมในกระเพาะ กลิ่นปาก และอาหารไม่ย่อยได้ รวมถึงยังทำให้ปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารในลำไส้ใหญ่รุนแรงขึ้น หากถามถึงเครื่องดื่ม คุณควรดื่มชา สมูทตี้ น้ำผลไม้ ที่ทำมาจากผลไม้ที่ไม่มีรสเปรี้ยว หรือกรดผลไม้ตามธรรมชาติที่จะทำให้กรดไหลย้อนแย่ลง เพิ่มปริมาณไขมันและโปรตีน ไขมันและโปรตีนอุดมด้วยสารอาหาร อีกทั้งยังช่วยลดความอยากน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตขัดสีได้ ไขมันมีประสิทธิภาพในการช่วยลดอาการอักเสบในระบบทางเดินอาหาร ในขณะที่โปรตีนช่วยในการย่อยอาหาร เนื่องจากมี กรดไฮโดรคลอริค ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเอนไซม์ที่ช่วยการย่อยโปรตีน เช่น เปปซิน การบริโภคโปรตีนเพิ่มขึ้น ทำให้กรดที่ใช้ย่อยโปรตีนถูกนำไปใช้แทนที่จะเพิ่มระดับในหลอดอาหาร อาหารประเภทโปรตีนที่ควรรับประทาน ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการทำให้สะอาด ปลา ไข่ออร์แกนิก นมที่ไม่ผ่านกระบวนการ (หากไม่มีอาการแพ้หรือ ไม่มีปัญหาการย่อย) ถั่วและธัญพืชเต็มเมล็ด น้ำมันคุณภาพดี เช่น ไขมันหมู ไขมันวัว น้ำมันมะพร้าว น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ จำกัดปริมาณกลูเตนในมื้ออาหาร การเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีกลูเตนเป็นทางเลือกหนึ่งที่ดี หากวิธีการที่กล่าวมาข้างต้นไม่ได้ผล […]


โรคกรดไหลย้อน

สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

อาการแสบร้อนกลางอกเนื่องจากกรดไหลย้อน เป็นอาการของโรคกรดไหลย้อน (GERD หรือ Gastroesophageal reflux disease) ซึ่งนอกจากอาหารบางประเภท เช่น กาแฟ  น้ำอัดลม มะเขือเทศ แอลกอฮอล์ ช็อกโกแลต จะกระตุ้นอาการนี้แล้ว ก็ยังมีปัจจัยอื่นที่อาจเป็น สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ได้เช่นกัน สาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ที่ไม่ใช่อาหาร 1. ยาบางชนิด หากคุณใช้กลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Nonsteroidal Anti-inflammatory Drug: NSAID ) เป็นประจำ เช่น ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) ยานาพรอกเซน (naproxen) อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ คุณควรปรึกษาแพทย์ หากคิดว่ายาที่ใช้รักษาโรคส่งผลต่ออาการกรดไหลย้อนของคุณ และไม่ควรตัดสินใจหยุดกินยาด้วยตัวเอง สำหรับยาบางชนิดที่สั่งจ่ายโดยแพทย์ รวมถึงยาที่สามารถซื้อได้ตามร้านขายยา ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะสามารถกระตุ้นอาการแสบร้อนกลางอก ได้แก่ ยารักษาอาการของโรคหอบหืด โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคข้ออักเสบ หรือการอักเสบอื่นๆ ยารักษาโรคกระดูกพรุน รวมถึงยาที่ใช้รักษาโรคนอนไม่หลับ โรคซึมเศร้า และยาบรรเทาความเจ็บปวด 2. การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ทำให้อาการของโรคกรดไหลย้อนแย่ลง เนื่องจากการสูบบุหรี่ส่งผลให้กล้ามเนื้อหูรูดที่กั้นระหว่างกระเพาะอาหารและหลอดอาหารอ่อนแอลง กรดในกระเพาะอาหารจึงไหลย้อนกลับขึ้นมาในหลอดอาหาร และน้ำดีที่ใช้ในการย่อยไขมัน ย้ายจากลำไส้เล็กไปสู่กระเพาะอาหาร นอกจากนี้ การสูบบุหรี่ยังลดปริมาณน้ำลาย ที่โดยปกติแล้วมีหน้าที่กำจัดกรดออกจากหลอดอาหาร โดยในน้ำลายจะมีไบคาร์บอเนต […]


โรคกรดไหลย้อน

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรดไหลย้อน มีอะไรบ้าง

เวลามี อาการกรดไหลย้อน หลายคนมักจะไปซื้อยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการ หรือบางคนไปพบคุณหมอแล้วได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น โรคกรดไหลย้อน บทความนี้จาก Hello คุณหมอ อยากจะชวนคุณผู้อ่านมาลองสำรวจว่า คุณกำลังมี ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรดไหลย้อน หรือเปล่า กรดไหลย้อน คืออะไร โรคกรดไหลย้อน (Gastro-Esophageal Reflux Disease; GERD) เป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากภาวะกรดไหลย้อน (Acid reflux) หากคุณมีอาการแสบร้อนทรวงอกเนื่องจากกรดไหลย้อน นานเกิน 2 สัปดาห์ แพทย์อาจวินิจฉัยว่าคุณมี อาการกรดไหลย้อน โดยอาการของโรคกรดไหลย้อน ได้แก่ ลมหายใจมีกลิ่น หรือมีกลิ่นปาก ฟันเกิดความเสียหายเนื่องจากกรด แสบร้อนทรวงอก รู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างจากท้องไหลย้อนขึ้นมาที่คอหรือที่ปาก หรือมีอาการสำรอก เจ็บหน้าอก ไอแห้งบ่อย โรคหอบหืด มีปัญหาในการกลืนอาหาร รู้เท่าทันอาการกรดไหลย้อนได้ เพียงแค่คุณลองสำรวจตนเอง หลายคนมีอาการแสบร้อนทรวงอกและกรดไหลย้อนเป็นครั้งคราว เนื่องจากนิสัยการกิน หรือการนอนลงทันทีหลังจากกินอาหาร แต่อย่างไรก็ถาม โรคกรดไหลย้อนเป็นโรคเรื้อรังที่คุณหมอจะเริ่มตรวจสอบนิสัยของคุณ ซึ่งนิสัยบางอย่างที่เป็นสาเหตุของ อาการกรดไหลย้อน ได้แก่ ความอ้วน หรือน้ำหนักเกิน ซึ่งจะเพิ่มความกดดันให้ช่องท้อง การสูบบุหรี่ การดื่มแอลกอฮอล์ การตั้งครรภ์ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเบื้องต้นเพื่อป้องกันและรับมือกับอาการกรดไหลย้อน อาการกรดไหลย้อน อาจส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณ โชคดีที่อาการกรดไหลย้อนสามารถรักษาได้ ดังนี้ การเปลี่ยนแปลงการกิน การลดน้ำหนัก การเลิกสูบบุหรี่ การเลิกดื่มแอลกอฮอล์ ยาสำหรับโรคกรดไหลย้อนจะช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร แต่ยานี้อาจไม่ได้ผลสำหรับทุกคน บางคนอาจจำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดกล้ามเนื้อหูรูด เพื่อรักษา อาการกรดไหลย้อน ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับกรดไหลย้อน 1. หากเป็นโรคกรดไหลย้อน จะต้องมีอาการแสบร้อนทรวงอก คุณสามารถเป็นโรคกรดไหลย้อน (GERD, gastroesophageal reflux disease) โดยไม่มีอาการแสบร้อนทรวงอกได้ แต่ถ้าหากคุณมีอาการแสบร้อนทรวงอกเกิน […]


โรคกรดไหลย้อน

วิธีแก้กรดไหลย้อน ฉบับเร่งด่วน และในระยะยาวด้วยตัวคุณเอง

“กรดไหลย้อน” สร้างความทรมานให้ใครหลาย ๆ คน เป็นอย่างมาก ซึ่งอาจทำให้ตัวคุณนั้นต้องตื่นขึ้นมากลางดึก หรือหยุดทำกิจกรรมบางอย่าง และต้องรอจนกว่าอาการกรดไหลย้อนจะบรรเทาลง วันนี้ Hello คุณหมอ จึงขอนำ วิธีแก้กรดไหลย้อน อย่างเร่งด่วนว่ามีวิธีใดบ้าง พร้อมทั้งวิธีบรรเทา อาการกรดไหลย้อน ในระยะยาวด้วยการเปลี่ยนแปลงไลฟ์สไตล์ ควรทำอย่างไร มาฝากทุกคนกันให้ได้ลองทำกันค่ะ กรดไหลย้อน กรดไหลย้อน (Acid reflux) เป็นอาการที่กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหาร เนื่องจากกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารตอนล่าง (LES, lower esophageal sphincter) อ่อนแอหรือเกิดความเสียหาย ทำให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาในหลอดอาหารได้ ซึ่งจะทำให้มีอาการแสบร้อนทรวงอก และอาการอื่นๆ ได้แก่ กลืนอาหารยาก ไอ หอบหืด ฟันสึกกร่อน และเกิดการอักเสบในโพรงจมูก นอกจากนี้การกินอาหารบางประเภทอาจกระตุ้นให้เกิด อาการกรดไหลย้อน เช่น อาหารรสเผ็ด อาหารไขมันสูง หรืออาหารที่มีความเป็นกรดสูง ถ้าคุณมีอาการแสบร้อนทรวงอก หรือมีการใช้ยาลดกรดนานกว่า 2 สัปดาห์ คุณควรไปหาคุณหมอ เนื่องจากคุณอาจเป็นโรคกรดไหลย้อน (GERD, gastroesophageal reflux disease) วิธีแก้กรดไหลย้อน ฉบับเร่งด่วน หากคุณมีอาการแสบร้อนทรวงอกเนื่องจาก กรดไหลย้อน คุณอาจลองทำดังนี้ 1.ยืนตัวตรง ถ้าคุณนั่งหรือนอนราบกับพื้น […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน