backup og meta

นิ่วในถุงน้ำดี อาการ เป็นอย่างไร และรักษาได้อย่างไร

นิ่วในถุงน้ำดี อาการ เป็นอย่างไร และรักษาได้อย่างไร

นิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากภาวะไม่สมดุลของสารประกอบในน้ำดี เป็นโรคของถุงน้ำดีที่พบได้บ่อย โดยแพทย์จะวินิจฉัยว่ามีนิ่วในถุงน้ำดีได้จากการตรวจอัลตร้าซาวด์ แต่ผู้ป่วยมักจะไม่ทราบว่าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี แต่ก็มีอาการที่พอจะสังเกตได้ นิ่วในถุงน้ําดี อาการ เป็นอย่างไร วิธีรักษานิ่วในถุงน้ำดี มีอะไรบ้าง

[embed-health-tool-bmr]

ถุงน้ำดี คืออะไร

ถุงน้ำดีเป็นอวัยวะในช่องท้อง หน้าที่สำคัญคือการเก็บน้ำดี ช่วยในการย่อยอาหาร ถุงน้ำดีจะอยู่ติดกับตับที่เป็นอวัยวะผลิตน้ำดี นอกจากจะมีทางติดต่อกับตับแล้ว ถุงน้ำดียังใกล้กับลำไส้เล็กตอนต้น บริเวณที่ปล่อยน้ำดีออกสู่ทางเดินอาหาร

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี

นิ่วในถุงน้ำดีเกิดจากองค์ประกอบในน้ำดีตกตะกอนเวลาดูดซึมน้ำออกไปจากน้ำดี จึงเกิดเป็นภาวะไม่สมดุลของสารประกอบคอเลสเตอรอลและบิลิรูบินในน้ำดี ทำให้เกิดการตกผลึกของคอเลสเตอรอล หินปูนหรือแคลเซียม และบิลิรูบิน สารเคมีที่เกิดจากการแตกตัวหรือการตายของเซลล์เม็ดเลือดแดงในหลอดเลือด ที่มีอยู่ในน้ำดี การตกผลึกของสารเหล่านี้ ทำให้เกิดเป็นก้อนนิ่ว อาจเกิดเพียงก้อนเดียวหรือหลายก้อนก็ได้ โดยมีปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี ดังนี้

  • พันธุกรรม
  • ผู้ที่มีภาวะอ้วน หรือผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง เพราะผู้ที่มีภาวะอ้วน จะเกิดนิ่วที่มีคอเลสเตอรอลจากการบีบตัวของถุงน้ำดีลดลง
  • ฮอร์โมนเอสโตรเจน โดยเฉพาะหญิงตั้งครรภ์หรือผู้หญิงที่มีบุตรแล้ว ทำให้ระดับคอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง ทำให้ตรวจพบนิ่วในถุงน้ำดีในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
  • การรับประทานยาลดไขมันบางชนิด อาจทำให้คอเลสเตอรอลในน้ำดีสูง 
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง
  • ผู้ที่ลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วจนร่างกายละลายไขมันมากเกินไป

นิ่วในถุงน้ําดี อาการ เป็นอย่างไร

อาการของนิ่วในถุงน้ำดี มักจะไม่พบอาการผิดปกติ มักตรวจพบโดยบังเอิญจากการตรวจเช็คร่างกาย แต่บางรายที่เป็น นิ่วในถุงน้ำดี อาการ โดยเบื้องต้นจะ มีดังนี้

  • อาการท้องเฟ้อบริเวณเหนือสะดือ 
  • เรอ 
  • คลื่นไส้ 
  • อาเจียน 
  • มีอาการคล้ายอาหารไม่ย่อย ซึ่งมักเป็นหลังรับประทานอาหารมัน ๆ 

นิ่วในถุงน้ำดี อาการ ที่เสี่ยงต่ออันตราย

เมื่อเกิดอาการของนิ่วในถุงน้ำดี อาจตรวจร่างกายเบื้องต้นไม่พบสิ่งผิดปกติ มักไม่มีไข้ แต่อาจตรวจพบอาการกดเจ็บเล็กน้อยบริเวณใต้ลิ้นปี่และได้ชายโครงขวา แต่หากก้อนนิ่วเคลื่อนไปอุดในท่อส่งน้ำดี อาจมีอาการที่รุนแรงได้ ต้องรีบมาพบแพทย์ เช่น

  • มีอาการปวดบิดรุนแรงเป็นพัก ๆ บริเวณใต้ลิ้นปี่หรือใต้ชายโครงขวา 
  • อาจปวดร้าวมาที่ไหล่ขวาหรือบริเวณหลังตรงใต้สะบักขวา 
  • อาการปวดมักปวดนานเป็นชั่วโมง ๆ 
  • มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
  • อาการปวดอาจรุนแรงจนเหงื่อออกจนเป็นลม โดยอาการปวดท้องมักเป็นหลังกินอาหารมันหรือกินอาหารมื้อหนัก 
  • อาจมีอาการดีซ่าน ตัวเหลือง ตาเหลือง ปัสสาวะสีเข้ม อาจเกิดขึ้นตามหลังอาการปวดท้อง

วิธีรักษานิ่วในถุงน้ำดี

ปัจจุบันการรักษานิ่วในถุงน้ำดีจะเป็นการผ่าตัด เพราะการผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด การผ่าตัดเอาถุงน้ำดีออกเป็นการแก้ปัญหา รวมถึงป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ ซึ่งมีอยู่ 2 วิธี ประกอบด้วย

  1. การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (Open Cholecystectomy) เป็นวิธีผ่าตัดแบบเดิม เลือกใช้ในการผ่าตัดถุงน้ำดีที่มีอาการอักเสบมาก หรือแตกทะลุในช่องท้อง
  2. การผ่าตัดโดยใช้กล้องส่องผ่านทางช่องท้อง เป็นการผ่าตัดแบบใหม่ โดยการเจาะรูเล็ก ๆ ที่หน้าท้อง (Laparoscopic Cholecystectomy) ถ้าผู้ป่วยไม่มีถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลัน สามารถทำได้สำเร็จถึงร้อยละ 95 แต่หากถุงน้ำดีอักเสบเฉียบพลันเกิน 3 วัน การผ่าตัดวิธีนี้แผลจะมีขนาดเล็กดูแลง่าย โอกาสติดเชื้อน้อยกว่าแผลขนาดใหญ่ อาการปวดแผลน้อยกว่า ใช้เวลาพักฟื้นในโรงพยาบาลไม่นานนัก 

อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบว่าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี หรือมีอาการที่สงสัยว่าเป็นโรคนิ่วในถุงน้ำดี ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หากปล่อยทิ้งไว้ นิ่วในถุงน้ำดีอาการ อาจรุนแรงขึ้น มีการอักเสบ หรือเกิดโรคแทรกซ้อนได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=526 

กรมการแพทย์

http://odpc7.ddc.moph.go.th/OV-CCA/MediaAndEbook/Leaflet/Gallstone.pdf 

https://chulalongkornhospital.go.th/kcmh/line/4f-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%83%E0%B8%99/ 

https://www.rama.mahidol.ac.th/nursing/sites/default/files/public/journal/2542/issue_01/04.pdf 

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/05/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

นิ่วในไต กับอาหารเพิ่มความเสี่ยงที่คุณควรหลีกเลี่ยง!

นิ่วในทางเดินปัสสาวะ (Urinary Tract Stone)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 31/05/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา