backup og meta

ผู้หญิงออกกำลังกายมากไป เสี่ยงกระดูกพรุน ขาดสารอาหาร และประจำเดือนขาด

ผู้หญิงออกกำลังกายมากไป เสี่ยงกระดูกพรุน ขาดสารอาหาร และประจำเดือนขาด

การรักษาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนควรจะทำ ถึงแม้ว่าการออกกำลังกายจะมีประโยชน์ต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาว แต่การออกกำลังกายที่มีความเข้มข้นมากๆ นั้น ก็สามารถทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพตามมาได้ โดยเฉพาะในผู้หญิง หาก ผู้หญิงออกกำลังกายมากไป เสี่ยงกระดูกพรุน ขาดสารอาหารและประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือที่เรียกว่า Female Athlete Triad Syndrome ผู้หญิงคนไหนที่ออกกำลังกายมากไป วันนี้ Hello คุณหมอมีข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

Female Athlete Triad Syndrome คืออะไร

Female Athlete Triad Syndrome เป็นโรคที่เมื่อ ผู้หญิงออกกำลังกายมากไป เสี่ยงกระดูกพรุน ซึ่งจะประกอบไปด้วยอาการ 3 อย่าง ซึ่งเป็นผลมาจากการออกกำลังกายที่หนักเกินไป ประกอบไปด้วย

  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ

ปัญหาเกี่ยวกับประจำเดือนมาไม่ปกติที่เกี่ยวข้องกับโรค Female Athlete Triad Syndrome จะมีอาการประจำเดือนมาไม่ปกตินาน 3 เดือนหรือมากกว่านั้น ซึ่งนักกีฬาที่มีรอบเดือนไม่ปกติจะมีความอ่อนไหว และจะส่งผลต่ออารมณ์ของนักกีฬา

  • กระดูกพรุน

ผู้หญิงที่เป็นโรค Female Athlete Triad Syndrome จะที่มีอัตราเสี่ยงในการสูญเสียกระดูกหรือมีมวลกระดูกที่ต่ำ ลงซึ่งนำไปสู่โรคกระดูกพรุนในรูปแบบที่รุนแรง ซึ่งการสูญเสียกระดูกประเภทนี้อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการแตกหักเพิ่มขึ้นรวมถึงการเกิดความเครียดด้วย

  •  ขาดสารอาหาร

เป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคนี้เลยทีเดียว การขาดสารอาหารคือความไม่สมดุลระหว่างปริมาณพลังงานที่เราได้รับจากอาหารและปริมาณพลังงานที่ใช้ไป ขณะออกกำลังกาย ซึ่งรวมไปถึงการจำกัดการรับประทานอาหาร การขาดสารอาหารทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา เช่น เบื่ออาหารและโรคบูลิเมียซึ่งเป็นภาวะความผิดปกติในเรื่องของการรับประทานอาหาร โดยเป็นความผิดปกติ ที่มีลักษณะที่เริ่มจากการรับประทานและพยายามที่จะกำจัดอาหารที่เพิ่งกินเข้าไปนั้นออก ด้วยการทำให้ตัวเองอาเจียน

โดยผู้ที่เป็นโรคนี้ เป็นผลมาจากการรับประทานอาหารที่ผิด เช่น การจำกัดการรับประทานอาหารในแต่ละวันที่ไม่เหมาะสมกับที่ร่างกายต้องการ หรือในบางคนมีการอดอาหารจนเป็นสาเหตุของการขาดสารอาหาร อาการนี้จะพบได้ทั่วไปในนักกีฬาที่ใช้ความอึดของกล้ามเนื้อ เช่น ยิมนาสติก บัลเล่ต์ วิ่งมาราธอน วิ่งระยะยาว และวิ่งระยะไกล นักกีฬาส่วนใหญ่เสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ เนื่องจากความดกดันที่จะต้องทำให้ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ อ้างอิงจากการศึกษาที่พบว่านักกีฬายิมนาสติกผู้หญิง 75% ถูกโค้ชบอกว่าน้ำหนักตัวมากเกินไป จึงทำให้ต้องควบคุมการกิน ควบคุมน้ำหนักเพื่อให้น้ำหนักลดลง ซึ่งพฤติกรรมการควบคุมอาหารแบบนี้ทำให้เกิดโรคนี้ได้

สัญญาณเตือนว่าคุณเป็น ผู้หญิงออกกำลังกายมากไป เสี่ยงกระดูกพรุน

  • รู้สึกอ่อนล้าอ่อนเพลียอยู่เสมอ
  • นอนไม่หลับ มีปัญหาในการนอนหลับ
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • มีการอดอาหารมากไป
  • น้ำหนักลดลง
  • มีอาการกล้ามเนื้อบาดเจ็บบ่อยๆ
  • เป็นหวัดง่าย
  • หมกหมุ่นและมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับเรื่องของอาหารและน้ำหนัก

หากเราเริ่มสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ควรปรึกษาแพทย์และเข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี นอกจากนี้ยีงควรปรึกษานักโภชนาการเรื่องของอาหาร การรับประทานอยางถูกต้อง

ตัวเลือกในการรักษา

การรักษาอาการนี้อาจรวมไปถึงการปรึกษาทางโภชนาการ และอาจจะมีการปรึกาษาเภสัชและแพทย์ร่วมด้วย หากได้รับการแนะนำอย่างถูกต้องเหมาะสมจะสามารถช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกระดูก ลดการขาดสารอาหาร และทำให้ประเดือนกลับมาเป็นปกติได้ ในบางกรณีนักกีฬาควรที่จะมีการพักชั่วคราวจากการออกกำลังกายอย่างเข้มข้นเพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนในระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อที่จะร่างกายจะได้ฟื้นฟูอย่างเต็มที่

ในปัจจุบันผู้หญิงมีการแข่งกีฬาและออกกำลังกายที่หนักมากขึ้น การทำความเข้าใจเรื่องของร่างกาย อารมณ์ และจิตใจเป็นสิ่งที่ต้องเจอในระหว่างที่ฝึกซ้อม การได้คำแนะนำจากแพทย์จะช่วยลดความเสี่ยงและอาการที่เกี่ยวข้องที่จะต้องเจอได้และที่สำคัญจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายและการแข่งขันของเราเอง

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-ovulation]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

  1. Is Female Athlete Triad Syndrome a Dangerous Health Issue?

    Is Female Athlete Triad Syndrome a Dangerous Health Issue?


    Accesed January 14, 2019

  2. Female Athlete Triad
    https://familydoctor.org/condition/female-athlete-triad/
    Accesed January 14, 2019
  3. WHAT IS THE TRIAD?
    http://www.femaleathletetriad.org/athletes/what-is-the-triad/
    Accesed January 14, 2019

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัญญาณที่บอกว่าคุณกำลัง เสพติดการออกกำลังกาย

กระดูกพรุน (Osteoporosis)


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย ชลธิชา จันทร์วิบูลย์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา